Please use this identifier to cite or link to this item:
http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/10624
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | วันพิชิต, ศรีสุข | - |
dc.contributor.author | ประภัสรา, เก้านพรัตน์ | - |
dc.date.accessioned | 2017-01-27T07:45:26Z | - |
dc.date.available | 2017-01-27T07:45:26Z | - |
dc.date.issued | 2558 | - |
dc.identifier.uri | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/10624 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.(สาขาวิชาการบริหารการพัฒนาสังคม))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2558 | th_TH |
dc.description.abstract | การศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ใช้แรงงานใน โรงงานอุตสาหกรรมจังหวัดสงขลาหลังการประกาศใช้นโยบายค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท และ 2) คุณภาพชีวิตของผู้ใช้แรงงานในโรงงานอุตสาหกรรมจังหวัดสงขลา หลังการประกาศใช้ นโยบายค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ใช้แรงงานจำนวน 397 คน แบ่งเป็นเพศชาย 174 คน และเพศหญิง 223 คน โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ การถดถอยพหุคูณ และการทดสอบไคสแควส์ ผลการวิจัยพบว่า ผู้ใช้แรงงานส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุน้อยกว่า 35 ปี สำเร็จการศึกษา ระดับสูงสุดขั้นมัธยมศึกษาตอนต้นหรือต่ำกว่า สมรส ส่วนใหญ่คู่สมรสมีรายได้และมีบุตรซึ่งกำลัง ศึกษา ได้รับค่าจ้างตามนโยบายค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท มีค่าใช้จ่าย 5,001-7,000 บาทต่อเดือน และมีหนี้สินที่ต้องชำระทั้งสิ้นน้อยกว่า 25,000 บาท ส่วนใหญ่จึงไม่มีเงินออม ส่วนผู้ใช้แรงงานที่ มีเงินออมจะมีเงินออมน้อยกว่า 2,500 บาท อายุการทำงานน้อยกว่า 10 ปี ทำงานวันละ 8 ชั่วโมง สวัสดิการก่อนปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท ส่วนใหญ่ได้รับชุดทำงาน บริการรถรับ-ส่ง โบนัส ประจำปี เงินช่วยเหลือกรณีทุพพลภาพจากอุบัติเหตุขณะทำงาน เงินช่วยเหลือกรณีเสียชีวิตขณะ ทำงาน เงินฌาปนกิจสงเคราะห์ และได้รับค่าชดเชยกรณีให้ออกจากบริษัทก่อนกำหนด ส่วนสวัสดิการหลังปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท ได้รับเพียงเงินช่วยเหลือกรณีเสียชีวิตขณะทำงาน และเงินฌาปนกิจสงเคราะห์เท่านั้น สำหรับผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิต ของผู้ใช้แรงงาน หลังการประกาศใช้นโยบายค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท พบว่า เพศ ระดับการศึกษา สถานภาพสมรส ค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือน จำนวนเงินออม อายุการทำงาน และชั่วโมงการทำงาน มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของ ผู้ใช้แรงงานในภาพรวมหลังการประกาศใช้นโยบายค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท อยู่ในระดับปานกลาง ( X =3.04) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านเศรษฐกิจและด้านสภาพการทำงานของผู้ใช้แรงงาน มีค่าเฉลี่ยใกล้เคียงกัน ( X =3.19 และ X =3.15 ) โดยด้านปฏิสัมพันธ์กับคนในสังคมมีค่าเฉลี่ย น้อยที่สุด ( X =2.56) This study aimed to explore: 1) factors affected quality of life of labors in industrial factories of Songkhla province after the adoption of the three-hundred baht Minimum Wage policy and 2) quality of life of labors in industrial factories, Songkhla province. The sample group in this study consisted of 397 labors (174 males and 223 females) obtained by multi-stage sampling. Analyzed by Multiple Regression Analysis and Chi-Square Test : - test. Results of the study revealed that most of the informants were female, less than 35 years old, married, and lower-secondary school graduates or below. They had children who were studying. The informants received the wage in accordance with the three-hundred baht minimum wage policy. Their expenses were 5,001-7,000 baht per month and they had to pay debts for less than 25,000 baht each. Thus, most of the informants did not have savings while the rest had savings for less than 2,500 baht. Most of the informants had less than 10 years of work experienced in the industrial factories and they worked for 8 hours per day. Regarding fringe benefits prior to the enactment of the three-hundred baht minimum wage policy, most of the informants had been provided working uniforms, transportation, annual bonus, financial aid in the case of cripple due to an accident or life losing while working, and compensation in the case of lay-off. After the enactments of the policy, however, they were provided financial aid only in terms of life losing while working and cremation ceremony. Based on an analysis of factors related to quality of life of the informants, it was found that there was a statistically significant relationship at 0.05 between quality of life of the informant and the following: sex, educational attainment, marital status, monthly expenses, an amount of saving, years of service, and a number of working hours. In terms of impacts on quality of life of the informants after the enactment of the Three-hundred Baht program, as a whole, it was found at a moderate level ( x = 3.04).Considering each aspect, it was found that economy and working condition of the informants were almost the same ( x = 3.19 and 3.15). Social interaction was found to have a lowest average mean score ( x = 2.56). | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ | th_TH |
dc.subject | โรงงานอุตสาหกรรม | th_TH |
dc.subject | คุณภาพชีวิต | th_TH |
dc.title | ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ใช้แรงงานในโรงงานอุตสาหกรรม จังหวัดสงขลาหลังการประกาศใช้นโยบายค่าจ้างขั้นตํ่า 300 บาท | th_TH |
dc.title.alternative | Factors Affected the Labors Quality of Life in Industrial Factories in Songkhla Province after the Adoption of the Three-hundred Baht Minimum Wage Policy. | th_TH |
dc.type | Thesis | th_TH |
dc.contributor.department | Faculty of Humanities and Social Sciences (Social Sciences) | - |
dc.contributor.department | คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ภาควิชาสังคมศาสตร์ | - |
Appears in Collections: | 427 Thesis |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
TC1217.pdf | 2.74 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in PSU Knowledge Bank are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.