Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19349
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมการปฏิบัติการพยาบาล ภาวะผู้นำใฝ่บริการของหัวหน้าหอผู้ป่วยและสมดุลชีวิตการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ หอผู้ป่วยอายุรกรรมโรงพยาบาลตติยภูมิ ภาคใต้
Other Titles: The Correlation between Nursing Practice Environment, Servant Leadership of Head Nurses and Work-life Balance of Registered Medical Nurses in Southern Thailand Tertiary Hospitals.
Authors: ปรัชญานันท์ เที่ยงจรรยา
สุนารี เทพสง
Faculty of Nursing (Nursing Administration)
คณะพยาบาลศาสตร์ สาขาวิชาการบริหารทางการพยาบาล
Keywords: สภาพแวดล้อมการปฏิบัติการพยาบาล;ภาวะผู้นำใฝ่บริการของหัวหน้าหอผู้ป่วย;สมดุลชีวิตการทำงาน;หอผู้ป่วยอายุรกรรม
Issue Date: 2023
Publisher: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Abstract: This research aimed to study the level of work-life balance and to study the relationship between nursing practice environment, servant leadership of head nurses and work-life balance among professional nurses in medical wards, Southern Thailand tertiary hospitals. The sample comprised 226 registered nurses working in medical wards. Data collection tools consisted of 1) demographic questionnaire, 2) work-life balance questionnaire, 3) nursing practice environment questionnaire, and 4) servant leadership of the head nurses questionnaire. The content validity of the latter three questionnaires were .95, .96 and .92 respectively. The reliability of the questionnaire 2, 3, and 4 were .93, .91 and .98, respectively. Data were analyzed using descriptive statistics, Pearson’s product-moment coefficient and Spearman correlation coefficient. The results showed that the level of professional nurses' work-life balance was at a moderate level (M = 3.33, SD = 0.42). The relationship between nursing practice environment and work-life balance was significantly positive at a moderate level (r = .50, p < .01) and the relationship between Servant leadership of head nurses and work-life balance was significantly positive at the moderate level (rs = .43, p < .01). In conclusion, nursing administrators can use the results of this study to promote nursing practice environment and the servant leadership among the head nurses in order to increase the work-life balance of professional medical nurses.
Abstract(Thai): การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับสมดุลชีวิตการทํางานและศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมการปฏิบัติการพยาบาล ภาวะผู้นําใฝ่บริการของหัวหน้าหอผู้ป่วย และสมดุลชีวิตการทํางานของพยาบาลวิชาชีพ หอผู้ป่วยอายุรกรรมโรงพยาบาลตติยภูมิ ภาคใต้ กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานหอผู้ป่วยอายุรกรรม จํานวน 226 คน เครื่องมือที่ใช้ใน การเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม ประกอบด้วย 1) ข้อมูลทั่วไป 2) สมดุลชีวิตการทํางาน 3) สภาพแวดล้อมการปฏิบัติการพยาบาล และ 4) ภาวะผู้นําใฝ่บริการของหัวหน้าหอผู้ป่วย แบบสอบถามส่วนที่ 2, 3 และ 4 มีค่าความตรงเชิงเนื้อหา เท่ากับ 95 96 และ 92 ตามลําดับ และมี ค่าความเที่ยงจากการหาสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (Cronbach' s Alpha Coefficient) เท่ากับ .93 91 และ 98 ตามลําดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ของเพียร์สันและสเปียร์แมน ผลการวิจัยพบว่า ระดับสมดุลชีวิตการทํางานของพยาบาลวิชาชีพโดยรวมอยู่ใน ระดับปานกลาง (M = 3.33, SD = 0.42) ความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมการปฏิบัติการพยาบาล กับสมดุลชีวิตการทํางาน มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลางอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (r = .50, p < .01) และความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นําใฝ่บริการของหัวหน้าหอผู้ป่วยกับสมดุลชีวิต การทํางาน มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลางอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (r = 43, p < .01) ผลการวิจัยผู้บริหารทางการพยาบาล สามารถนําผลการวิจัยนี้ไปใช้เป็นแนวทางใน การพัฒนาสภาพแวดล้อมการปฏิบัติการพยาบาล และภาวะผู้นําใฝ่บริการของหัวหน้าหอผู้ป่วย เพื่อเพิ่มสมดุลชีวิตการทํางานของพยาบาลวิชาชีพ
Description: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารทางการพยาบาล), 2566
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19349
Appears in Collections:649 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6310420033.pdf3.05 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons