กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19227
ชื่อเรื่อง: | การพัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะระหว่างวัฒนธรรมที่พึงประสงค์ของผู้ฝึกสอนกีฬาเทควันโด ในจังหวัดชายแดนใต้ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Development of Intercultural Competency Indicators of Taekwondo Trainer in the Southernmost Provinces |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | โอภาส เกาไศยาภรณ์ จารึก สระอิส Faculty of Education (Educational Administration) คณะศึกษาศาสตร์ ภาควิชาบริหารการศึกษา |
คำสำคัญ: | ตัวบ่งชี้สมรรถนะ;ผู้ฝึกสอนกีฬาเทควันโด;จังหวัดชายแดนใต้ |
วันที่เผยแพร่: | 2023 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
บทคัดย่อ: | The objectives of this research were to 1) study intercultural competency indicators of Taekwondo Trainer in the Southernmost Provinces 2) develop of intercultural competency indicators of Taekwondo Trainer in the Southernmost Provinces and 3) check and assess the consistency of intercultural competency indicators of Taekwondo Trainer in the Southernmost Provinces. Data collection was divided into three parts; each of which employed different types of research instruments. An open-ended questionnaire was used in the first part to obtain the information. The sub-questions were sorted and only the useful information was selected to develop a questionnaire for the second and third parts. The research tools were 1) a document synthesis log, 2) a semi-structured specialist interview form, 3) a self-assessment form on intercultural competency indicators, and 4) a 5-rating scale assessment form of consistency of intercultural competency indicators, which had index of consistency (IOC) ranging from 0.67-1.00, discrimination value of 0.20 and higher, and reliability value of 0.40. The data were analyzed by using descriptive statistics including frequency, percentage, means, standard deviation, Pearson Correlation Coefficient, second order confirmatory factor analysis, and content analysis was also conducted to derive and present the following key values; Median (MD), Interquartile Range (IR) and (|Md-Mo|). The result of this research found that; 1) The desirable intercultural competency indicators consist of 4 components and 12 indicators. (1) Personal cultural characteristics with 3 indicators. (2) Cultural awareness with 2 indicators. (3) Cultural knowledge with 3 Indicators. and (4) Cultural skills with 4 indicators. 2) To develop indicators of intercultural competency indicators by EDFR research method; 17 experts had a consensus in the same direction which can be seen that the obtained empirical data was high level (Md. ≥3.5), consistent opinion in each trend (QR ≤ 1.5) and it is a desirable trend (value of 85% or more). Finally; 3) desirable intercultural competency indicator quality assurance audits the overall appropriateness a high level (𝑥̅ = 4.56, S.D = 0.43) |
Abstract(Thai): | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาตัวบ่งชี้สมรรถนะระหว่างวัฒนธรรมที่พึงประสงค์ของผู้ฝึกสอนกีฬาเทควันโดในจังหวัดชายแดนใต้ 2) เพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะระหว่างวัฒนธรรมที่พึงประสงค์ของผู้ฝึกสอนกีฬาเทควันโดในจังหวัดชายแดนใต้ และ 3) เพื่อประเมินความสอดคล้องของตัวบ่งชี้สมรรถนะระหว่างวัฒนธรรมที่พึงประสงค์ของผู้ฝึกสอนกีฬาเทควันโดในจังหวัดชายแดนใต้ ดาเนินการเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามปลายเปิดในรอบที่ 1 และนามาจัดเป็นข้อย่อย และตัดข้อมูลที่ซ้าซ้อนออก เพื่อสร้างเป็นข้อคาถามในแบบสอบถามในรอบที่ 2 และรอบที่ 3 ต่อไป เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบบันทึกการสังเคราะห์เอกสาร 2) แบบสัมภาษณ์เชี่ยวชาญเป็นแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และ 3) แบบประเมินตนเองด้านสมรรถนะระหว่างวัฒนธรรมที่พึงประสงค์ และ 4) แบบประเมินความสอดคล้องของรูปแบบตัวบ่งชี้สมรรถนะระหว่างวัฒนธรรมที่พึงประสงค์ เป็นแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ตั้งแต่ 0.67-1.00 ค่าอานาจจาแนกมีค่าตั้งแต่ 0.20 ขึ้นไป และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.40 และทดลองใช้กับกลุ่มคล้ายตัวอย่างเพื่อตรวจสอบคุณภาพ ด้านความเชื่อมั่นแบบสอดคล้องภายในและค่าอานาจจาแนกในการรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยดาเนินการรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง ส่วนข้อมูลเชิงปริมาณผู้วิจัยดาเนินการรวบรวมข้อมูลทางไปรษณีย์ ทาการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยการวิเคราะห์สถิติพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การหาค่ามัธยฐาน (Median: MD) ค่าพิสัยระหว่าง ควอไทล์ (Interquartile Range: IR) และค่าสัมบูรณ์ความแตกต่างระหว่าง ค่ามัธยฐานกับค่าฐานนิยม (|Md-Mo|) ผลการวิจัยพบว่า 1) ตัวบ่งชี้สมรรถนะระหว่างวัฒนธรรมที่พึงประสงค์ ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ 12 ตัวบ่งชี้ คือ องค์ประกอบที่ 1 คุณลักษณะทางวัฒนธรรม ประกอบด้วย 3 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบที่ 2 ความตระหนักทางวัฒนธรรม ประกอบด้วย 2 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบที่ 3 ความรู้ความเข้าใจทางวัฒนธรรม ประกอบด้วย 3 ตัวบ่งชี้ และองค์ประกอบที่ 4 ทักษะทางวัฒนธรรม ประกอบด้วย 4 ตัวบ่งชี้ 2) การพัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะระหว่างวัฒนธรรมที่พึงประสงค์ โดยวิธีการวิจัย EDFR พบว่า กลุ่มผู้เชี่ยวชาญทั้ง 17 ท่าน มีความเห็นฉันทามติสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งจะเห็นได้ว่าแนวโน้มที่มีโอกาสเป็นไปได้ในระดับมาก (Md. ≥3.5) และมีความเห็นสอดคล้องในแต่ละแนวโน้ม (QR ≤ 1.5) และเป็นแนวโน้มที่พึงประสงค์ (มีค่าร้อยละ 85 ขึ้นไป) และ 3) ผลการประเมินรับรองคุณภาพตัวบ่งชี้สมรรถนะระหว่างวัฒนธรรมที่พึงประสงค์ มีความเหมาะสมโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (𝑥̅ = 4.56, S.D = 0.43) |
รายละเอียด: | ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต (ภาวะผู้นำและนวัตกรรมทางการศึกษา), 2566 |
URI: | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19227 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | 260 Thesis |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
5920130108.pdf | 13.48 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License