Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19309
Title: ผลของโปรแกรมการโค้ชผู้ดูแลเพื่อการสนับสนุนทางสังคมต่อสุขภาวะทางจิตของผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้า
Other Titles: The Effect of Caregiver Coaching Program for Social Support on Psychological Well-Being Among Elderly with Depression
Authors: วีณา คันฉ้อง
อินทุอร ก้านกิ่ง
Faculty of Nursing (Psychiatric Nursing)
คณะพยาบาลศาสตร์ ภาควิชาการพยาบาลจิตเวช
Keywords: ภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ;การสนับสนุนทางสังคม;ผู้ดูแล;การโค้ช
Issue Date: 2023
Publisher: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Abstract: This quasi-experimental, two-group pretest-posttest research aimed to examine the effect of caregiver coaching program for social support on psychological well-being among elderly with depression. Participants comprised 44 community dwelling elderly aged 60 years or over, who had mild or moderate depression. They were assigned to the experimental or control group, twenty-two in each group. The experimental group received the program, whereas the control group did not. Confounding factors were controlled by matching depression and activity daily living (ADL). The research instruments consisted of 1) the caregiver coaching program for social support developed from (a) the conceptual framework of social support of House, (b) the coaching process of Thorpe and Clifford, (c) the experiential learning of Kolb and (d) literature reviews, five sessions were provided over 4 weeks with each session lasting 45-90 minutes. 2) the demographic data questionnaire; and 3) the Psychological Well-Being questionnaire. Content validity of the instrument parts 1 and 2 was verified by three experts. The reliability of the Psychological WellBeing questionnaire was tested using Cronbach’s alpha coefficient, yielding a value of .87. Data were analyzed using descriptive statistics, Wilcoxon Signed-Ranks test and Mann-Whitney U test. The results revealed that the score of the psychological well-being of elderly with depression after participating in the caregiver coaching for social support program were statically significantly higher than that before participating in the program (Z = -4.028, p < .001). In addition, the scores of psychological well-being of elderly with depression after the program was statistically significantly more higher than that of participants who did not received the program (Z = -2.283, p < .05). Thus, the caregiver coaching program for social support for elderly with depression could improve psychological well-being of elderly with depression. Therefore, it could be applied in the program for implementation among elderly with depression in the community.
Abstract(Thai): วิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง แบบสองกลุ่ม วัดผลก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการโค้ชผู้ดูแลเพื่อการสนับสนุนทางสังคม ต่อสุขภาวะทางจิตของผู้สูงอายุ ที่มีภาวะซึมเศร้า กลุ่มตัวอย่าง 44 คน เป็นผู้สูงอายุในชุมชนที่มีภาวะซึมเศร้าระดับเล็กน้อยถึงปาน กลาง อายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง (n=22) ได้รับโปรแกรมการโค้ชผู้ดูแลเพื่อการ สนับสนุนทางสังคม และกลุ่มควบคุม (n=22) ไม่ได้รับโปรแกรมการโค้ชผู้ดูแลเพื่อการสนับสนุนทาง สังคม ควบคุมปัจจัยกวนโดยการจับคู่ระดับคะแนนภาวะซึมเศร้าและความสามารถในการดำเนิน ชีวิตประจำวัน เครื่องมือวิจัย ประกอบด้วย 1) โปรแกรมการสนับสนุนทางสังคมโดยการโค้ชผู้ดูแล ซึ่ง สร้างขึ้นจากทฤษฎีการสนับสนุนทางสังคมของเฮ้าส์ กระบวนการโค้ชของโทร์ปและคลิฟฟอร์ต และ ทฤษฎีการเรียนรู้จากประสบการณ์ของโคล์ป ร่วมกับการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย กิจกรรม 5 กิจกรรม จัดกิจกรรมครั้งละ 1 กิจกรรม ใช้เวลาแต่ละกิจกรรม 45-90 นาที ระยะดำเนิน กิจกรรมต่อเนื่อง 4 สัปดาห์ 2) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป และ3) แบบสอบถามความผาสุกทางใจ เครื่องมือ 1 และ 2 ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน สำหรับ แบบสอบถามความผาสุกทางใจ ได้ตรวจสอบความเที่ยงค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาคเท่ากับ .87 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และสถิติ Wilcoxon Signed-Ranks Test และสถิติ MannWhitney U Test ผลการวิจัย พบว่า คะแนนสุขภาวะทางจิตของผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้าหลังได้รับโปรแกรม การสนับสนุนทางสังคมโดยการโค้ชผู้ดูแล มีค่าสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Z = -4.028, p < .001) และคะแนนสุขภาวะทางจิตของผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้ากลุ่มที่ได้รับ โปรแกรม มีค่าสูงกว่าผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้ากลุ่มที่ไม่ได้รับโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Z = -2.283, p < .05) ดังนั้น โปรแกรมการโค้ชผู้ดูแลเพื่อการสนับสนุนทางสังคม สามารถเพิ่มสุขภาวะทางจิตใน ผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้าได้ และควรนำโปรแกรมนี้ไปประยุกต์ใช้ในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้า ในชุมชน
Description: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (การพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต), 2566
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19309
Appears in Collections:647 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6210420052.pdf3.25 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons