กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19595
ชื่อเรื่อง: Transition of Stroke Incidence and Evaluation of Recombinant Tissue Plasminogen Activator in Thailand
ชื่อเรื่องอื่นๆ: การเปลี่ยนแปลงอุบัติการณ์โรคหลอดเลือดสมองและการประเมินการใช้ยาละลายลิ่มเลือดในผู้ป่วยหลอดเลือดสมองอุดตันเฉียบพลัน
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: Virasakdi Chongsuvivatwong
Vuthiphan Vongmongkol
Faculty of Medicine (Epidemiology)
คณะแพทยศาสตร์ สาขาวิชาระบาดวิทยา
คำสำคัญ: Cerebrovascular disease Patiants Treatmen
วันที่เผยแพร่: 2019
สำนักพิมพ์: Prince of Songkla University
บทคัดย่อ: Background: Stroke is one of the major public health problems in Thailand. Its incidence is expected to increase due to the country's ageing population and increasing trend of risk factors. Thailand hopes to achieve the non-communicable disease (NCD) global targets recommended by the World Health Organization. The impact of demographic and epidemiologic change on the incidence of stroke between 2010 and 2040 and the benefit of achieving NCD global targets in the general population, should be quantified. In 2008, the National Health Security Office included recombinant tissue plasminogen activator (rtPA) in the benefits package of the Universal Coverage Scheme. The benefit of rtPA is to reduce or prevent brain infarction and minimize the long-term disability and neurologic impairment. However, the thrombolytic agent can also cause symptomatic intracerebral hemorrhage, which increases the odds of death. In addition, increasing the number of new stroke cases leads to consequent strains on health resource. Whereas the cost-effective of thrombolytic therapy has been examined, there has been less focus on the overall budgetary. Therefore, the cost of rtPA treatment and its effect on mortality at the national level is need to be evaluated. Objectives: This study aims to 1) project the incidence of stroke among the Thai population between 2010 and 2040. 2) quantify the impact of demographic transition and trend of risk factors on the incidence of stroke 3) estimate the benefit of achieving the NCD targets on reducing the incidence of stroke 4) investigate the trend of thrombolysis among ischemic stroke patients, estimate the cost of treatment with rtPA among ischemic stroke patients and determine the effect of rtPA treatment on 30-day fatality among ischemic stroke Methods: The macro simulation based on Markov model was applied to project the incidence of stroke between 2010 and 2040. The base case scenario, which holds the level of risk factors at the initial year constant, was used to quantify the impact of demographic change on the incidence of stroke. A trend of risk factor scenario was then simulated by combining trends in stroke risk factors to estimate the additional effect. Finally, targeted NCD scenario including three NCD targets, a 25% reduction in hypertension, a 10% reduction in insufficient physical activity and a 30% reduction in smoking, were incorporated to determine their impact on the projected incidence of stroke. To estimate cost of rtPA and examine its effect of on mortality, we used three national datasets comprising hospital costs from the Division of Health Insurance, Ministry of Public Health, the inpatient database of the Universal Health Coverage scheme from the National Health Security Office and the civil registration database from the Ministry of Interior. The association between rtPA and 30-day case fatality was determined using multiple logistic regression. Results: Based on demographic change alone, Thailand would face an approximately 44% or 60% increase in stroke incidence within 30 years. If the current trend of stroke risk factors persists, an extra 1.4% or 7.7% are estimated. Among modifiable risk factors, hypertension has the most contribution to new stroke events. Achieving three NCD global target (reducing 25% of hypertension, 30% of smoking and 10% of insufficient physical activity) could be averted new stroke event from the demographic effect by approximately 5.5%. The rate of thrombolytic treatment has increased from 1.6% in 2011 to 3.8% in 2014. Cost of treatment in itPA usage was 4 times higher than without rtPA. Patients treated with rtPA had an increasing 30-day case fatality rate of 11% (OR 1.11, 95% CI 1.03 - 1.21) compared to those without rtPA after adjustment for other variables. Conclusion: Population ageing is expected to be the major contribute to the rise in stroke incidence in Thailand over the next decade. A substantial increase in stroke is projected due to a doubling in the number of elderly people in the next 30 years. Trends in risk factors will also accelerate future stroke incidence in the Thai population. A steady declining trend of smoking could not counterbalance the rise of stroke incidence added by the adverse trend of diabetes and overweight. Achieved NCD target would not be enough to offset the increase of stroke incidence from the influence of demographic factors. It is recommended that public health policy to lower diabetes and overweight through improved diet and physical activity, implementation of WHO best buy interventions in particular taxation on tobacco, alcohol, sugar-sweetened beverages; control of marketing advertisement and sponsorship by industry; and control of availability of alcohol, and promoted mass media in physical activity, should be the high policy priorites. In addition, supporting program for early detection and effective coverage of hypertension and diabetes are necessary. The rate of using rtPA in the Universal Health Coverage Scheme has been increasing during the present study period but remains low. More detailed data collection is needed in the future to evaluate the benefit and harm of rtPA use in Thailand. Keywords: stroke incidence, projection, thrombolysis rate, Recombinant Tissue Plasminogen Activator, ischemic stroke, cost of treatment
Abstract(Thai): โรคหลอดเลือดสมองนับเป็นโรคที่สร้างความสูญเสียทั้งทางด้านการเสียชีวิตและส่งผลต่อความพิการเป็นลําดับต้นๆ ต่อประชากรไทย ในอนาคตมีการคาดการณ์ว่าอุบัติการณ์ของโรค หลอดเลือดสมองจะเพิ่มขึ้นเป็นจํานวนมากเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรของประเทศที่เข้าสู่สังคมสูงอายุและแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นของปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ทั้งนี้ประเทศไทยได้ดําเนินการตามคําแนะนําขององค์กรอนามัยโลกที่จะทําการควบคุมและลดปัจจัยเสี่ยงของโรคไม่ติดต่อเรื้อรังตาม เป้าหมายที่กําหนดไว้ อย่างไรก็ดียังไม่มีการศึกษาใดที่จะแสดงให้เห็นถึงผลกระทบในอนาคตที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของประชากร การเปลี่ยนแปลงของปัจจัยเสี่ยง ต่อการเกิดอุบัติการณ์โรคหลอด เลือดสมองในอนาคต ขณะเดียวกันในด้านการรักษาโรคหลอดเลือดสมอง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 ระบบ หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าได้บรรจุการให้ยาละลายลิ่มเลือดชนิด recombinant tissue plasminogen activator (rtPA) แก่ผู้ป่วยหลอดเลือดสมองอุดตันเฉียบพลันเข้าเป็นหนึ่งในชุดสิทธิ ประโยชน์ แต่ยังขาดการศึกษาเกี่ยวกับแนวโน้มของการได้รับยาละลายลิ่มเลือด ตลอดจนการ เปรียบเทียบต้นทุนและอัตราตายภายใน 30 วันของผู้ป่วยสิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้าในกลุ่มที่ได้รับ และไม่ได้รับยาละลายลิ่มเลือด วัตถุประสงค์การศึกษา งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ประมาณการณ์อุบัติการณ์ของผู้ป่วยโรคหลอด เลือดสมองระหว่างปี พ.ศ. 2553 ถึง 2583 (2) ประมาณการณ์อิทธิพลของการเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง ประชากรและการเปลี่ยนแปลงปัจจัยเสี่ยงที่มีต่ออุบัติการณ์โรคหลอดเลือดสมองในอนาคต (3) ประมาณการณ์ผลสําเร็จการบรรลุเป้าหมายในการลดปัจจัยเสี่ยงที่มีต่ออุบัติการณ์โรคหลอดเลือดสมองในอนาคต (4) ศึกษาแนวโน้มของการได้รับยาละลายลิ่มเลือดชนิด rtPA รวมถึงต้นทุนและ อัตราตายภายใน 30 วัน ของผู้ป่วยหลอดเลือดสมองอุดตันเฉียบพลันที่ใช้สิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้าวิธีการศึกษารูปแบบการศึกษาในครั้งนี้ได้แบ่งออกเป็นสองส่วน ส่วนที่ 1 เป็นการพัฒนา แบบจําลองเพื่อใช้ในการประมาณการณ์ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในอนาคต ส่วนที่ 2 เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลทุติยภูมิ สําหรับส่วนที่หนึ่ง ได้นําแบบจําลองมาร์คอฟ (Macro simulation based onMarkov model) มาประยุกต์ เพื่อใช้ในประมาณการณ์รวมทั้งสร้างฉากทัศน์ของจํานวนผู้ป่วยหลอด เลือดสมองรายใหม่ระหว่างปี พ.ศ. 2553 ถึง ปี พ.ศ. 2533 โดยมีฉากทัศน์สําคัญ 3 แบบ 1) ฉากทัศน์ พื้นฐาน (Base scenario) กําหนดระดับปัจจัยเสี่ยงเท่ากับปีเริ่มต้นและคงไว้จนถึงปีสุดท้าย โดยจะมี การเปลี่ยนแปลงเฉพาะในส่วนโครงสร้างประชากร ดังนั้นฉากทัศนี้จะแสดงให้เห็นผลของปัจจัยทาง ประชากรศาสตร์ต่อจํานวนผู้ป่วยในอนาคต 2) ฉากทัศน์แนวโน้มปัจจัยเสี่ยง (Trend of risk factor scenario) เป็นการรวมปัจจัยทางด้านการเปลี่ยแปลงด้านประชากรร่วมกับการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยเสี่ยงในอนาคต 3) ฉากทัศน์เป้าหมายการควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Targeted NCD scenario) ประกอบด้วย 3 เป้าหมาย ได้แก่ ลดความชุกของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงลง 25% ลด ความชุกของการออกกําลังกายไม่เพียงพอ 10% ลดความชุกของการสูบบุหรี่ลง 30% ภายในปี พ.ศ.2568 สําหรับส่วนที่สอง ได้นําข้อมูลระดับประเทศจาก 3 แหล่ง อันได้แก่ ข้อมูลต้นทุนฐานข้อมูลผู้ป่วยในการสํานักงานหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าโรงพยาบาล จากกระทรวงสาธารณสุขและข้อมูลการตายจากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ กระทรวงมหาดไทย มาใช้ในการวิเคราะห์ผลการศึกษาการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรในอนาคตจะส่งผลให้อุบัติการณ์ของผู้ป่วยโรคในกรณีที่หลอดเลือดสมองเพิ่มขึ้น 44-60 เปอร์เซ็นต์ ภายใน 30 ปี แนวโน้มปัจจัยเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นจะเพิ่ม อุบัติการณ์โรคหลอดเลือดสมองในอนาคตประมาณ 1.4 -7.7 เปอร์เซ็นต์ ความดันโลหิตสูงเป็นปัจจัย เสี่ยงที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ที่ส่งผลต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองในอนาคตมากที่สุด ประเทศไทยสามารถบรรลุเป้าหมายในการควบคุมปัจจัยเสี่ยงของโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง อันได้แก่ ลด ความชุกของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงลง 25% ลดความชุกของการออกกําลังกายไม่เพียงพอ 10% ลดความชุกของการสูบบุหรี่ลง 30% จะสามารถลดการเกิดโรคหลอดเลือดสมองในอนาคตที่เกิดจากปัจจัยด้านการเปลี่ยนแปลงประชากรได้ประมาณ 5.5%สําหรับในส่วนที่สอง พบว่า อัตราการได้รับยา rtPA ของผู้ป่วยหลอดเลือดสมองอุด ต้นเฉียบพลันเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 1.6 ในปี พ.ศ. 2554 เป็นร้อยละ 3.8 ในปี 2557 ค่าใช้จ่ายด้านการ รักษาของผู้ป่วยที่ได้รับยา rtPA จะสูงกว่าผู้ที่ไม่ได้รับยาประมาณ 4 เท่า ขณะที่ การได้รับยาrtPA จะ มีความสัมพันธ์กับอัตราตายภายใน 30 วัน (adjusted odds ratio 1.11 มีช่วงความเชื่อมั่นร้อยละ95 เท่ากับ 1.03-1.21) สรุปผลการวิจัย การเพิ่มขึ้นของสัดส่วนประชากรสูงอายุเป็นปัจจัยหลักในการเพิ่มขึ้นของอุบัติการณ์โรคหลอดเลือดสมองในอนาคตของประชากรไทย ขณะเดียวกันแม้ว่าการความชุกของการสูบบุหรี่ในประชากรไทยจะลดต่ําลง แต่การเพิ่มขึ้นของโรคเบาหวานและภาวะน้ําหนักเกินจะส่งผลให้อุบัติการณ์ โรคหลอดเลือดสมองสูงขึ้นในอนาคต ถึงแม้ว่าประเทศไทยจะสามารถบรรลุเป้าหมายในการลดปัจจัยเสี่ยงก็อาจจะไม่เพียงพอต่อการหยุดยั้งการเพิ่มขึ้นของโรคหลอดเลือดสมองในอนาคต ดังนั้นนโยบายXIที่เกี่ยวกับการลดผู้ป่วยเบาหวานและภาวะน้ําหนักเกิน เช่น การเก็บภาษีเครื่องดื่มที่มีน้ําตาล และการ ส่งเสริมการออกกําลังกายผ่านสื่อจึงควรทําอย่างเร่งด่วนร่วมกับมาตรการในการคัดกรองผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงตั้งแต่เริ่มต้น รวมทั้งการส่งเสริมการควบคุมผู้ป่วยเหล่านั้นไม่ให้เกิด ภาวะแทรกซ้อนจึงเป็นสิ่งที่จําเป็นอย่างยิ่ง ขณะเดียวกันอัตราการได้รับยาละลายลิ่มเลือดในกลุ่มผู้ใช้ สิทธิประกันสุขภาพแห่งชาติมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น แต่ยังคงอยู่ในระดับต่ํา การวิเคราะห์ถึงผลดีของการให้ ยาละลายลิ่มเลือดยังขาดข้อมูลเพื่อใช้ในการประเมิน คําสําคัญ: อุบัติการณ์โรคหลอดเลือดสมอง การประมาณการณ์ในอนาคต โรคหลอดเลือดสมองอุดตัน เฉียบพลัน อัตราการใช้ยาละลายลิ่มเลือด ต้นทุนการรักษา
รายละเอียด: Doctor of Philosophy (Epidemiology), 2019
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19595
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:350 Thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
437372.pdf
  Restricted Access
2.42 MBAdobe PDFดู/เปิด    Request a copy


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons