กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19478
ชื่อเรื่อง: การศึกษาการเตรียมโปรตีนไฮโดรไลเสต และกิจกรรมการต้านออกซิเดชันของเครื่องในปลาจากโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปสัตว์น้ำ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Studies on Preparation of Protein Hydrolysate and Antioxidant Activity of Fish Viscera from Fish Processing Industry
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุทธวัฒน์ เบญจกุล
วิโรจน์ ยูรวงศ์
วรพนิต จันทร์สุวรรณ์
Faculty of Agro-Industry (Food Technology)
คณะอุตสาหกรรมเกษตร ภาควิชาเทคโนโลยีอาหาร
คำสำคัญ: อุตสาหกรรมแปรรูปสัตว์น้ำ;การแปรรูปสัตว์น้ำ
วันที่เผยแพร่: 2554
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
บทคัดย่อ: Production of protein hydrolysate from bigeye snapper (Priacanthus tayenus) viscera, a by-product from frozen surimi production industry, by enzymatic digestion and isolation and characterization of antioxidant peptides from bigeye snapper viscera hydrolysate were investigated. Protein hydrolysates were prepared by hydrolyzing defatted bigeye snapper viscera using flavourzyme (pH 7, 50oC), alcalase (pH 8, 50oC) or pepsin (pH 2, 37oC) at the enzyme concentration of 2.0 % (w/w, enzyme to viscera). It was found that the highest degree of hydrolysis (DH) of protein hydrolysate was observed in the flavourzyme digestion (22.26 % DH). DH of protein hydrolysate increased with increasing amount of flavourzyme concentration from 1.0% to 2.0% (p0.05). Protein hydrolysates of bigeye snapper viscera were prepared by using 2% of flavourzyme to obtain the DH of 5%, 10% and 20% and antioxidant activities including ABTS radical scavenging activity and ferric reducing antioxidant power (FRAP) as well as some protein functional properties were determined. It was found that antioxidant activities of bigeye snapper viscera hydrolysate increased with increasing of % DH. In addition, the hydrolysate of all DHs had protein solubility value above 95% over the pH range between 2 - 12. Emulsion activity index (EAI), emulsion stability index (ESI), foaming capacity and foaming stability of bigeye snapper viscera hydrolysate at all DHs tested were generally varied but all parameters tended to decrease with increasing pH. The isolation of antioxidant peptides from bigeye snapper viscera hydrolysate with 30% DH by using gel filtration chromatography with Sephadex G-25 resin found that peptide with the molecular weight between 275 Da to 14,791 Da exhibited the ABTS radical scavenging activity, whereas peptide fraction with molecular weight of 912 Da had highest antioxidant activity. The stability of the highest antioxidant activity peptide against pHs and heating was studied. It was noticed that ABTS radical scavenging activity of peptide fractions was not changed over the incubation at the pH range of 2-10 for 30 min (p>0.05) and over the heating at the temperature of 100 oC for 60 min. For the heating at 121 oC, antioxidant activity was not changed at the first 30 min (p>0.05) but with further the heating time to 60 min the antioxidant activity was increased (p<0.05). Isolation of antioxidant peptides from bigeye snapper viscera hydrolysate with 30% DH was performed by using membrane ultrafiltration with the molecular weight cut off (MWCO) of 1 and 3 kDa. It was observed that peptide fraction with molecular weight between 1-3 kDa (fraction II) and peptide fraction with molecular weight lower than 1 kDa (fraction III) had ABTS radical scavenging activity, metal chelating activity and hydroxyl radical scavenging activity higher than the peptide fraction with molecular weight higher than 3 kDa (fraction I). This study showed that bigeye snapper viscera could be used as a raw material for the production of good antioxidant peptides by enzymatic digestion process and the peptides could be applied in various foods and other products due to the high stability of peptides against the processing conditions as well as their adequate functional properties.
Abstract(Thai): การผลิตโปรตีนไฮโดรไลเสตโดยใช้เครื่องในปลาตาหวานหนังหนาซึ่งเป็นวัสดุเศษเหลือ จากการผลิตซูริมิแช่แข็งโดยการย่อยด้วยเอนไซม์ รวมถึงการแยกและจำแนกคุณลักษณะของเปปไทด์ที่มี กิจกรรมการต้านออกซิเดชันจากโปรตีนไฮโดรไลเสต ซึ่งเตรียมโปรตีนไฮโดรไลเสตในสารละลายบัฟเฟอร์ ด้วยอัตราส่วนของเครื่องในปลาที่ผ่านการกำจัดไขมันด้วยไอโซโพรพานอลต่อบัฟเฟอร์เท่า 1 ต่อ 8โดยการ ย่อยด้วยเอนไซม์ฟลาโวไซม์ (พีเอช 7 ที่ 50 องศาเซลเซียส) แอลคาเลส (พีเอช 8 ที่ 50 องศาเซลเซียส) หรือ เปปซิน (พีเอช 2 ที่ 37 องศาเซลเซียส) ใช้เอนไซม์ความเข้มข้นร้อยละ 2.0 (โดยน้ำหนักเอนไซม์ต่อน้ำหนัก เครื่องในปลา) พบว่าค่าระดับการย่อยสลาย (degree of hydrolysis, DH) ของโปรตีนไฮโดรไลเสตที่เตรียม ได้จากเอนไซม์ฟลาโวไซม์มีค่าระดับการย่อยสลายสูงสุด (ร้อยละ 22.26) และเมื่อความเข้มข้นของ เอนไซม์ฟลาโวไซม์ที่ใช้ในการย่อยสูงขึ้นทำให้ค่าระดับการย่อยสลายของโปรตีนไฮโดรไลเสตเพิ่มขึ้น เมื่อ ปริมาณเอนไซม์ที่ใช้เพิ่มมากขึ้นจากร้อยละ 1.0 ถึงร้อยละ 2.0 (p0.05) เมื่อนำโปรตีนไฮโดรไลเส ตจากเครื่องในปลาตาหวานหนังหนาซึ่งย่อยด้วยเอนไซม์ฟลาโวไซม์ความเข้มข้นร้อยละ 2 ให้มีค่าระดับการ ย่อยสลายร้อยละ 5, 10 และ 20 มาทดสอบกิจกรรมการต้านออกซิเดชัน ABTS radical scavenging activity และ ferric reducing antioxidant power (FRAP) รวมทั้งสมบัติเชิงหน้าที่ของโปรตีน พบว่าโปรตีนไฮโดรไล เสตมีกิจกรรมการต้านออกซิเดชันสูงขึ้นเมื่อค่าระดับการย่อยสลายเพิ่มขึ้น และโปรตีนไฮโดรไลเสตที่ทุกค่า ระดับการย่อยสลายมีค่าความสามารถในการละลายมากกว่าร้อยละ 95 ในช่วงพีเอช 2 ถึง 12 และพบว่าค่า emulsion activity index (EAI), emulsion stability index (ESI), foaming capacity และ foaming stability ของโปรตีนไฮโดรไลเสตที่แต่ละค่าระดับการย่อยสลายมีค่าแตกต่างกัน แต่ทุกค่าการทดสอบมีแนวโน้ม ลดลงเมื่อค่าพีเอชเพิ่มขึ้น และเมื่อนำโปรตีนไฮโดรไลเสตที่มีค่าระดับการย่อยสลายร้อยละ 30 มาแยกเปป ไทด์โดยวิธีเจลฟิลเตรชันโครมาโต กราฟีด้วยเรซินชนิด Sephadex G-25 พบว่าประกอบด้วยเปปไทด์ซึ่งมี น้ำหนักโมเลกุลในช่วง 275 ดาลตัน ถึง 14,791 ดาลตัน และแสดงกิจกรรมการต้านออกซิเดชัน ABTS radical scavenging activity โดยเปปไทด์แฟรกชันซึ่งมีน้ำหนักโมเลกุลเท่ากับ 912 ดาลตัน มีกิจกรรมการ ต้านออกซิเดชันสูงสุด นอกจากนี้เมื่อนำสารละลายเปปไทด์ที่มีกิจกรรมการต้านออกซิเดชัน ABTS radical scavenging activity สูงสุดไปศึกษาความคงตัวต่อความเป็นกรดด่างและความร้อนพบว่ากิจกรรมการต้าน ออกซิเดชัน ABTS radical scavenging activity ของเปปไทด์มีค่าคงที่ เมื่อนำไปบ่มที่พีเอชในช่วงพีเอช 2 ถึง 10 เป็นเวลา 30 นาที (p>0.05) และทนต่อการให้ความร้อนที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 60 นาที แต่เมื่อให้ความร้อนที่อุณหภูมิ 121 องศาเซลเซียส พบว่ากิจกรรมการต้านออกซิเดชันมีค่าคงที่ในช่วง 30 นาทีแรก และมีค่าเพิ่มขึ้นเมื่อให้ความร้อนต่อไปเป็นเวลา 60 นาที (p<0.05) นอกจากนี้เมื่อนำโปรตีน ไฮโดรไลเสตที่มีค่าระดับการย่อยสลายร้อยละ 30 มาแยกเปปไทด์ที่มีกิจกรรมการต้านออกซิเดชันด้วยเมม เบรนอัลตราฟิลเตรชันโดยใช้เมมเบรนซึ่งมี molecular weight cut off ขนาด 1 และ 3 กิโลดาลตัน พบว่าเปป ไทด์ซึ่งมีขนาดในช่วง 1-3 กิโลดาลตัน (fraction II) และเปปไทด์ขนาดเล็กกว่า 1 กิโลดาลตัน (fraction III) มี กิจกรรมการต้านออกซิเดชัน ABTS radical-scavenging activity, metal chelating activity และ hydroxyl radical scavenging activity สูงกว่าเปปไทด์ที่ไม่ผ่านเมมเบรนขนาด 3 กิโลดาลตัน (fraction I) การศึกษานี้ แสดงให้เห็นว่าสามารถนำเครื่องในปลาตาหวานหนังหนามาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเปปไทด์ที่มีกิจกรรม การต้านออกซิเดชันที่ดีได้โดยการย่อยด้วยเอนไซม์ และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในอาหาร หรือผลิตภัณฑ์ อื่นๆ ได้หลากหลาย เนื่องจากเปปไทด์ที่ผลิตได้มีความคงตัวสูงต่อสภาวะในการแปรรูป และมีสมบัติเชิง หน้าที่ที่ดี
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19478
รหัสอื่นๆ: https://tarr.arda.or.th/preview/item/8OFhy6l8d9GjO6NuLPIbd?
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:850 Research

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น