กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19606
ชื่อเรื่อง: Discourse Strategies in Promotional Materials of Global ELT Textbook Series
ชื่อเรื่องอื่นๆ: กลยุทธ์ทางวาทกรรมในสื่อส่งเสริมการขายของชุดแบบเรียนภาษาอังกฤษระดับโลก
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: Savski, Kristof
Nalina Samarn
Faculty of Liberal Arts (Languages and Linguistics)
คณะศิลปศาสตร์ ภาควิชาภาษาและภาษาศาสตร์
คำสำคัญ: Discourse strategies;Ideology;Critical Discourse Analysis;Global ELT Textbooks
วันที่เผยแพร่: 2023
สำนักพิมพ์: Prince of Songkla University
บทคัดย่อ: In English Language Teaching (ELT), analyses of ideologies on the contents of ELT textbooks and studies of practices in classrooms have been given a lot of attention. However, only few studies to date have focused on the role ideology plays in the sales and consumption of textbooks, and how ideologies strategically help sustain the power of publishers, whose ‘authority’ in pedagogy is represented by those ELT materials. Placed in the field of critical discourse analysis and employing methods of the Discourse-Historical Approach (DHA) (Wodak & Meyer, 2016), this study aims to investigate the use of discourse strategies in the online promotional materials of three global ELT textbook series namely (1) Cambridge English Empower (2) Headway (3) Life. The study addresses the research question: What discourse strategies are used to promote ELT textbook series on the websites of three global publishers? The results show that the three publishers of the three series Empower, Headway, and Life rely heavily on the use of typical uses of promotional language, particularly intensifications, and the textbooks, rather than teachers or learners, tend to be attributed most actions to the series materials. All three series also show an attempt to validate their reliability and trustworthiness through association to policy, testing, as well as other sources of authority. We conclude by reflecting on the ideologies reproduced through the use of promotional strategies and how important for teachers to reflect on ideologies that threaten to devalue their knowledge and disempower them.
Abstract(Thai): การศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับคตินิยมในสายการสอนภาษาอังกฤษ หรือ ELT (English Language Teaching) ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการวิจัยคตินิยมที่ฝังรากอยู่ในเนื้อหาของแบบเรียนภาษาอังกฤษและในแนวปฏิบัติการเรียนการสอนในห้องเรียน อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันมีงานวิจัยไม่มากที่มุ่งเน้นไปที่บทบาทของคตินิยมในการขายและการบริโภคแบบเรียนภาษาอังกฤษ และวิธีที่ผู้จัดพิมพ์คู่มือการเรียนการสอนเหล่านั้นรักษาความไม่เท่าเทียมทางอำนาจไว้ด้วยคตินิยม งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบการใช้กลยุทธ์ทางวาทกรรมในสื่อส่งเสริมการขายของชุดแบบเรียนภาษาอังกฤษระดับโลกสามชุด ได้แก่ (1) Cambridge English Empower (2) New Headwayและ (3) Life โดยยึดหลักแนวคิดการวิเคราะห์วาทกรรมเชิงวิพากษ์ (Critical Discourse Analysis) และใช้แนวคิด Discourse-Historical Approach หรือ DHA (Wodak & Meyer, 2016) ในการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิจัยพบว่าผู้จัดพิมพ์ของชุดแบบเรียนภาษาอังกฤษทั้งสามชุด อาศัยการใช้ภาษาส่งเสริมการขายทั่วไปเป็นหลัก โดยเฉพาะกลยุทธ์ Intensification อีกทั้งการส่งเสริมการขายของเนื้อหาในแบบเรียนยังยึดโยงครูและผู้เรียนกับกรรมวาจกเป็นหลักโดยมีผู้กระทำกริยาคือชุดแบบเรียน ผู้จัดพิมพ์ของแบบเรียนทั้งสามชุดยังแสดงให้เห็นถึงความพยายามในการสร้างความน่าเชื่อถือและความไว้วางใจผ่านวาทกรรมซึ่งมีความเชื่อมโยงกับนโยบาย การทดสอบความรู้ และแหล่งอำนาจอื่น ๆ ผลการวิจัยข้างต้นทำให้ผู้จัดทำเล็งถึงความสำคัญของเห็นความสำคัญและคุณค่าของอัตตาณัติ (autonomy) ของผู้สอนที่อาจสูญหายไปจากคตินิยมที่ถูกผลิตซ้ำในบริบทการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ
รายละเอียด: Master of Arts (Applied English language Studies), 2023
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19606
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:890 Thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
6411120005.pdf22.06 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons