กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19556
ชื่อเรื่อง: การผลิตชีววัสดุพอลิเมอร์ด้วยกระบวนการไมโครบับเบิลสำหรับวิศวกรรมเนื้อเยื่อกระดูก
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Fabrication of Polymeric Biomaterials Based on Microbubble Process for Bone Tissue Engineering
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: กัลยาณี คุปตานนท์
ธัญชนก ปริวัตรพันธ์
Faculty of Engineering Mining and Materials Engineering
คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และโลหะวิทยา
คำสำคัญ: วิศวกรรมเนื้อเยื่อ;วิศวกรรมชีวเวช
วันที่เผยแพร่: 2019
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
บทคัดย่อ: from OPS and OPT through SSF process was 0.12 Baht/g-LA. The repeated SSF was performed for five cycles for efficient utilization of OPT. The LA production by L. acidophilus TISTR 1338 using this strategy remained high at 63.05±0.44, 71.41±1.07, 67.21±1.71, 56.21±1.67 and 50.48+0.47 g/L, respectively. The recovery of lactic acid using strong base anion resin of Amberlite IRA-402 was performed. The adsorption isotherms were closely predicted by the Freundlich model. The fermentation broth containing lactate was loaded onto the column adsorption at the flow rate of 2.0 mL/min and desorbed by 1 M HCl at the flow rate of 2.0 mL/min resulted in percent recovery of 24.1% from fermentation broth. In addition, this study has explored the possibility to use OPT-PA as a carrier for immobilization of cellulase enzyme by physical adsorption resulting in immobilization efficiency of 79.06%. Comparative evaluation of the free and immobilized enzyme showed that the immobilized enzyme was more thermostable than the free form. This study has provided a promising strategy for efficient use of cellulosic agricultural wastes for production of organic acids and immobilization of enzyme.
Abstract(Thai): โครงร่างมิติ (3D) เป็นสิ่งที่น่าสนใจสําหรับงานทางด้านวิศวกรรมเนื้อเยื่อกระดูก โครงร่าง แบบสามมิติที่ประกอบไปด้วยรูพรุนสร้างจากเทคนิคไมโครบับเบิลนั้นได้ถูกนําเสนอสําหรับการ ประยุกต์ใช้งานวิศวกรรมเนื้อเยื่อกระดูก โครงร่างแบบสามมิติแบบที่มีรูพรุนถูกสร้างขึ้นโดยการใช้ อัตราการไหลของอากาศที่แตกต่างกัน: 20, 100, 200 และ 300 มิลลิลิตร/ นาที ตามลําดับ นอกจากนี้การนําชีววัสดุชนิดต่างๆ มาใช้ในงานวิศวกรรมเนื้อเยื่อถือว่ามีประโยชน์อย่างยิ่ง ในงานวิจัย นี้ยังมีการสร้างโครงร่างรองรับเซลล์แบบผสม (PVA/Silk) ที่ความเข้มข้นของสารละลายไหมแตกต่าง กัน 0, 1, 3 และ 5% w/v ตามลําดับ สัณฐานวิทยาของโครงร่างผ่านการวิเคราะห์ด้วยกล้องจุลทรรศน์ อิเลคตรอนแบบส่องกราด มีการประเมินสมรรถนะทางกายภาพ พฤติกรรมการบวมและสมบัติเชิงกล ของโครงร่าง จากนั้นทําการเพาะเลี้ยงเซลล์ด้วยเซลล์สร้าง osteoblast การศึกษาประสิทธิภาพทาง ชีวภาพโดยการประเมินการเพิ่มจํานวนของเซลล์ การสังเคราะห์โปรตีน และกิจกรรมอัลคาไลน์ฟอส ฟาเทส โครงร่างที่อัตราการไหล 100 มิลลิลิตร/นาที แสดงโครงสร้างรูพรุนแบบลําดับชั้นมีขนาดเซลล์ และขนาดรูพรุนที่มีขนาดใหญ่ และรูพรุนที่เชื่อมต่อกัน ซึ่งส่งผลต่อพฤติกรรมการบวม และสมบัติ เชิงกลที่เหมาะสําหรับวิศวกรรมเนื้อเยื่อกระดูก นอกจากนี้ยังมีสมบัติทางชีวภาพที่มีประสิทธิภาพ โครงร่างที่ความเข้มข้นไหม 5% w/v พบว่ามีการปกคลุมของไหมอยู่ทั่วทั้งชิ้นงาน และมีลักษณะ จําลองที่คล้ายคลึงกับโครงสร้างภายนอกเซลล์ของมนุษย์ มีสมบัติเชิงกลที่เป็นเอกลักษณ์ และมี ประสิทธิภาพในการเพิ่มจํานวนของเซลล์ที่ได้เพาะเลี้ยงมากที่สุด ดังนั้นโครงร่างที่อัตราการไหล 100 มิลลิลิตร/นาที และโครงร่างที่ความเข้มข้นไหม 5%w/w แสดงให้เห็นถึงความมีประสิทธิภาพ และ เหมาะสําหรับการนําไปประยุกต์ใช้งานทางด้านวิศวกรรมเนื้อเยื่อกระดูก
รายละเอียด: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (วิศวกรรมเหมืองแร่และวัสดุ), 2562
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19556
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:235 Thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
435399.pdf7.35 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons