Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19414
Title: การประยุกต์ใช้การจำลองด้วยระบบคอมพิวเตอร์สำหรับการปรับปรุงกระบวนการหยิบบรรจุภัณฑ์ กรณีศึกษา คลังจัดเก็บบรรจุภัณฑ์ โรงงานผลิตอาหารทะเลกระป๋อง
Other Titles: The Application of Computer Simulation Modeling for Improving Order Picking Process Case Study Package Warehouse in Canned Seafood Factory
Authors: นิกร ศิริวงศ์ไพศาล
พัชรพล สุขจำรัส
Faculty of Engineering (Industrial Engineering)
คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
Keywords: Order picking process;Warehouse;Computer simulation;คลังสินค้า แบบจำลองทางคอมพิวเตอร์;โรงงานผลิตอาหารทะเลกระป๋อง
Issue Date: 2023
Publisher: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Abstract: The aim of this research is to apply computer simulation to evaluate factors and propose improvements for the package picking process. Case study package warehouse in canned seafood factory. Through theory and research, researchers started to investigate the constituent factors affecting picking processes, namely the number of lines per order, storage factor, picking path and picking method Factors In the case study, the following factors have a significant effect on the total amount of time spent picking the package. The conditions are then used by the researcher to build an experiment that provides improvement alternatives. It also used factors from the researcher's study paper who did an experiment that changed the existing collecting position to the warehouse's center location. and the picking process evaluates the shortest overall distance between each storage space using a metaheuristic. It includes a hill-climbing algorithm and a simulated annealing process to minimize total distance traveled. This is due to the fact that travel time is directly proportional to distance traveled. The results indicate that the number of items picked grows as the volume of items to be picked increases for every feasible combination of factors. There's a straightforward consensus that the total picking time all the packages has also increased. And class-based storage conditions, applying the hill climbing picking sequence, locating the collection point in the center of the warehouse (the midpoint), and using the by-order picking method, compared to the current average total time spent picking packages. The average time may be decreased from 33.28 minutes per leaf to 6.73 minutes per leaf, a drop of 26.55 minutes per leaf or 79.78%.
Abstract(Thai): งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์ประยุกต์ใช้แบบจำลองสถานการณ์ด้วยระบบคอมพิวเตอร์เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยและนำเสนอทางเลือกเพื่อปรับปรุงกระบวนการหยิบบรรจุภัณฑ์ กรณีศึกษาคลังจัดเก็บบรรจุภัณฑ์โรงงานผลิตอาหารทะเลกระป๋อง เริ่มศึกษาปัจจัยที่เป็นองค์ประกอบของกิจกรรมการหยิบผ่านทฤษฎีและงานวิจัย ซึ่งได้แก่ ปัจจัยจำนวนรายการต่อใบเบิก ปัจจัยการจัดเก็บ ปัจจัยเส้นทางการหยิบและปัจจัยวิธีการหยิบ ภายใต้สถานการณ์กรณีศึกษาปัจจัยดังกล่าวมีผลต่อระยะเวลาทั้งหมดที่ใช้หยิบบรรจุภัณฑ์อย่างมีนัยสำคัญ จากนั้นผู้วิจัยนำปัจจัยที่ดังกล่าวมาออกแบบการทดลองเพื่อนำเสนอทางเลือกในการปรับปรุง อีกทั้งประยุกต์ใช้ปัจจัยจากบทความวิจัยของผู้วิจัยที่ดำเนินการทดลองปรับเปลี่ยนปัจจัยตำแหน่งของพื้นที่รวบรวมปัจจุบันเป็นตำแหน่งตรงกลางคลัง และปัจจัยลำดับการหยิบประยุกต์ใช้เมตาฮิวริสติกเข้ามาช่วยประเมินการจัดลำดับบนในเรียกใช้ บรรจุภัณฑ์ภายใต้เงื่อนไขการประเมินระยะทางรวมที่สั้นที่สุดระหว่างพื้นที่จัดเก็บในแต่ละรายการ ประกอบไปด้วยอัลกอริทึมการปีนเขา (Hill climbing) และอัลกอริทึมการอบอ่อน (Simulated annealing) ที่ทำให้ระยะทางที่ใช้โดยรวมลดลง เนื่องจากระยะทางที่ใช้ในการเดินทางเป็นสัดส่วนโดยตรงกับเวลาที่ใช้ในการเดินทาง ผลการวิจัยสำหรับทุก ๆ เงื่อนไขที่เป็นไปได้ร่วมกันของแต่ละปัจจัยบ่งชี้ว่าเมื่อปริมาณรายการที่ต้องหยิบมากขึ้น เวลาที่ใช้หยิบบรรจุภัณฑ์ทั้งหมดก็มากขึ้นตาม ๆ กัน ซึ่งเป็นความสอดคล้องกันอย่างตรงไปตรงมา และรูปแบบเงื่อนไขการจัดเก็บ (Storage) แบบ Class-based ใช้การจัดลำดับรายการหยิบ (Picking sequence) ด้วยวิธี Hill climbing กำหนดตำแหน่งจุดรวบรวม (Collecting point) ที่ตำแหน่งกึ่งกลางคลังสินค้า (Mid point) และใช้วิธีการหยิบ (Picking) ทีละใบเรียกใช้บรรจุภัณฑ์ (By-order) เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยเวลาทั้งหมดที่ใช้หยิบบรจุภัณฑ์ในปัจจุบัน สามารถลดระยะเวลาเฉลี่ยจากเดิม 33.28 นาทีต่อใบ เหลือเพียง 6.73 นาทีต่อใบ ลดลงโดยเฉลี่ย 26.55 นาทีต่อใบ หรือลดลงร้อยละ 79.78
Description: วิศวกรรมมหาบัณฑิต (วิศวกรรมโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน), 2566
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19414
Appears in Collections:228 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6410120048.pdf14.87 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons