Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19339
Title: การประเมินผลกระทบทางสุขภาพจากการดำเนินงานอาหารปลอดภัยในเขตเทศบาลเมืองปัตตานี อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี
Other Titles: Health Impact Assessment for Food Safety Operation of Pattani Municipality Office, Pattani Province
Authors: เพ็ญ สุขมาก
ไบตุลมาลย์ อาแด
Health System Management Institute
สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ
Keywords: การประเมินผลกระทบทางสุขภาพ;อาหารปลอดภัย;เทศบาลเมืองปัตตานี
Issue Date: 2023
Publisher: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Abstract: This descriptive research aimed to conduct health impact assessment of food safety operations according to the Ottawa Charter with the 5-step health impact assessment process. The following 3 processes were administered: 1) public screening and scoping, 2) assessing and 3) public reviewing and influencing. The informants, including 35 people from the private sector, 9 people from the government sector and 2 academics, were selected through a purposive sampling method. Qualitative data were collected by in-depth interviews. Focus group discussions and in-depth interviews were organized with those responsible for the food safety projects and entrepreneurs. Focus group discussions were administered with stakeholders. Quantitative data were collected by surveying the food safety behavior of 30 restaurant operators. Qualitative data were analyzed by content analysis and quantitative data were analyzed by descriptive analysis with percentage, mean and standard deviation. The results of the public screening and scoping revealed that the participants in the focus group discussions agreed that 14 food safety projects out of 29 projects should be assessed. They jointly set the objectives of the assessment, which were to learn and to develop food safety projects in Pattani Municipality. As for thescoping of the assessment, it was assessed based onthefive action areas of Ottawa Charter, namely developing personal skills, strengthening community action, creating supportive environments, developing public policy and reorienting health services with 35 indicators. Based on the results of the assessment of the projects, the project activities with the highest level of success in each aspect were as follows. In terms of developing personal skills, 71.40% of the projects caused the target groups to change behavior in choosing safe raw materials. Regarding strengthening community action, 64.30% of the projects had activities leading to the preparation of work plans with target groups and communities. Therefore, the target groups had roles and responsibilities assigned by the public. As for creating supportive environments, the relevant organizations improved the environment around shops, stalls and fresh markets conducive to service users, and 64. 3% of the projects achieved a high level of success. In terms of developing public policy, agreements, community rules and food safety management measures in the community were defined, and 64.3% of the projects achieved a moderate level of success. Regarding reorienting health services, a community network of food safety was established, and 64.3% of the projects had a moderate level of success. The results of the assessment of food safety behavior of entrepreneurs in 3 aspects were as follows. Food safety behavior in preparation for production was at a low level (𝑥̅= 1.33, S.D. = 0.435). Food safety behavior in preparation for cooking was at a low level (𝑥̅= 1.25, S.D. = 0.403). Food safety behavior in transportation was at a low level (𝑥̅= 1.66). Recommendations for the development of food safety operations in Pattani Municipality according to the Ottawa Charter are as follows. 1) Pattani Municipality in cooperation with Pattani Provincial Public Health Office and Pattani Provincial Agricultural Office should carry out the potential development of entrepreneurs and farmers. The awareness to change the behavior of farmers, producers, restaurant operators and food handlers should be raised through learning materials about food safety in fresh markets. 2) Pattani Municipality should be the main organization in collaboration with Pattani Provincial Public Health Office, Pattani Provincial Agricultural Office and entrepreneurs in jointly analyzing the situations, preparing plans and following up and evaluating the food safety operations through community forums and sub-district development plans with people in the area. 3) Pattani Municipality should improve the environment around the market area, promote the model market and restaurant operators and create a food safety operation course based on the local context under a multicultural society. 4) Pattani Municipality in collaboration with government agencies at the district level should jointly establish agreementsand rules through local community policies on food safety operations. 5) Pattani Municipality should integrate with government agencies, private sector and people in the area in driving food safety work through Pattani Provincial Food Safety Committee.
Abstract(Thai): การวิจัยเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลกระทบทางสุขภาพในการ ดำเนินงานอาหารปลอดภัยตามกรอบออตตาวา ชาร์เตอร์ (Ottawa Charter) โดยดำเนินการตาม ขั้นตอนการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ 5 ขั้นตอน ดำเนินการ 3 ครั้ง คือ 1) การกลั่นกรองและ กำหนดขอบเขตการประเมินผลกระทบทางสุขภาพโดยสาธารณะ 2) การประเมินผลกระทบทาง สุขภาพ และ 3) การทบทวนร่างรายงานโดยสาธารณะ จัดทำข้อเสนอและผลักดันเข้าสู่กระบวนการ ตัดสินใจ คัดเลือกกลุ่มผู้ให้ข้อมูลแบบเจาะจง ประกอบด้วย กลุ่มภาคประชาชน เอกชน จำนวน 35 คน กลุ่มภาครัฐ จำนวน 9 คน และกลุ่มนักวิชาการ จำนวน 2 คน เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการ สัมภาษณ์เชิงลึก จัดประชุมกลุ่มย่อยและการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้รับผิดชอบโครงการผู้ประกอบการ ร้านอาหารและจัดประชุมกลุ่มย่อยผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เก็บข้อมูลเชิงปริมาณ โดยการสำรวจพฤติกรรม ด้านอาหารปลอดภัยของผู้ประกอบการร้านอาหาร จำนวน 30 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยใช้ ข้อมูลเชิงเนื้อหา และข้อมูลเชิงปริมาณใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงพรรณนา ด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและ ส่วนเบี่ยงมาตรฐาน ผลการกลั่นกรองและกำหนดขอบเขตโดยสาธารณะ พบว่า ผู้เข้าร่วมประชุมกลุ่ม มี มติร่วมกันเห็นด้วยว่าควรประเมินผลกระทบของโครงการเกี่ยวกับอาหารปลอดภัย จำนวน 14 โครงการ จาก 29 โครงการ โดยกำหนดวัตถุประสงค์การประเมินร่วมกันคือประเมินเพื่อเรียนรู้และ พัฒนาโครงการด้านอาหารปลอดภัยในเขตพื้นที่เทศบาลเมืองปัตตานี และขอบเขตเนื้อหาการ ประเมินตามกรอบออตตาวา ชาร์เตอร์ 5 ด้าน คือ ด้านการพัฒนาทักษะส่วนบุคคล ด้านการส่งเสริม กิจกรรมชุมชนให้เข้มแข็ง ด้านการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อ ด้านการพัฒนานโยบายสาธารณะ และ ด้านการปรับระบบกลไก จำนวน 35 ตัวชี้วัด ผลการประเมินแต่ละด้านพบว่า ผลการประเมินคุณค่าโครงการพบว่า กิจกรรมของโครงการที่มีระดับความสำเร็จ มากที่สุดในแต่ละด้าน ดังนี้ด้านการพัฒนาทักษะส่วนบุคคล ร้อยละ 71.40 ของโครงการทำให้ กลุ่มเป้าหมายมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการเลือกซื้อวัตถุดิบที่ปลอดภัย ส่วนด้านการเสริมสร้าง กิจกรรมชุมชนให้เข้มแข็งโครงการ ร้อยละ 64.30 มีกิจกรรมที่ทำให้เกิดการสร้างแผนงานร่วมกับกลุ่มเป้าหมายและชุมชน การทำให้กลุ่มเป้าหมายมีบทบาทและหน้าที่ในการปฏิบัติของตนเองที่ได้รับ มอบหมายจากส่วนรวม ด้านการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อ ประเด็นหน่วยงานมีการจัดสภาพแวดล้อม บริเวณโดยรอบร้านค้าแผงลอยและตลาดสดที่เอื้อต่อผู้มาใช้บริการ ร้อยละ 64.3 ของโครงการมีระดับ ความสำเร็จระดับมาก ด้านการสร้างนโยบายสาธารณะ มีการสร้างข้อตกลง กฎกติการ่วมกันของ ชุมชน และมาตรการจัดการอาหารปลอดภัยในชุมชน ร้อยละ 64.3 มีระดับความสำเร็จปานกลาง และด้านการปรับระบบและกลไก เกิดภาคีเครือข่ายชุมชน ด้านอาหารปลอดภัย ร้อยละ64.30 ระดับ ความสำเร็จระดับปานนกลาง ผลการประเมินพฤติกรรมด้านอาหารปลอดภัยของผู้ประกอบการ 3 ด้าน คือ พฤติกรรมอาหารปลอดภัย ด้านการผลิต เตรียมการผลิต อยู่ในระดับน้อย (𝑥̅= 1.33, S.D. = 0.435 ) พฤติกรรมการอาหารปลดภัย ด้านการเตรียมปรุง อยู่ในระดับน้อย (𝑥̅= 1.25, S.D. = 0.403 ) และพฤติกรรมอาหารปลอดภัย ด้านการขนส่ง อยู่ในระดับน้อย ( 𝑥̅= 1.66 ) ข้อเสนอแนะในการพัฒนาการดำเนินงานอาหารปลอดภัยในเขตเทศบาลเมือง ปัตตานีตามกรอบออตตาวาชาร์เตอร์ ได้แก่ 1) สำนักงานเทศบาลเมืองปัตตานีร่วมกับสำนักงาน สาธารณสุขอำเภอเมืองปัตตานีและสำนักงานเกษตรอำเภอเมืองปัตตานี ควรจัดให้มีการพัฒนา ศักยภาพผู้ประกอบการ เกษตรกรและสร้างความตระหนักเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเกษตรกรผู้ผลิต ผู้ประกอบการร้านอาหาร ผู้สัมผัสอาหาร โดยผ่านสื่อการเรียนรู้เกี่ยวกับอาหารปลอดภัยในตลาดสด 2) สำนักงานเทศบาลเมืองปัตตานีเป็นหน่วยงานหลัก โดยร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมือง สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองและผู้ประกอบการ ร่วมกันวิเคราะห์สถานการณ์ จัดทำแผนและติดตาม ประเมินผลการดำเนินงานผ่านเวทีประชาคมแผนพัฒนาตำบลร่วมกับประชาชนในพื้นที่ 3) เทศบาล เมืองปัตตานีควรมีการจัดระเบียบสภาพแวดล้อมในพื้นที่ตลาด ยกระดับตลาดต้นแบบ ผู้ประกอบการ ร้านอาหารต้นแบบ จัดทำหลักสูตรการดำเนินงานอาหารปลอดภัยตามบริบทพื้นที่ภายใต้สังคมพหุ วัฒนธรรม 4) สำนักงานเทศบาลเมืองปัตตานี ร่วมกับหน่วยงานส่วนราชการระดับอำเภอ มีการ กำหนดข้อตกลง กฎติการ่วมกัน ผ่านนโยบายชุมชนท้องถิ่นเกี่ยวกับการดำเนินงานอาหารปลอดภัย และ 5) เทศบาลเมืองปัตตานีควรมีการบูรณาการร่วมกันกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาค ประชาชนในการขับเคลื่อนงานอาหารปลอดภัยผ่านคณะกรรมการขับเคลื่อนการดำเนินงานอาหาร ปลอดภัยจังหวัดปัตตานี
Description: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการระบบสุขภาพ), 2566
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19339
Appears in Collections:148 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6110024007.pdf1.49 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons