กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19512
ชื่อเรื่อง: | การศึกษาระบบการผลิต และการดำรงชีพของครัวเรือนเกษตรกรชาวสวนยางพาราขนาดเล็ก ภายใต้ระบบการทำสวนยางพาราร่วมกับกิจกรรมทางการเกษตรอื่นในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และสุราษฎร์ธานี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The study of production system and livelihood of smallholder rubber households under rubber system with other agricultural activities in Prachuap Khiri Khan, Chumphon, and Surat Thani |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | บัญชา สมบูรณ์สุข อัครพล ยินเจริญ Faculty of Natural Resources (Agricultural Development) คณะทรัพยากรธรรมชาติ ภาควิชาพัฒนาการเกษตร |
คำสำคัญ: | ยางพารา การผลิต ไทย (ภาคใต้);ขาวสวน ภาวะเศรษฐกิจ ไทย (ภาคใต้) |
วันที่เผยแพร่: | 2019 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
บทคัดย่อ: | This paper aimed to examine the production system and livelihood of rubber smallholder households under rubber production system along with other agricultural activities in Prachuab Khiri Khan, Chumphon, and Surat Thani. A sample group of 399 rubber farmers in those areas was involved. A structured interview was used for data collection. Frequency and percentage were used for data analysis. The results of this study for the major statuses of economy and society for the whole images of rubber farmer households in these 3 provinces indicated that farmers had an average age quite high at 52.52 years old, had quite a low education level and finished primary education for 52.80%, had the longest experience of working with rubber plantations at 23.56 years, and had an average of rubber plantation holding at 13.65 rai/household. For incomes from different cultivations, the study found that farmers earned averages income from the rubber monoculture, rubber-oil palm growing, rubber-fruit tree farm, rubber-rice farm, and rubber-livestock at 223,413 baht/year, 478,643.64 baht/year, 431,442 baht/year, 179,741 baht/year, 256,421 baht/year, respectively. For the production, the study found that farmers still used the old production technology for rubber and oil palm. Even the financial cost was quite high in term of livelihood, the study found that farmers still lacked adaptation for self-development and easily had vulnerability due to changing conditions of unstable weather and price fluctuation. Then for the linkage among statuses of economy, society, and "rubber production" with sustainable "livelihood of smallholding rubber farming" system along with oil palm growing under rubber production system along with other agricultural activities, the study indicated that economic factors such as price of production, cost of production factors, incomes, and saving had effects on financial cost level of households and vulnerability of the production system. Socials factors such as knowledge, educational level, and experiences had relations with social capital and "adaptation of rubber farmers". |
Abstract(Thai): | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระบบการผลิต และการดํารงชีพของครัวเรือน เกษตรกรชาวสวนยางพาราขนาดเล็ก ภายใต้ระบบการทําสวนยางพาราร่วมกับกิจกรรมทางการ เกษตรอื่น ในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และสุราษฎร์ธานี โดยทําการศึกษาจากเกษตรกรชาวสวน ยางพาราในพื้นที่ดังกล่าว จํานวน 399 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง (Structured Interview) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ผลการศึกษา สถานภาพที่สําคัญทางเศรษฐกิจและสังคมในภาพรวมของครัวเรือนเกษตรกรชาวสวนยางทั้ง 3 จังหวัด พบว่าเกษตรกร อายุเฉลี่ยค่อนข้างสูงคือเฉลี่ย 52.52 ปี มีระดับการศึกษาไม่สูงมากนัก อยู่ในระดับประถมศึกษาร้อยละ 52.80 มีประสบการณ์การทําสวนยางพาราที่ยาวนานคือ 23.56 ปี และมีพื้นที่สวนยางพาราที่ถือครองเฉลี่ยรวม 13.65 ไร่ต่อครัวเรือน ในส่วนของรายได้เฉลี่ยต่างๆ พบว่า มีรายได้จากการทําสวนยางพาราเชิงเดี่ยวเฉลี่ยรวม 223,413 บาท/ปี จากการทําสวนยางพารา และปาล์มน้ํามันเฉลี่ยรวม 478,643.64 บาท/ปี จากการทําสวนยางพาราร่วมกับไม้ผล 431,442 บาท/ปี จากการทําสวนยางพาราร่วมกับการทํานา 179,741 บาท/ปี และรายได้จากการทําสวน ยางพาราร่วมกับการเลี้ยงสัตว์ 256,421 บาท/ปี ในด้านการผลิตพบว่าเกษตรกรยังคงทําการเกษตร ด้วยการใช้เทคโนโลยีการผลิตแบบเดิมๆ แม้ว่าทุนทางการเงินจะสูง แต่พบว่าในแง่การดํารงชีพ เกษตรกรในพื้นที่ศึกษายังคงขาดการปรับตัวในส่วนของการพัฒนาตนเอง และมีความอ่อนไหวและ เปราะบางได้ง่ายต่อภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลง ทั้งด้านภูมิอากาศที่แปรปรวนและภาวะราคาที่ไม่ แน่นอน ดังนั้นความเชื่อมโยงระหว่างสภาพเศรษฐกิจ สังคม และการผลิตยางพารา กับการดํารงชีพ อย่างยั่งยืนของระบบการทําฟาร์มสวนยางพาราขนาดเล็ก ภายใต้ระบบการทําสวนยางพาราร่วมกับ กิจกรรมทางการเกษตรอื่น พบว่าปัจจัยทางเศรษฐกิจ ได้แก่ ราคาผลผลิตและราคาปัจจัยการผลิต รายได้และเงินออม มีผลกระทบต่อระดับทุนทางการเงินของครัวเรือนและความเปราะบางของระบบ การผลิต ปัจจัยทางสังคม ได้แก่ ความรู้ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ เกี่ยวข้องกับทุนทางสังคม และการปรับตัวเกษตรกรชาวสวนยางพารา เพื่อลดข้อจํากัดในการดํารงชีพชาวสวนยางพาราขนาด เล็ก และปัจจัยทางการผลิต ได้แก่ การใช้เทคโนโลยีในกระบวนการผลิตที่เหมาะสม จะส่งผลต่อ ประสิทธิภาพของกระบวนการผลิต อันนําสู่การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ที่ส่งผลต่อทุนทาง ธรรมชาติเพื่อการดํารงชีพ ซึ่งรูปแบบการเชื่อมโยงระหว่างการผลิตและการดํารงชีพ ประกอบด้วย ระบบย่อยสี่ระบบที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน ได้แก่ ระบบการผลิต ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ ระบบ กลยุทธ์ และระบบความสําเร็จการดํารงชีพ |
รายละเอียด: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (พัฒนาการเกษตร), 2562 |
URI: | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19512 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | 520 Thesis |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
435563.pdf | 2.82 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License