Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19348
Title: การเปลี่ยนแปลงลักษณะสัณฐานสรีรวิทยาของใบต่อปริมาณสารพฤกษเคมี ในใบพืชกระท่อม (Mitragyna speciosa (Korth.) Havil.)
Other Titles: Changes in Morpho-Physiological Traits on Phytochemical Contents in Kratom (Mitragyna speciosa (Korth.) Havil.) Leaves
Authors: ระวี เจียรวิภา
เวธนี พรหมจันทร์
Faculty of Natural Resources (Plant Science)
คณะทรัพยากรธรรมชาติ ภาควิชาพืชศาสตร์
Keywords: พืชสมุนไพร;การจัดการปุ๋ย;สรีรวิทยาของใบ;พืชกระท่อม;การเสื่่อมสภาพของใบ
Issue Date: 2023
Publisher: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Abstract: The national master plan for developing Thai herbs policy promotes using local medicinal plants that have potential benefits. Recently, Kratom leaf (Mitragyna speciosa) was listed as a legal herb and has become one of the most demanded herbs in the Thai local medicinal and consumer market. Thus, in order to supply the market demand with high quality, phytochemical constituents in the leaves need to be consistent with the quality standards. This study aimed to compare the growth development stage and phytochemical constituents in the leaves under different fertilizer applications. The first experiment was conducted with four different chemical fertilization (N-P-K) rates: nil fertilization (N0) (control); 15-15-15 (N15); 21-0-0 (N21); 15-15-15 plus foliar fertilizer (N15+15). It was found that the fertilizer application of N15+15 resulted in increased leaf weight, leaf area, plant height, stem diameter, and canopy width, enhancing the photosynthetic rate. For the mitraginine changes, it was found that development of the third leaf pair the highest mitraginine content of 4.54 %w/w. The biomass accumulation in plant parts of Kratom were not different. All parts of the plant were accumulated in similar amounts in all treatments. Nutrient accumulation in the leaves was significantly different in the different fertilization rates. In all three stages of leaf development, N15 fertilization had high nitrogen and potassium accumulations, while fertilizing N15+15 had an increased accumulation of phosphorus in the third and fifth leaf pair stages. On the other hand, the control treatment (N0) and N21 resulted in the accumulation of calcium by plants and the highest magnesium in all three developmental stages of Kratom. The experimental results approved that appropriate fertilizer application was vital to enhance leaf growth, leaf production, and phytochemical contents in the fresh leaves of Kratom plants. After harvesting the kratom leaves, they tend to deteriorate rapidly during storage. Thus, with an objective to address the issue, the second experiment was to the effects of storage temperature and chitosan coating on the Kratom leaves during their shelf-life. The experiment set two different temperatures: (15 and 25 °C), for the storage of the Kratom leaves, which were coated with varying concentrations of chitosan: 0.0, 0.5, 1.0, 1.5, and 2.0%. It was found that the low temperature could extend the shelf life of the chitosan-coated Kratom leaves. The leaf coated with chitosan 0.5% showed less percentage of weight loss under the storage temperature of 15 °C than that of 25 °C. Both storage temperatures did not affect the changes in the Kratom shelf-life leaf color (a*, b*, and L*). However, the chlorophyll contents of leaves stored at 15 °C (22.87-32.5 mg/cm2 ) were higher than at 25 °C (20.05-26.57 mg/cm2 ). The experiment found that storing the chitosan-coated leaf at a low temperature could extend the shelf life of Kratom leaves by 15 days. The research findings would contribute to formulating the crop management guideline for Kratom plants. The phytochemical contents in the leaves varied with the plants’ fertility, crop management, and the growing area environment. However, further studies are needed on the packaging and leaf active substances to ensure efficient storage for the Kratom leaves.
Abstract(Thai): ตามแผนแม่บทแห่งชาติว่าด้วยการพัฒนาสมุนไพรไทย ซึ่งมีนโยบายนำพืชสมุนไพร ท้องถิ่นที่มีศักยภาพมีสรรพคุณทางยาทางแพทย์แผนไทยและภูมิปัญญาชาวบ้านในแต่ละภูมิภาคมาใช้ ประโยชน์ทางการแพทย์ ให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับกระบวนการต้นน้ำ ให้ได้วัตถุดิบสมุนไพรที่ได้ มาตรฐาน มีคุณภาพ ตรงกับความต้องการทางการตลาด การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบ ผลของปุ๋ยต่อการเจริญเติบโต ระยะพัฒนาการของใบ และองค์ประกอบทางพฤกษเคมีของพืช กระท่อม ตลอดจนศึกษาอุณหภูมิและระยะเวลาในการเก็บรักษาต่อคุณภาพของใบพืชกระท่อม โดย แบ่งเป็น 2 การทดลอง คือ 1) อิทธิพลของปุ๋ยต่อการเจริญเติบโตและปริมาณสารพฤกษเคมีในใบพืช กระท่อม โดยทดสอบการใช้ปุ๋ยดังนี้ : ชุดควบคุม (ไม่ให้ปุ๋ย) (N0) ปุ๋ยเคมีทางดินสูตร 15-15-15 (N15) ปุ๋ยเคมีทางดินสูตร 21-0-0 (N21) และปุ๋ยเคมีทางดินสูตร 15-15-15 +15% พ่นทางใบ (N15+15) บันทึกข้อมูลการเจริญเติบโต ข้อมูลสรีรวิทยาพืช ปริมาณสารสำคัญและธาตุอาหารในใบ ภายหลังการให้ปุ๋ยทุกทรีตเมนต์ 30 วัน 45 วัน และ 60 วัน และ 2) ผลของอุณหภูมิร่วมกับสาร เคลือบผิวไคโตซานต่อการยืดอายุเก็บรักษา โดยใช้อุณหภูมิในการเก็บรักษา คือ 15 และ 25°ซ (อุณหภูมิห้อง) และความเข้มข้นของไคโตซาน 0.0 0.5 1.0 1.5 และ 2.0% พร้อมบันทึกข้อมูลการ เปลี่ยนแปลงลักษณะสรีรวิทยาและสัณฐานของใบในช่วงเก็บรักษาเป็นระยะเวลา 0 1 3 6 9 12 และ 15 วัน ผลการทดลองที่ 1 พบว่า การให้ปุ๋ยสูตร N15+15 ส่งผลให้มีน้ำหนักใบ พื้นที่ใบ ความสูง ต้น เส้นผ่านศูนย์กลางลำต้น ความกว้างทรงพุ่ม รวมถึงอัตราการการสังเคราะห์แสงสูงที่สุด ส่วนการ เปลี่ยนแปลงของสารไมทราไจนีน พบว่า ระยะใบคู่ที่ 3 มีปริมาณไมทราไจนีนสูงสุด 4.54 เปอร์เซ็นต์ น้ำหนัก/น้ำหนัก การสะสมชีวมวลในส่วนต่างๆ ของพืชกระท่อมไม่แตกต่างกัน นอกจากนี้การสะสม ธาตุอาหาร พบว่า แตกต่างต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญ โดยการให้ปุ๋ยสูตร N15 โดยมีการสะสม ไนโตรเจน และโพแทสเซียมสูงทั้ง 3 ระยะพัฒนาการของใบ การให้ปุ๋ย N15+15 มีการสะสมปริมาณ ฟอสฟอรัสสูงในระยะคู่ใบที่ 3 และ 5 ขณะเดียวกัน ในชุดควบคุม (N0) และ N21 ส่งผลให้พืชมีการ สะสมแคลเซียม และแมกนีเซียมสูงที่สุดทั้ง 3 ระยะพัฒนาการของใบพืชกระท่อม ส่วนการทดลองที่ 2 ผลการทดลอง พบว่า การเก็บรักษาใบที่อุณหภูมิ 15°ซ ร่วมกับไคโตซานความเข้มข้น 0.5% ทำให้มีปอร์เซ็นต์การสูญเสียน้ำหนักน้อยกว่าการเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 25°ซ อีกทั้งยังพบว่า ทั้งสองอุณหภูมิทำให้ ใบเปลี่ยนสี (a*, b* และ L*) รวมถึงการเปลี่ยนแปลงปริมาณคลอโรฟิลล์ พบว่า ไม่แตกต่างกัน ซึ่งมีค่าอยู่ ระหว่าง (20.05-26.57 มก./ตร.ซม.) ต่ำกว่าที่อุณหภูมิ 15°ซ (22.87-32.05 มก./ตร.ซม.) การศึกษานี้แสดง ให้เห็นว่า การใช้อุณหภูมิต่ำร่วมกับการใช้สารไคโตซานเคลือบผิวสามารถช่วยยืดอายุการเก็บรักษาใบพืช กระท่อมได้นาน 15 วัน โดยผลการศึกษาดังกล่าวสามารถใช้เป็นแนวทางในการจัดการปุ๋ยแก่พืช กระท่อม เพื่อให้พืชมีการเจริญเติบโต ให้ผลผลิตใบ และมีปริมาณสารพฤกษเคมีสูงขณะเดียวกัน การใช้ อุณหภูมิต่ำร่วมกับใช้สารเคลือบผิวไคโตซาน สามารถชะลอการเสื่อมสภาพของผลผลิตใบพืชกระท่อมได้ ทั้งนี้ควรมีการศึกษาการใช้บรรจุภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพเพื่อการยืดอายุการเก็บรักษาใบต่อไป
Description: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (พืชศาสตร์) 2565
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19348
Appears in Collections:510 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6310620019.pdf1.15 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons