กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19431
ชื่อเรื่อง: การจัดการเรียนรู้แบบเปิดที่ส่งเสริมสมรรถนะการแปลความหมายข้อมูลและการใช้ประจักษ์พยานเชิงวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Learning management in Open Approach for Encouraging Interpret Data and Evidence Scientifically for Grade 5 Students.
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: รัชดา เชาวน์เสฏฐกุล
โนรอัซมา อดุลศรีศิลป์
Faculty of Education (Learning, Teaching, and Curriculum program)
คณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาการเรียนรู้ การสอน และหลักสูตร
คำสำคัญ: การจัดการเรียนรู้แบบเปิด;สมรรถนะการแปลความหมายข้อมูล;การใช้ประจักษ์พยานเชิงวิทยาศาสตร์
วันที่เผยแพร่: 2023
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
บทคัดย่อ: The objectives of this research were to 1) study learning management with an open approach that promotes competencies in data interpretation and use of scientific evidence for Grade 5 Students under Yala Primary Educational Service Area Office 1, 2) investigate the satisfaction towards learning management with open approach in science and 3) study the science learning achievement after knowledge management of open approach. The research was conducted by one-group pretestposttest design. The knowledge management tools in the research were 1) 6 knowledge management plans with an open approach that employed 13 hours in learning management for data collecting, 2) competency questionnaire on data interpretation and use of evidence in science, 3) science learning achievement test on water and 4) Satisfaction questionnaire of students towards the open learning management that promotes the ability to interpret data and use evidence in science. The result indicated that: 1) The students with knowledge management of open approach were encouraged with competencies in data interpretation and using evidence in science after learning management. It was found that the mean was 58.13 that presented the third level of competence. There was a statistical significance level of .01 and when taking each score in all aspects found that the aspect with the highest average score was aspect 1, converting the data presentation into another form (1.23). The aspect with the lowest average score was the aspect 5, assessment of scientific arguments and evidence from various sources (0.37).2) The students with knowledge management of open approach were satisfied at high level ((𝑋̅ =3.93). The open approach can increase attention of student in learning and can be applied in everyday life. 3) After knowledge management of open approach, it shows that students are higher scores and level of academic achievements in science of Grade 5 than the previous score and level with a statistically significant level of .01.
Abstract(Thai): การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการแบบเปิดที่ ส่งเสริมสมรรถนะการแปลความหมายข้อมูลและการใช้ประจักษ์พยานในเชิงวิทยาศาสตร์ สำหรับ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 1 2) ศึกษา ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการแบบเปิดในรายวิชาวิทยาศาสตร์ และ 3) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์หลังได้รับการจัดการเรียนรู้วิธีการแบบเปิด ดำเนินการวิจัยโดยศึกษากลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลอง (One-group pretest-posttest design) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) เครื่องมือที่ใช้ในการจัดการเรียนรู้ คือ (1) แผนการจัดการ เรียนรู้ที่ด้วยวิธีการแบบเปิด จำนวน 6 แผน ใช้เวลาในการจัดการเรียนรู้ 13 ชั่วโมง 2) เครื่องมือที่ใช้ ในการเก็บรวบรวมข้อมูล (1) แบบวัดสมรรถนะการแปลความหมายข้อมูลและการใช้ประจักษ์พยาน ในเชิงวิทยาศาสตร์ (2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ เรื่อง น้ำ (3) แบบ ประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบเปิดที่ส่งเสริมสรรถนะการแป ล ความหมายข้อมูลและการใช้ประจักษ์พยานในเชิงวิทยาศาสตร์ ผลการวิจัย พบว่า 1) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยวิธีการแบบเปิดส่งเสริม ให้มีสมรรถนะการแปลความหมายข้อมูลและการใช้ประจักษ์พยานในเชิงวิทยาศาสตร์ พบว่า มี ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 58.13 อยู่ในสมรรถนะระดับที่ 3 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เมื่อพิจารณา รายด้าน พบว่า ด้านที่มีคะแนนเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านที่ 1 แปลงข้อมูลที่นำเสนอในรูปแบบหนึ่งไปสู่ รูปแบบอื่น ( เท่ากับ 1.23) และด้านที่มีคะแนนเฉลี่ยที่น้อยที่สุด คือ ด้านที่ 5 ประเมินข้อโต้แย้งทาง วิทยาศาสตร์และประจักษ์พยานจากแหล่งที่มาที่หลากหลาย มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.37 2) นักเรียนที่ ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการแบบเปิด มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.93 แสดงว่า การจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการแบบเปิด เพิ่มความสนใจให้กับนักเรียนให้เกิดการเรียนรู้ และ สามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้3) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการแบบเปิดมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์หลังเรียนมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าคะแนนก่อนเรียน อย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
รายละเอียด: ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรและการสอน), 2566
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19431
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:270 Thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
632012010.pdf2 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons