กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19535
ชื่อเรื่อง: | การศึกษาประสิทธิภาพของถังปฏิกรณ์ชีวภาพเมมเบรนแบบไร้อากาศ : กรณีศึกษาน้ำชะมูลฝอย |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The Performance of Anaerobic Membrane Bioreactor (AnMBR) : A Case Study of Leachate Removal |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | วัสสา คงนคร จิราวรรณ ดีเบา Faculty of Engineering Civil Engineering คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา |
คำสำคัญ: | น้ำชะขยะ การบำบัด วิธีทางชีวภาพ;น้ำเสีย การบำบัด วิธีทางชีวภาพ;Green Library |
วันที่เผยแพร่: | 2019 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
บทคัดย่อ: | This research had studied the efficiency of anaerobic membrane bioreactor (AnMBR) for leachate treatment. The system was operated at different organic loading rates (OLR) at 3, 6, 8 and 12 kg COD/m day. The results found that the COD removal efficiencies highest biogas production was found at the OLR of 12 kgCOD/m.d, high degradation and accumulation volatile fatty acids resulted in high CH, production rates. The biogas production of 18.87 L/d and CH, production of 0.33+0.07 L CH./g CODcmoved were obtained by using OLR 12 kgCOD/mod. For the relationship between ORP and VFA, there was no significant difference in the organic loading rate. However, ORP can specify the range of the production of VFA. The ORP value was in the range of -340 to -347 mV for the highest VFA production. The ORP value was in the range -304 to -317 mV for the minimum VFA production. For the characterization of membrane foulants, the major foulant was the blockage of the cake layer or accumulation at the surface. |
Abstract(Thai): | งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาประสิทธิภาพของระบบถังปฏิกรณ์ชีวภาพเมมเบรนแบบ ไร้อากาศในการบําบัดน้ําชะมูลฝอย โดยทําการเดินระบบที่อัตราภาระบรรทุกสารอินทรีย์ 3 6 8 และ 12 กิโลกรัมซีโอดีต่อลูกบาศก์เมตรต่อวัน ซึ่งจากการศึกษาพบว่า ประสิทธิภาพการบําบัดซีโอ ดีของแต่ละอัตราภาระบรรทุกสารอินทรีย์เป็นร้อยละ 95.91 95.99 98.03 และ 96.46 ตามลําดับ โดย อัตราภาระบรรทุกสารอินทรีย์ 12 กิโลกรัมซีโอดีต่อลูกบาศก์เมตรต่อวัน มีประสิทธิภาพสูงสุดใน การผลิตก๊าซชีวภาพ เนื่องจากเกิดการย่อยสลายและสะสมของกรดอินทรีย์ระเหยง่ายในปริมาณที่ สูงส่งผลให้อัตราการผลิตก๊าซมีเทนเพิ่มสูงขึ้น โดยสามารถผลิตก๊าซชีวภาพได้ 18.87 ลิตรต่อวัน และศักยภาพในการผลิตก๊าซมีเทนเท่ากับ 0.330.07 ลิตรมีเทนต่อกรัมซีโอดี สําหรับความสัมพันธ์ ของค่า ORP กับ VFA ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญของแต่ละอัตราภาระบรรทุกสารอินทรีย์ แต่อย่างไรก็ตามค่า ORP สามารถระบุช่วงสําหรับการสร้าง VFA ซึ่งรวมถึงการผลิต VFA สูงสุด และบ่งบอกถึงขอบเขตของการผลิต VFA น้อยสุดได้ ซึ่งค่า ORP จะอยู่ในช่วง 340 ถึง -347 มิลลิโวลต์ สําหรับการผลิต VFA ที่มีค่าสูงสุดและค่า ORP จะอยู่ในช่วง -304 ถึง 317 มิลลิโวลต์ สําหรับการผลิต VFA น้อยสุด สําหรับกลไกการอุดตันที่ผิวเมมเบรน จากการเดินระบบที่ค่าฟลักซ์ ลดลงเป็นการอุดตันของการสะสมและทับถมของตะกอนที่ผิวหน้าเมมเบรน |
รายละเอียด: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม), 2562 |
URI: | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19535 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | 220 Thesis |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
434705.pdf | 1.33 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License