กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19637
ชื่อเรื่อง: ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกต่อการเกิดดินถล่มในภาคใต้ของประเทศไทย (กรณีศึกษา ตำบลเทพราช จังหวัดนครศรีธรรมราช)
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Effects of Global Climate Change on Landslides in Southern Thailand (Case study of Tepparach Sub-district, Nakorn Sri Thammarat Province)
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ธนิต เฉลิมยานนท์
ธนันท์ ชุบอุปการ
Faculty of Engineering Civil Engineering
คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา
คำสำคัญ: การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก;ดินถล่ม;ภาคใต้ของประเทศไทย;Climate Change;Landslide;Southern of Thailand
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Abstract(Thai): การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศต่อการเกิดดิน ถล่มในตำบลเทพราช อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยพื้นที่นี้เคยเกิดดินถล่มมาแล้วในฤดูร้อนของ เดือนมีนาคม พ.ศ 2554 การดำเนินการวิจัยประกอบด้วยสองส่วนสำคัญ ส่วนแรกคือการนำผลจาก แบบจำลองภูมิอากาศโลกจากแบบจำลอง PRECIS/ECHAM4 ซึ่งมีข้อมูลภาพฉายการเปลี่ยนแปลง ภูมิอากาศในอนาคตในรูปของฝนรายวันแล้วทำการปรับแก้โดยวิธี Change Factor ผลที่ได้ถูกนำมา ประเมินช่วงเวลาและรูปแบบของฝนที่มีความเสี่ยงทำให้เกิดดินถล่ม ส่วนที่สองประกอบด้วย การนำ คุณสมบัติทางวิศวกรรมของลาดดินมาวิเคราะห์ปริมาณฝนที่ทำให้เกิดตินถล่มโตยใช้แบบจำลองการไหลซึม ของน้ำใต้ดินและแบบจำลองเสถียรภาพลาตดิน ผลการวิเคราะห์ทั้งสองส่วนถูกนำมาประเมินการเกิดดิน ถล่มในพื้นที่ศึกษา ผลการศึกษาแบบจำลองภาพฉายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในอนาคตแสดงให้ เห็นว่า ปริมาณฝนเพิ่มขึ้นจากปีฐาน 3.399, 1.389 และ 27.7% ในช่วงอนาคตอันใกล้ (ปี 2013-2038) อนาคตช่วงกลาง (ปี 2039-2064) และอนาคตอันไกล (ปี 2065-2090) ตามลำดับ ผลการศึกษาการเกิดดิน ถล่มเมื่อปี ค.ศ. 2011 ลาดดินที่ ต.เทพราช อ.สิชล จ.นครศรีธรรมราช ถล่มเนื่องจากมีฝนตกต่อเนื่องกัน 3- 4 วัน แล้วมีปริมาณน้ำฝนสะสม มากกว่า 600 มิลลิเมตร ซึ่งในช่วงปีฐาน 29 ปี มีเหตุการณ์ลาดดินถล่ม 1 ครั้ง หรือกล่าวได้ว่ามีรอบปีการเกิดซ้ำ 29 ปี สำหรับผลการประเมินการเกิดดินถล่มในอนาคตโดยใช้ แบบจำลองการไหลซึมของน้ำใต้ดินและแบบจำลองเสถียรภาพลาดดิน พบว่า การเกิดดินถล่มในอนาคตจะ ถี่ขึ้นกว่าปัจจุบัน โดยจะเกิดลาดดินถล่มใน 3, 5, และ 5 ปี ในช่วงอนาคตอันใกล้ อนาคตช่วงกลาง และ อนาคตอันไกล ตามลำดับ โดยปริมาณฝนสะสมที่ทำให้เกิดดินถล่มมีค่าน้อยกว่า 600 มิลลิเมตร ทั้งนี้ เนื่องจากส่วนใหญ่ดินถล่มเกิดขึ้นในฤดูฝนซึ่งมีฝนตกหลายลูก ฝนลูกที่ตกก่อนทำห้ดินสูญเสียกำลังไปแล้ว จึงทำให้ปริมาณฝนสะสมในลูกหลังๆ ที่ทำให้เกิดดินถล่มมีค่าลดลง
URI: https://tnrr.nriis.go.th/#/research/1022326
http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19637
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:220 Research

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น