กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19567
ชื่อเรื่อง: ฤทธิ์ส่งเสริมการหายของแผลของตำรับยาสมานแผลในหนูเบาหวาน ประเภทที่ 2 (Goto-Kakizaki rats)
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Wound Healing Effects of Ya-Samarn-Phlae in Type 2 Diabetic Rats (Goto-Kakizaki rats)
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ศศิธร ชูศรี
สินีนาฏ สันพินิจ
Faculty of Thai Traditional Medicine
คณะการแพทย์แผนไทย
คำสำคัญ: ยาฝาดสมาน;เบาหวาน การรักษา
วันที่เผยแพร่: 2019
สำนักพิมพ์: Prince of Songkla University
บทคัดย่อ: Diabetic foot ulcers (DFUS) has been noted as the most common cause of amputations occurring at least one in 10 people with diabetes. Despite the existence of standard wound care protocols, there is a rising interest in testing and exploring the possibility of medicinal plants and traditional medicines that can serve as effective natural wound healing products for the treatment of DFUS. This study focuses mainly on the wound healing mechanisms of Thai traditional medicine named Ya-Samarn-Phlae which has been prescribed by Mr. Somporn Chanwanisakul, a folk healer in the Southern Thailand. This present work aimed to (1) evaluate the pharmacognostic properties and phytochemical constituents of Ya-Samarn-Phlae's herbal ingredients which are Curcuma longa L. (Rhizome), Areca catechu L. (Seed), Oryza sativa L. (Seed), and Garcinia mangostana L. (Pericarp), (II) determine the contents of biological markers and wound- related in vitro biological activities of the ethanol extract (E-YaSP), infused oil which is the traditional form (T-YaSP), and ointment containing Ya-Samarn-Phlae (YaSP), (III) examine in vivo anti-inflammatory mechanisms of YaSP and T-YaSP, and (IV) describe wound healing mechanisms of YaSP and T-YaSP toward excision wound model in Wistar and non-obese type 2 diabetic Goto-Kakizaki (GK) rats. The pharmacognostic parameters of Curcuma longa, Areca catechu, Oryza sativa, and Garcinia mangostana were evaluated in accordance with either Thai herbal pharmacopeia or the Ayurvedic herbal pharmacopoeia. The amount of their impurities such as foreign matters, total ash content, acid insoluble ash, and percentage of loss on drying were found to be within the limit as per the specification in the pharmacopeias. Similarly, their solvent-soluble extractive values that use for estimating the amount of their active constituents were found to meet the required criteria. Liquid chromatography mass spectrometry profiling highlights that E-YaSP, T-YaSP, and YaSP contains at least 37, 30, and 19 the known constituents, respectively. Among these, alpha-mangostin and curcumin were selected as representative biological markers since these compounds has been found in all Ya-Samarn-Phlae preparations. The quantitative analysis using high performance liquid chromatography revealed that the contents of alpha-mangostin and curcumin in YaSP was found to be approximately 6 times lower than that of T-YaSP. Moreover, it should be noted that the contents of alpha-mangostin and curcumin in YaSP were more dramatically decreased than that of T-YaSP during the storage period of 6 months. In vitro biological assessments have demonstrated that E-YaSP, T-YaSP, and YaSP possessed nitric oxide free radical scavenging ability and lipid peroxidation inhibition, moreover, E-YaSP enhanced human dermal fibroblast migration a scratch wound closure assay and inhibited the nitric oxide production in RAW 264.7 cells stimulated by lipopolysaccharide. Both T-YaSP and YaSP were determined for skin irritation using albino rabbits and categorized based on Globally Harmonized System of Classification Toxicity as a category IV (non-to slightly irritating). In vivo anti-inflammatory mechanisms were described using a carrageenan-induced paw edema model in Wistar rats. Topical administration with YaSP and T-YaSP have shown significant (p< 0.05) inhibition of paw oedema on 1st hour after injected with carrageenan. These results were found in a similar pattern with paw edema inhibition was seen in phenylbutazone treatment. The levels of inflammatory and oxidative stress markers which are malondialdehyde (MDA), nitric oxide (NO), and myeloperoxidase (MPO) measured by enzyme-linked immunosorbent assay (ELISA) were significantly decreased in T-YaSP and YaSP treated groups and these levels were found to be comparable with phenylbutazone treated group. Furthermore, the results of this study have shown that both treatment with both T-YaSP and YaSP dramatically reduced the pro-inflammatory cytokines including tumor necrosis factor alpha (TNF-alpha), Interleukin 1 beta (IL-1beta), and prostaglandin E2 (PGE2) and inflammatory enzymes including inducible nitric oxide synthase (iNOS) and cyclooxygenase-2 (COX-2) in inflamed paw tissue. In conclusion, T-YaSP and YaSP may enhance the wound healing process via attenuating its inflammatory phase either by inhibition of nitric oxide production in the inflammatory mode of the macrophages or by causing reductions in the levels of inflammatory cytokines and enzymes. To further evaluated the wound healing property and described the mechanisms of action of Ya-Samarn-Phlae preparations, excision wounds were created in six groups consisting of 9-10 rats each. The first two groups received vehicles for YaSP and T-YaSP, while there were two groups received a commercially available traditional product, ThongnoppakhunR (as a positive control for T-YaSP) or Solcoseryl ointmentR (as a positive control for YaSP), and the last two groups received YaSP and T-YaSP topically every other day. The percentage of wound contraction on days 3, 5, 7, 9 and 11 as well as the levels of transforming growth factor beta-1 (TGF-beta1), vascular growth factor (VEGF), collagen type I, and collagen type III and histopathology parameters of healed wounds on 7th and 11th (for non-diabetic wounds) and on 11th (for diabetic wounds) were evaluated. The percentage of wound contraction and the reduction of wound area in the excision wounds were significantly different (p<0.05) between diabetic and non- diabetic rats, whereas notable wound healing effects of both YaSP and T-YaSP elucidated by the reduction of wound area were found to be higher than that of the vehicle controls. In addition, the changes in growth factors including TGF-beta1 and VEGF and the levels of collagen type I and III in YaSP and T-YaSP treated groups were comparable with the positive controls. According to our data, YaSP and T-YaSP could be noted as an effective natural wound healing preparation for both diabetic and non-diabetic wounds. This traditional medicine promotes skin wound healing, possibly by inhibiting the excessive and prolonged inflammatory phase and enhancing both proliferation and remodeling phases of acute wounds.
Abstract(Thai): แผลบริเวณเท้าในป่วยเบาหวาน (Diabetic foot ulcers; DFUs) เป็นสาเหตุที่พบบ่อยในผู้ป่วยเบาหวานอย่างน้อย 1 ใน 10 คน ที่ได้รับการตัดเท้า แม้ว่าจะมีวิธีการรักษา แผลที่เป็นมาตรฐาน แต่การศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับพืชสมุนไพรและตํารับยาพื้นบ้านที่มาจากผลิตภัณฑ์ธรรมชาติซึ่งมีผลต่อการหายของแผลเพื่อรักษาแผลเบาหวานเป็นสิ่งที่น่าสนใจ การศึกษานี้มุ่งเน้นไปที่กลไกการรักษาแผลของตํารับยาแผนไทยที่มีชื่อว่า ยาสมานแผล (Ya-Samarn-Phlae) ซึ่งเป็นตํารับยาของ หมอสมพร ชาญวณิชย์สกุล แพทย์แผนไทยในพื้นที่ ภาคใต้ของประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์ของการศึกษาคือ 1) เพื่อประเมินลักษณะทางเภสัช เวทและองค์ประกอบทางเคมีของสมุนไพรในตํารับยาสมานแผล ซึ่งได้แก่ เหง้าขมิ้นชัน เมล็ด หมาก เมล็ดข้าวสาร และเปลือกมังคุด 2) เพื่อตรวจหาปริมาณของสารสําคัญที่ออกฤทธิ์ทาง ชีวภาพและศึกษาฤทธิ์ทางชีวภาพที่เกี่ยวข้องกับการหายของแผลในหลอดทดลองของสารสกัด ด้วยเอทานอลจากยาสมานแผล (E-YaSP) ยาสมานแผลในรูปแบบยาน้ํามัน (T-YaSP) และ ยาสมานแผลในรูปแบบยาเตรียมแผ่นปิดแผล (YaSP) 3) เพื่อทดสอบกลไกการออกฤทธิ์ต้าน การอักเสบในสัตว์ทดลองของ T-YaSP และ YaSP และกลไกการออกฤทธิ์ต่อกระบวนการหาย ของแผลของ T-YaSP และ YaSP ในการศึกษาแบบ excision wound model ในหนูปกติ (Wistar rats) และหนูเบาหวานชนิดที่ 2 (Goto-Kakizaki (GK) rats)การศึกษาลักษณะทางเภสัชเวทของขมิ้นชัน หมาก ข้าวสาร และมังคุด โดย อ้างอิงวิธีการทดสอบตาม Thai herbal pharmacopeia และ/หรือ Ayurvedic herbal pharmacopoeia พบว่า ปริมาณของสิ่งเจือปน เช่น ปริมาณสิ่งปนเปื้อน ปริมาณเถ้ารวม ปริมาณเถ้าที่ไม่ละลายในกรด และร้อยละของความชื้น เป็นไปตามข้อกําหนดของเภสัชตํารับ ที่ดี เช่นเดียวกับปริมาณของสารสกัดด้วยตัวทําละลายต่าง ๆ ที่ใช้ในการประเมินปริมาณของ สารสําคัญซึ่งเป็นไปตามข้อกําหนดมาตรฐาน จากการประเมินองค์ประกอบทางเคมีเชิงคุณภาพ โดยใช้เครื่อง liquid chromatography mass spectrometry ของ E-YaSP, T-YaSP และ YaSP พบว่ามีจํานวนของสารองค์ประกอบ เท่ากับ 37, 30 และ 19 ชนิด ตามลําดับ ในจํานวนของ สารเหล่านี้ มีสารสําคัญ 2 ชนิด ที่พบในยาสมานแผลทั้งสามรูปแบบ คือ alpha-mangostin และ Curcumin ซึ่งจัดเป็น biological markers การศึกษาองค์ประกอบทางเคมีเชิงปริมาณโดย ใช้เครื่อง high performance liquid chromatography พบว่า YaSP มีปริมาณของ alpha- mangostin และ curcumin น้อยกว่าประมาณ 6 เท่า เมื่อเปรียบเทียบกับ T-YaSP นอกจากนี้ยัง พบว่า ปริมาณของ alpha-mangostin และ curcumin ใน YaSP ลดลงมากกว่า T-YaSP เมื่อผ่านการเก็บรักษาไว้เป็นเวลา 6 เดือน ในการศึกษาฤทธิ์ทางชีวภาพในระดับหลอดทดลอง พบว่า E-YaSP, T-YaSP และ YaSP มีคุณสมบัติในยับยั้งอนุมูลอิสระไนตริกออกไซด์ และ ปฏิกิริยา lipid peroxidation ได้ นอกจากนี้ E-YaSP ยังมีความสามารถกระตุ้นการเคลื่อนที่ของ human dermal fibroblast ได้โดยการทดสอบด้วยวิธี scratch wound closure assay และ สามารถยับยั้บการสร้างไนตริกออกไซด์จาก RAW 264.7 macrophage cells ที่ได้รับการกระตุ้น ด้วย lipopolysaccharide ได้ จากการทดสอบความระคายต่อผิวหนังในกระต่าย พบว่า ทั้ง T-YaSP และ YaSP จัดอยู่ใน category IV ของ Globally Harmonized System of Classification Toxicity ซึ่งแสดงให้เห็นว่าตํารับยาทั้ง 2 รูปแบบ ไม่ก่อให้เกิดความระคายเคืองต่อผิวหนัง การศึกษากลไกต้านการอักเสบของยาสมานแผลโดยใช้วิธี carrageenan- induced paw edema model ในหนูทดลอง Wistar rats จากการทา T-YaSP และ YaSP บริเวณ อุ้งเท้าหนูทดลอง พบว่า สามารถยับยั้งการบวมของอุ้งเท้าได้อย่างมีนัยสําคัญ (p< 0.05) ตั้งแต่ เวลา 1 ชั่วโมง หลังการฉีด Carrageenan ซึ่งใกล้เคียงกับฤทธิ์ยับยั้งการบวมของอุ้งเท้าในหนู ทดลองที่ได้รับการรักษาด้วย phenylbutazone ระดับของตัวชี้วัดของการอักเสบและภาวะเครียด ออกซิเดชั่นในเนื้อเยื่ออักเสบ ได้แก่ malondialdehyde (MDA), nitric oxide (NO) และ myeloperoxidase (MPO) ได้รับการตรวจสอบโดยใช้ enzyme-linked immunosorbent assay (ELISA) พบว่า กลุ่มที่ได้รับการรักษาด้วย T-YaSP และ YaSP มีระดับของตัวชี้วัดเหล่านี้ลดลง อย่างมีนัยสําคัญ ซึ่งเทียบเท่าได้กับกลุ่มที่ได้รับการรักษาด้วย phenylbutazone นอกจากนี้ ผล ของการศึกษาฤทธิ์ต้านการอักเสบในครั้งนี้ ยังพบว่า การรักษาด้วย T-YaSP และ YaSP มีระดับของ pro-inflammatory cytokines ได้แก่ tumor necrosis factor alpha (TNF-alpha), Interleukin 1 beta (IL-1beta) และ prostaglandin E2 (PGE2) และระดับของ inflammatory enzymes inducible nitric oxide synthase (iNOS) a cyclooxygenase-2 (COX-2) ลดลงอย่างมีนัยสําคัญในเนื้อเยื่ออุ้งเท้าอักเสบ จากการศึกษาสามารถสรุปได้ว่า T-YaSP และ YaSP อาจจะส่งเสริมกระบวนการหายของแผลได้ ซึ่งลดระยะการอักเสบในกระบวนการหาย ของแผลโดยยับยั้งการสร้างไนตริกออกไซด์จากเซลล์ macrophages หรือเป็นผลมาจากการ ลดลงของระดับ inflammatory cytokines และ inflammatory enzymes การประเมินคุณสมบัติต่อการหายของแผลและกลไกการออกฤทธิ์ของตํารับยา สมานแผล ซึ่งแบ่งหนูเป็น 6 กลุ่ม กลุ่มละ 9-10 ตัว ซึ่งได้รับการทาสารทดสอบบริเวณแผลตาม กลุ่มการทดลองแบบวันเว้นวัน โดย 2 กลุ่มแรก ได้รับการรักษาด้วย vehicle ของ T-YaSP และ YaSP ในขณะที่อีก 2 กลุ่ม ได้รับการรักษาด้วยยาน้ํามันทองนพคุณ ซึ่งใช้เป็นยาควบคุมบวก ของ T-YaSP และยาขี้ผึ้ง Solcoseryl ซึ่งใช้เป็นยาควบคุมบวกของ YaSP และ 2 กลุ่มสุดท้าย ได้รับการรักษาด้วย T-YaSP และ YaSP ร้อยละการหดตัวของแผลประเมินผลในวันที่ 3, 5, 7, 9 และ 11 ระดับของ transforming growth factor beta-1 (TGF-beta1), vascular growth factor (VEGF), collagen type 1, collagen type III และลักษณะทางจุลพยาธิวิทยาของเนื้อเยื่อแผล ประเมินผลในวันที่ 7 และ 11 หลังรักษาในแผลปกติ และประเมินผลในวันที่ 11 หลังการรักษา ในแผลเบาหวาน พบว่า ร้อยละการหดตัวของแผลและการลดลงของพื้นที่แผลแตกต่างกันอย่าง มีนัยสําคัญ (p<0.05) ระหว่างหนูเบาหวานและหนูปกติ ในขณะที่กลุ่มที่ได้รับการรักษาด้วย T-YaSP และ YaSP มีการลดลงของพื้นที่แผลมากกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมที่ได้รับ vehicle นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงของระดับปัจจัยการเจริญเติบโต ได้แก่ TGF-beta1 และ VEGF และระดับของ collagen I และ III ในกลุ่มที่ได้รับการรักษาด้วย T-YaSP และ YaSP สามารถเทียบเคียงได้กับกลุ่มควบคุมบวก จากผลการศึกษาในครั้งนี้ แสดงให้เห็นว่า T-YaSP และ YaSP เป็นผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติซึ่งมีความสามารถในการรักษาได้ทั้งแผลปกติและแผล เบาหวาน ยาสมานแผลมีคุณสมบัติในการส่งเสริมการหายของแผลที่ผิวหนังได้ อาจจะเป็นผลมาจากการยับยั้งระยะการอักเสบที่มากและนานเกินไป อีกทั้งยังสามารถส่งเสริมระยะการแบ่ง เซลล์และระยะการปรับรูปร่างในแผลเฉียบพลันได้
รายละเอียด: ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (การแพทย์แผนไทย), 2562
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19567
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:190 Thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
437281.pdf6.07 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons