Please use this identifier to cite or link to this item:
http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/10613
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | เรชา, ชูสุวรรณ | - |
dc.contributor.author | เกวลิน, ไชยสวัสดิ์ | - |
dc.date.accessioned | 2017-01-27T03:55:01Z | - |
dc.date.available | 2017-01-27T03:55:01Z | - |
dc.date.issued | 2557 | - |
dc.identifier.uri | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/10613 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม.(สาขาวิชาการบริหารการศึกษา))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2557 | th_TH |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ คุณภาพการจัดการศึกษา ห้องเรียนพิเศษ โครงการพัฒนาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ (SME) ของโรงเรียนมัธยมศึกษาและเพื่อสร้างแนวทางการพัฒนาตามองค์ประกอบและตัวบ่งชี้คุณภาพการจัดการศึกษา ห้องเรียนพิเศษ โครงการพัฒนาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ(SME) ของโรงเรียนมัธยมศึกษา การดำเนินการวิจัยแบ่งเป็นสองระยะ คือ ระยะที่หนึ่งเป็นการค้นหาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ ดำเนินการโดยการศึกษาและวิเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง(Documentary Research) การสนทนากลุ่มเฉพาะ (Focus Group Discussion) และนำผลที่ได้จากทั้งสองส่วนมาสร้างเป็นแบบสอบถามมาตราประมาณค่า 5 ระดับ เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 325 คน จากโรงเรียนที่จัดห้องเรียนพิเศษ โครงการพัฒนาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ (SME) ทั้งประเทศ ซึ่งมีทั้งสิ้นจำนวน 25 โรงเรียน แล้วนำมาวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (Exploratory Factor Analysis)ระยะที่สองเป็นการสร้างแนวทางการพัฒนาตามองค์ประกอบและตัวบ่งชี้คุณภาพการจัดการศึกษา ห้องเรียนพิเศษ โครงการพัฒนาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ (SME) ของโรงเรียนมัธยมศึกษาโดยใช้วิธีสนทนากลุ่มเฉพาะ (Focus Group Discussion) โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จากนั้นนำแนวทางที่ได้มานำเสนอแก่หัวหน้าโครงการทั้ง 25 โรงเรียนทั่วประเทศโดยการจัดสนทนากลุ่มเพื่อยืนยันความเป็นไปได้ในการนำไปปฏิบัติได้จริง ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบและตัวบ่งชี้ คุณภาพการจัดการศึกษา ห้องเรียนพิเศษ โครงการพัฒนาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ (SME) ของโรงเรียนมัธยมศึกษา ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบคือ 1) ด้านความพร้อมของสถานศึกษาและบุคลากร 2) ด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา 3) ด้านการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา 4) ด้านการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนแนวทางการพัฒนาการจัดการศึกษา ห้องเรียนพิเศษ โครงการพัฒนาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ (SME) ของโรงเรียน ด้านความพร้อมของสถานศึกษาและบุคลากรมี 3 แนวทาง คือ 1) การเตรียมความพร้อมในด้านบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับโครงการ SME 2) การเตรียมความพร้อมในด้านการจัดกิจกรรมต่างๆในโครงการ SME 3) การเตรียมความพร้อมด้านการประเมินผลโครงการและการพัฒนาโครงการ SME อย่างต่อเนื่อง ด้านการบริหารจัดการสถานศึกษามี 3 แนวทาง คือ 1) การพัฒนาด้านการบริหารจัดการโครงการ SME 2) การพัฒนาสถานที่ สภาพ แวดล้อมและแหล่งเรียนรู้ 3) การพัฒนาด้านบุคลากรในโครงการ SME ด้านการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา มี 2 แนวทาง คือ 1) การกำหนดคุณสมบัติ หน้าที่และสนับสนุนให้ บุคลกรทุกคนที่เกี่ยวข้องกับโครงการ SME ได้มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมต่างๆของโครงการ 2) กำหนดให้มีการจัดกิจกรรมประสานความร่วมมือกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชน และด้านการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของผู้เรียน มี 2 แนวทาง คือ 1) ด้านการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพผู้เรียนจากบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับโครงการ SME 2) การส่งเสริมให้ผู้เรียนได้นำความรู้ที่ได้รับจากการเรียนการสอนในโครงการ SME ไปประยุกต์ใช้ได้จริงในการดำเนินชีวิต ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้ คือ 1) กระทรวงศึกษาธิการหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีการส่งเสริมและสนับสนุนให้ขยายการศึกษาในรูปแบบของการจัดการเรียนการสอนห้องเรียนพิเศษโครงการพัฒนาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ (SME) โดยการกำหนดหลักสูตรและมาตรฐานการเรียนรู้ การวัดผลประเมินผล ระบบติดตามประเมินผลและการดำเนินการต่างๆที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น 2) ใช้องค์ประกอบและตัวบ่งชี้ที่ได้จากงานวิจัยมาใช้ในการประเมินผลโครงการ 3) หน่วยงานของรัฐหรือหน่วยงานในชุมชนได้มีส่วนในการสนับสนุนให้โรงเรียนได้มีแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายและมีความทันสมัย มีการนำเทคโนโลยีทางการศึกษาต่างมาใช้ในการจัดการเรียน การสอน 4) การนำแนวทางไปใช้ควรประยุกต์ให้เหมาะสมกับบริบทและความพร้อมของโรงเรียน The purpose of this research is to identify and guide the development of elements and indicators of the quality of education management in special classrooms for students with aptitudes in Science, Mathematics and English (SME)at the secondary school level.The research was divided into two phases. The first phase involved identifying elements and indicators through the analysis of documents and related research (Documentary Research) and focus group discussions. The results of the two components were combined to create five-level questionnaire to obtain data from 325 participants in 25 schools with special classes in science, math, English (SME) in Thailand. Exploratory Factor Analysis was then used to analyze the questionnaire. The second phase sought to identify elements and indicators of the quality of education management in special classrooms for students with aptitudes in Science, Mathematics and English (SME) at the secondary school level through the use of focus group discussions with expert teachers. The results were then presented to head of the school district that includes the 25 schools in order to confirm the practical feasibility of the elements and indicators identified. The result of this research indicate that four key elements and indicators of the quality of education management in special classrooms for students with aptitudes in Science, Mathematics and English (SME) at the secondary school may be identified:1) The availability of education resources and personnel, including (a) training of staff in skills relevant to this project; (b) preparation of activities for this project; and (c) planning for the evaluation and development of the project; 2) School management, including (a) the development of an education management project for SME students; (b) ensuring that an adequate physical environment for learning is available; and (c) the development of staff for this project. 3) Participation of education management, including: (a) configuration functions and participation of support staff associated with the SME program in various activities of the project; and (b) defining the event in collaboration with both public and private sectors; and 4) the promotion of student learning and development utilising two approaches, namely: (a) the promotion and development of learners of personnel involved in the SME (b) to encourage students to apply the knowledge gained from studying the SME program in everyday life. Suggestions for future research. Future research might explore the following issues: (1) the Ministry of Education or related department might encourage and support the expansion of education of teaching special classroom science, math, English (SME) by defining the curriculum and learning standards, the Monitoring and Evaluation System and education performance more clearly; (2) the elements and indicators identified in this research might be applied in evaluating future projects; (3) the capacity of the Ministry of Education or the school community to support the school in increasing the variety of learning and applying innovative or up-to-date teaching methods and technology might be investigated; and (4) guidelines for schools might be developed taking into account the school’s level of readiness and other contextual issues. | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.subject | การจัดการเรียนการสอน | th_TH |
dc.subject | ผลสัมฤิทธิ์ทางการเรียน | th_TH |
dc.title | การวิเคราะห์องค์ประกอบและตัวบ่งชี้คุณภาพการจัดการศึกษา ห้องเรียนพิเศษ โครงการพัฒนาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ (SME) ของโรงเรียนมัธยมศึกษา | th_TH |
dc.title.alternative | Factors and Indicators Analysis of Educational Management Quality for Special Classroom in Science, Mathematics and English Project (SME) of Secondary School. | th_TH |
dc.type | Thesis | th_TH |
dc.contributor.department | Faculty of Education (Educational Administration) | - |
dc.contributor.department | คณะศึกษาศาสตร์ ภาควิชาบริหารการศึกษา | - |
Appears in Collections: | 260 Thesis |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
TC1206.pdf | 4.69 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in PSU Knowledge Bank are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.