Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2010/9499
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorธรรมนูญ โปรดปราน-
dc.contributor.authorสุทธวัฒน์ เบญจกุล-
dc.date.accessioned2014-10-17T03:42:48Z-
dc.date.available2014-10-17T03:42:48Z-
dc.date.issued2555-
dc.identifier.urihttp://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2010/9499-
dc.identifier.urihttps://tnrr.nriis.go.th/#/services/research-report/detail/257617-
dc.description.sponsorshipสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์en_US
dc.subjectฟิล์มชีวภาพen_US
dc.subjectฟิล์มเคิร์ดแลนen_US
dc.titleผลของวิธีการเตรียมฟิล์มต่อลักษณะโครงสร้างในสถานะของแข็ง และสมบัติของฟิล์มเคิร์ดแลนen_US
dc.title.alternativeSolid-state structures and properties of curdlan film as affected by film preparation methodsen_US
dc.typeTechnical Reporten_US
dc.contributor.departmentFaculty of Agro-Industry (Material Product Technology)-
dc.contributor.departmentคณะอุตสาหกรรมเกษตร ภาควิชาเทคโนโลยีวัสดุภัณฑ์-
dc.contributor.departmentFaculty of Agro-Industry (Food Technology)-
dc.contributor.departmentคณะอุตสาหกรรมเกษตร ภาควิชาเทคโนโลยีอาหาร-
dc.description.abstract-thเคิร์ดแลนเป็นพอลิแซคคาไรด์จากจุลินทรีย์ที่มีโครงสร้างเป็น beta-1,3-glucan เคิร์ดแลนไม่ละลายน้ำที่อุณหภูมิห้องแต่ละลายได้ในสารละลายด่าง เคิร์ดแลนสามารถเกิดเจลได้โดยการ์ใช้ความร้อนและอิออนแคลเซียม ใช้เป็นสารให้ความข้นหนืดและเป็นสารเพิ่มความคงตัวในอาหาร และยังมีสมบัติเป็นสารต้านมะเร็ง อย่างไรก็ตามในปัจจุบันการศึกษาเกี่ยวกับการเตรียมฟิล์มและสมบัติซองฟิล์มเคิร์ดแลนมีอยู่จำกัด ดังนั้นงานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเบื้องต้นเพี่อศึกษาการเตรียมและสมบัติของพิล์มเคิร์ดแลนตลอดจนการวิเคราะห์โครงสร้างในสถานะของแข็งเบื้องต้น จากการศึกษาผลของชนิด (กลีเซอรอล ซอร์บิทอล และพอลิเอธิลีนไกลคอล) ปริมาณ (30-60% ของปริมาณเคิร์ดแลน) สารพลาสติไซเซอร์ต่อสมบัติของฟิล์มเคิร์ดแลน พบว่า ฟิล์มเคิร์ดแลนที่ใช้กลีเซอรอลที่ความเข้มข้น 50% ของปริมาณเคิร์ดแลน มีสมบัติเชิงกล (ความต้านทานแรงดึง แลระยะยึดเมื่อขาด) ดีที่สุด จากการศึกษาผลของสภาวะการเตรียม ได้แก่ ความเข้มข้นของฟิล์มเคิร์ดแลน ความเข้มข้นของสารละลายด่าง และอุณหภูมิของสารละลายฟิล์ม ต่อสมบัติของฟิล์มเคิร์ดแลน พบว่า ฟิล์มเคิร์ดแลนมีค่าการต้านทานแรงดึง และค่าการซึมผ่านไอน้ำเพิ่มขึ้นเมื่อความเข้มข้นของสารละลายฟิล์มเคิร์ดแลนที่ใช้เพิ่มขึ้น การใช้สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ที่มีความเข้มข้นระหว่าง 0.05-0.3 M เป็นตัวทำละลายเพื่อเตรียมฟิล์ม มีผลต่อสมบัติเชิงกลของฟิล์มเคิร์ดแลนที่ได้เพียงเล็กน้อย ฟิล์มเคิร์ดแลนที่เตรียมจากสารละลายด่างมีสมบัติเชิงกลที่ดีกว่าฟิล์มที่เตรียมจากสารละลายเคิร์ดแลนในน้ำกลั่นที่ให้ความร้อน อย่างไรก็ตามฟิล์มที่เตรียมจากสารละลายเคิร์ดแลนในน้ำกลั่นที่ให้ความร้อน อย่างไรก็ตามฟิล์มที่เตรียมจากสารละลายเคิร์ดแลนในน้ำกลั่นจะมีความเรียบ สม่ำเสมอ และความใสมากกว่าฟิล์มเคิร์ดแลนที่เตรียมจากสารละลายด่าง อันเป็นผลมาจากความแตกต่างของโครงสร้างในสถานะของแข็งของฟิล์มที่เตรียมจากสภาวะทั้งสอง จากการวิเคราะห์โดยเทคนิคเอ็กซ์เรย์ พบว่า ฟิล์มเคิร์ดแลนที่เตรียมจากสารละลายด่างมีโครงสร้างความเป็นผลึกที่สูง ในขณะที่ฟิล์มที่เตรียมจากสารละลายเคิร์ดแลนในน้ำกลั่นไม่ปรากฎโครงสร้างผลึกที่ชัดเจน นอกจากนี้พบว่าการใช้อุณหภูมิที่สูงขึ้น (45-85 ํC) กับสารละลายฟิล์มมีแนวโน้มให้ค่าการต้านทานแรงดึงของฟิล์มเคิร์ดแลนมีค่าสูงขึ้น ฟิล์มเคิร์ดแลนที่ได้ค่อนข้างมีความคงตัวในช่วงความชื้นสัมพันธ์ 30-70% และจะเกิดการสลายตัวทางความร้อนที่อุณหภูมิสูงกว่า -200 ํC ดังนั้นเคิร์ดแลนเป็นพอลิเมอร์จากจุลินทรีย์ที่สามารถนำมาใช้ในการเตรียมฟิล์มย่อยสลายได้ โดยที่ลักษณะปรากฎและสมบัติของฟิล์มเคิร์ดแลนที่ได้ขึ้นกับวิธีการและสภาวะของการเตรียมฟิล์ม-
Appears in Collections:850 Research
855 Research

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
368043.pdf596.88 kBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons