กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19622
ชื่อเรื่อง: | การเตรียมและสมบัติของโครงสร้างเลี้ยงเซลล์ที่มีความเข้ากันได้ทางชีวภาพเตรียมจากพอลิแลคติคแอสิด/ไคโตซาน/ผงขี้เลื้อย |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Preparation and properties of biocompatible scaffolds consisted of poly(lactic acid)/chitosan/sawdust |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | วราภรณ์ ตันรัตนกุล วรศักดิ์ เพชรวโรทัย Faculty of Science (Materials Science and Technology) คณะวิทยาศาสตร์ ภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีวัสดุ |
คำสำคัญ: | ไคโตซาน;ยางพารา;natural rubber sawdust |
วันที่เผยแพร่: | 2560 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
บทคัดย่อ: | The objective of this study was to prepare and determine properties of biocompatible composite foams consisted of poly(lactic acid) (PLA), chitosan and rubber wood sawdust (Hevea brasiliensis) for utilizing as scaffold in bone tissue engineering. Foam samples were prepared by compression molding. Azodicarbonamide and zinc oxide was used as a chemical blowing agent and an accelerator, respectively. Poly(ethylene glycol) (PEG) was used as a plasticizer. Foam samples were classified into 3 types: (1) PLA/rubber wood sawdust foams, (2) PLA/chitosan/PEG foams, and (3) PLA/chitosan/rubber wood sawdust foams. Surface treatment of rubber wood sawdust was applied. It was found that cellular structure of foams was closed cells. Factors affecting foam morphology and physical properties (average cell size, void fraction (%VF), and density) were particle size, concentration and surface treatment of rubber wood sawdust, concentration of chitosan and PEG, and molding condition. These factors also affected the mechanical properties and thermal degradation of foams. Foams contained smaller average cell size/%VF and higher density showed higher mechanical properties. The thermal degradation temperature determined from TGA techniquedegradation and cytotoxicity sts were applied to Foam 1 and 2. The In-vitro degradation was reported as % weight loss of samples which tested for 2 months. Noticeably, average cell size, %VF, and % weight loss of both foams. % weight loss of all formulae of depended wasI was significantly lower than that of PLA foam. % weight loss of Foam 1 It could be higher, lower or similar to that of PLA foam. by cell proliferation obtained from MG63, osteoblast-liked cells, days. All of Foam 1 and 2 showed non-cytotoxicity confirmed by theproliferation throughout the cell culture. |
Abstract(Thai): | งานวิจัยนี้เป็นการเตรียมและศึกษาสมบัติของโฟมคอมโพสิทที่มีความเข้ากันได้ทางชีวภาพ ประกอบด้วยพอลิแลคติคแอซิดผสมกับไคโตซานและอนุภาคขี้เลื่อยไม้ยางพารา เพื่อใช้เป็นโครงสร้างเลี้ยง เซลล์ในงานวิศวกรรมเนื้อเยื่อกระดูก ทำการเตรียมชิ้นงานด้วยการอัดขึ้นรูปแบบร้อน โดยมีการใช้เอโซไดคาร์ โบนาไมด์เป็นสารฟู ซิงค์ออกไชด์เป็นตัวกระตุ้น และพอลิเอทธิลีนไกลคอลเป็นพลาสติไซเซอร์ ทำการเตรียม โฟมสามชนิด ได้แก่ (1) โฟมพอลิแลคติคแอซิดผสมอนุภาคขี้เลื่อย (2) โฟมพอลิแลคติคแอชิดผสมไคโตซาน และพอลิเอทิลีนไกลคอล และ (3) โฟมพอลิแลคติคแอซิดผสมไคโตซานและอนุภาคขี้เลื่อย มีการปรับสภาพผิว ของอนุภาคขี้เสื่อยด้วยวิธีการต่างๆ ก่อนนำไปใช้งาน ผลการทดลองพบว่า โฟมมีลักษณะเป็นเซลล์ปิด ปัจจัยที่ มีผลต่อลักษณะสัณฐานวิทยาของโฟมและสมบัติทางกายภาพ (ค่าเฉลี่ยขนาดเซลล์ ปริมาณรูพรุน และความ หนาแน่น) ของโฟม ได้แก่ ขนาดอนุภาคขี้เลื่อย ปริมาณขี้เลื่อย วิธีการปรับสภาพผิวอนุภาคขี้เสื่อย ปริมาณของ พอลิเอทธิลีนไกลคอลและไคโตซาน และสภาวะในการขึ้นรูปโฟม ซึ่งปัจจัยดังกล่าวนี้มีผลต่อเนื่องถึงสมบัติ เชิงกล และการสลายตัวทางความร้อนของโฟมด้วยเช่นกัน กรทดสอบสมบัติเชิงกลพบว่าโฟมที่มีค่าเฉลี่ยขนาด ชลล์และปริมาณรูพรุนต่ำกว่าและมีค่ความหนาแน่นที่สูงกว่า จะแสดงสมบัติเชิงกลที่ดีกว่า อุณหภูมิการ สลายตัวทางความร้อนที่ได้จากการทดสอบด้วยเทคนิคเทอร์โมกราวิเมตตริกของโฟมทั้งสามสูตรมีค่าต่ำกว่าโฟ มพอสิแลคติคแอชิด นำโฟมชนิดที่ 1 และ 2 ทดสอบการย่อยสลายในสภาวะจำลองและความเป็นพิษต่อเซลล์ การศึกษาการย่อยสลายในสภาวะจำลองของโฟมรายงานผลด้วยค่า 96weight oss ซึ่งทำการศึกษาเป็นเวลา 2 เดือน พบว่าค่าเฉลี่ยขนาดเซลล์ ปริมาณรูพรุน และความหนาแน่นมีอิทธิพลต่อ 96weight loss ของโฟมทั้ง สองชนิด นอกจากนี้โฟมชนิดที่ 2 ทุกสูตรยังมี 96weight Ioss ลดลงอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับโฟมพอลิแล คติคแอซิด โดยที่โฟมชนิดที่ 1 มี 96weight los ที่แตกต่างกับโฟมพอลิแลคติคแอชิดโดยขึ้นอยู่กับสูตรผสม สมบัติความเป็นพิษต่อเซลล์รายงานด้วยค่าการเพิ่มจำนวนเซลล์ที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเซลล์ชนิด MG63 (เซลล์ คล้ายชลล์สร้างกระดูก) เป็นเวลา 7 วัน พบว่าโฟมทั้งสองชนิดแสดงสมบัติที่ไม่เป็นพิษต่อเซลล์ ซึ่งยืนยันได้ จากการเพิ่มขึ้นของค่าการเพิ่มจำนวนเซลล์ตลอดการเพาะเลี้ยงเซลล์ |
URI: | https://tnrr.nriis.go.th/#/research/1022325 http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19622 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | 342 Research |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น