กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19409
ชื่อเรื่อง: | มาตรการทางกฎหมายไม่ให้เงินเฉลี่ยคืนอยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี ศึกษากรณีสหกรณ์ออมทรัพย์ในจังหวัดสงขลา |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Legal Measures Do Not Allow Refunds to be Subject to Judgement Execution: A Case Study of a Savings Cooperative in Songkhla Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | กฤษรัตน์ ศรีสว่าง กรวิภา ชนะสิทธิ์ Faculty of Law คณะนิติศาสตร์ |
คำสำคัญ: | เงินเฉลี่ยคืน;สหกรณ์ออมทรัพย์;การบังคับคดี |
วันที่เผยแพร่: | 2024 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
บทคัดย่อ: | The Research Legal measures do not allow the average refund to be subject to legal enforcement. A case study of a savings cooperative in Songkhla Province had the purpose of studying the execution and cooperative law and studying the execution in terms of average payback to suggest legal measures to protect the average payback from judgment execution. This is qualitative research that uses document research methods and then uses in-depth interviews to obtain data to analyze the research results that suggest the relevant laws be amended so that the average payback will not be subject to judgment execution. Based on the research results, it was found that the execution of average payback causes various problems, such as the problem of who should have the right to average payback between external creditors or debtors, the problems of the cooperative's right to average payback because cooperatives do not have preference right in average payback, and the problems of the right to seize average payback from external creditors that had bad results for cooperative debtors and external creditors. Therefore, to solve the problem that arises from the fact that the average payback is still under the liability of legal judgment execution, the researcher recommended amending the Cooperative Act, Section 42, and related rules and regulations. |
Abstract(Thai): | งานวิจัยเรื่อง มาตรการทางกฎหมายไม่ให้เงินเฉลี่ยคืนอยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี ศึกษากรณีสหกรณ์ออมทรัพย์ในจังหวัดสงขลา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการบังคับคดีและกฎหมายสหกรณ์ เพื่อศึกษาปัญหาการบังคับคดีจากเงินเฉลี่ยคืนของสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ และเพื่อเสนอแนะมาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองเงินเฉลี่ยคืนจากการถูกบังคับคดี โดยงานวิจัยนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการวิจัยเอกสาร และศึกษาด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก แล้วนำข้อมูลที่ได้มาทำการวิเคราะห์เพื่อเสนอแนะให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องไม่ให้เงินเฉลี่ยคืนอยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีต่อไป จากการศึกษาวิจัยพบว่า การที่เงินเฉลี่ยคืนอยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี ก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมา ทั้งปัญหาข้อกฎหมายที่ว่าสิทธิในเงินเฉลี่ยคืนควรเป็นของบุคคลใด อันเนื่องมาจากการที่ยังไม่มีการกำหนดอย่างชัดเจนว่าเจ้าหนี้ภายนอกควรมีสิทธิในการอายัดเงินเฉลี่ยคืนหรือควรเป็นสิทธิของลูกหนี้ ปัญหาสิทธิในการนำเงินเฉลี่ยคืนมาหักกลบลบหนี้ของลูกหนี้ที่มีต่อสหกรณ์ อันเนื่องมาจากการที่สหกรณ์ไม่ได้มีบุริมสิทธิเหนือเงินเฉลี่ยคืนดังกล่าวแต่อย่างใด และปัญหาสิทธิของเจ้าหนี้ภายนอกในการอายัดเงินเฉลี่ยคืน เนื่องจากการอายัดดังกล่าวอาจส่งผลเสียต่อสหกรณ์ สมาชิก ตลอดจนตัวเจ้าหนี้ภายนอกเอง ดังนั้นเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากการที่เงินเฉลี่ยคืนยังคงอยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี จึงเสนอแนะให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติสหกรณ์ มาตรา 42 และระเบียบของสหกรณ์ ตลอดจนข้อบังคับต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องต่อไป |
รายละเอียด: | สารนิพนธ์ นิติศาสตรมหาบัณฑิต (นิติศาสตร์) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2567 |
URI: | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19409 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | 870 Minor Thesis |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
6511321001.pdf | ฉบับปรับปรุงเผยแพร่วันที่ 15 กรกฎาคม 2567 | 1.19 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License