Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/10611
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอิ่มจิต, เลิศพงษ์สมบัติ-
dc.contributor.authorซานูซี, เจ๊ะมะ-
dc.date.accessioned2017-01-27T03:14:10Z-
dc.date.available2017-01-27T03:14:10Z-
dc.date.issued2557-
dc.identifier.urihttp://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/10611-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.(สาขาวิชาการจัดการสารสนเทศ))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2557th_TH
dc.description.abstractการวิจัยคร้ังนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)เพื่อศึกษาพฤติกรรมการแสวงหา การประเมินและการใช้สารสนเทศเพื่อความปลอดภัยและความมั่นคงส่วนบุคคลของครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อการปฏิบัติงานและการใช้ชีวิตประจำวันในจังหวัดนราธิวาส2)เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการแสวงหาการประเมินและการใช้สารสนเทศเพื่อความปลอดภัยและความมั่นคงส่วนบุคคลของครูและบุคลากรทางการศึกษาตามคุณลักษณะทางประชากร สถานการณ์แวดล้อมและวัตถุประสงค์ในการแสวงหาและการใช้สารสนเทศ รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 375คน และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า( t – test) และ ANOVA กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงคิดเป็นร้อยละ 66.40 นับถือศาสนาอิสลาม คิดเป็นร้อยละ93.00 มีภูมิลำเนาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้คิดเป็นร้อยละ 95.50 ส่วนใหญ่มีอายุอยู่ระหว่าง30 -39 ปี คิดเป็นร้อยละ46.60 รองลงมามีอายุมากกว่า 50 ปี คิดเป็นร้อยละ17.60 มีอายุงาน ระหว่าง6-10 ปี คิดเป็นร้อยละ 34.50 รองลงมา ต่ำกว่า 6 ปี คิดเป็นร้อยละ 32.90 มีตำแหน่งครูคิดเป็นร้อยละ81.66รองลงมา เป็นบุคลากรทางการศึกษาคิดเป็นร้อยละ15.98 ส่วนผู้บริหาร มีเพียงคิดเป็นร้อยละ 2.37ครูและบุคลากรทางการศึกษาส่วนใหญ่ปฏิบัติงานในโรงเรียนที่ต้ังอยู่ที่ตำบลบาเจาะ คิดเป็นร้อยละ 33.43 รองลงมาปฏิบัติงานในโรงเรียนที่ต้ังอยู่ที่ตำบลปะลุกาสาเมาะคิดเป็นร้อยละ22.38 ผลการวิจัยพบว่า ครูและบุคลากรทางการศึกษาส่วนใหญ่คิดเป็ นร้อยละ47.16 ปฏิบัติงานในโรงเรียนที่ต้ังอยู่ในพื้นที่เสี่ยงรองลงมา คิดเป็นร้อยละ 45.38 อยู่ในพื้นที่เสี่ยงท้ังสถานที่ทำงานและที่พักครูและบุคลากรทางการศึกษาส่วนใหญ่มีวัตถุประสงค์ในการแสวงหาและการใช้สารสนเทศเพื่อใช้ในการปฏิบัติงานและใช้ในชีวิตประจำวัน คิดเป็นร้อยละ 60.83 รองลงมาเพื่อเพื่อใช้ในการปฏิบัติงานคิดเป็นร้อยละ 19.72 และเพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน 16.39การเปรียบเทียบความแตกต่างของพฤติกรรมการแสวงหา การประเมินและการใช้ สารสนเทศเพื่อความปลอดภัยและความมั่นคงพบว่า ครูและบุคลากรทางการศึกษาจะแสวงหาสารสนเทศจากเพื่อนร่วมงานอยู่ในระดับมากและจะมีรูปแบบการแสวงหาสารสนเทศเพื่อความปลอดภัยและความมั่นคงส่วนบุคคล โดยแสวงหาสนเทศจากสื่อบุคคล เช่น จากผู้นำท้องถิ่น ผู้นำศาสนา เพื่อนร่วมงานถึงจะไปแสวงหาจากแหล่งอื่น อยู่ในระดับมากเช่นกันครูและบุคลากรจะใช้สารสนเทศในขณะปฏิบัติงานในโรงเรียนอยู่ในระดับมากและจะมีการประเมินสารสนเทศจากความทันสมัยของสารสนเทศอยู่ในระดับมาก โดยส่วนใหญ่จะแสวงหาจากเฟสบุคอยู่ในระดับมาก เช่นเดียวกัน ผลการศึกษาพบข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะ ความเหมือน และความแตกต่างของพฤติกรรมการแสวงหา การประเมินและการใช้สารสนเทศเพื่อความปลอดภัยและความมั่นคงส่วนบุคคลของครูและบุคลากรทางการศึกษาในจังหวัดนราธิวาส โดยมีวัตถุประสงค์ท้ังเพื่อการปฏิบัติงานและการใช้ชีวิตประจำวันสามารถใช้เป็นข้อมูลสำหรับการพัฒนาระบบสารสนเทศ หรือการจัดการสารสนเทศของฝ่ายที่ดูแลรักษาความปลอดภัยของของครูและบุคลากรทางการศึกษา รวมท้ังผู้เกี่ยวข้อง เพื่อให้สามารถพัฒนาระบบข้อมูลและช่องทางการสื่อสารข้อมูลสำหรับสนับสนุนการตัดสินใจของครูและบุคลากรทางการศึกษาในการปฏิบัติงานและการดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสมต่อไป The main objectives of this research were focused on two points. Firstly, to study the information seeking behavior, evaluation and usage the information for personal safety and security of teachers and educational personnel for dailyworking routine in Narathiwat province. Secondly, to compare the information seeking behavior, evaluation and usage the information for personal safety and security of teachers and educational personnel based on demographic characteristics, circumstances and the purposes of information utilization. The data was collected by using questionnaire to survey on 375 samples totally. The statistical analysis namely Mean, TTest and ANOVA were conducted in data analysis. The results showed that 66.40% of the respondents were female, 93% were Muslimand 95.50% lived in three southern border provinces. Mostly, the respondents them were aged between 30 -39 years and lower than 50 years (46.60% and 17.60%, respectively).They had working experience between 6-10 years and lower than 6 years (17.60% and 34.50%, respectively).81.66% of participants were teacher and 15.98% were education personnelsand only 2.37% were educational administrators. 33.43% of teachers andeducation personnelsworked in schools located in Bacho Sub-district and 22.38% worked in Pa Luka Samoh Sub-district. There were 47.16% of respondents worked in schoolslocated in risk-prone areas. The workplace and accommodation of them located in risk-prone areas were 45.38%. The seeking and using the information of this samples were 60.83% for working and daily routine, used for only working 19.72% and used foronly daily routine were 16.39%. The comparison of this research revealed that teachers and educational personnel sought the information through their colleagues at high level. The most frequently style of seeking information for personal safety and security were sought information throughpersonal mediasuchas local leaders, religious leaders, colleagues and other sources at high level.Teachers and educational personnel used the information while working in the school and evaluated the information from the modernized sources at a high level. Most of them sought from Facebook at a high level as well. The similarities and differences of seeking knowledge behavior, the evaluation and using Information Technology for private security of teacher and educational staff in Narathiwas ware found in this study.Moreover, the study aimed to improve the usage of Information Technology in daily life and adopted data to develop the Information system and management of the data of security staff for teacher and educational staff. In the same way, the study’s purposes are to enhance the data system and communication way to support decision of teacher and educational staff for working in daily life appropriately.th_TH
dc.language.isothth_TH
dc.subjectความมั่นคงth_TH
dc.subjectการจัดการสารสนเทศth_TH
dc.subjectไทย (จังหวัดชายแดนภาคใต้)th_TH
dc.titleการแสวงหาและการใช้สารสนเทศเพื่อความปลอดภัยและความมั่นคงส่วนบุคคลของครูและบุคลากรทางการศึกษา : กรณีศึกษาอำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาสth_TH
dc.title.alternativeInformation Seeking and Use for Personal Safety and Security of Teachers and Education Personnel : A Case Study of Bacho District, Narathiwat Province.th_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.contributor.departmentFaculty of Humanities and Social Sciences (Library and Information Science)-
dc.contributor.departmentคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์-
Appears in Collections:421 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
TC1203.pdf2.55 MBAdobe PDFView/Open


Items in PSU Knowledge Bank are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.