Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19221
Title: การออกแบบการกระจายทุเรียนสดตัดแต่งพร้อมบริโภค ภายใต้ระบบโซ่อุปทานความเย็นสำหรับ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
Other Titles: Distribution Design For The Cold Chain Of Ready-To-Eat Fresh-Cut Durian For 3 Southern Border Provinces
Authors: นิกร ศิริวงศ์ไพศาล
อุษณีษ์ สหะวิริยะ
Faculty of Engineering (Industrial Engineering)
คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
Keywords: ผลไม้ตัดแต่งพร้อมบริโภค;โปรแกรมเชิงเป้าหมาย;โซ่อุปทานความเย็น
Issue Date: 2023
Publisher: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Abstract: This research aims to study and design the product distribution under the cold chain that is suitable for ready-to-eat fresh-cut durian from the three southern border provinces by increasing the ability to transport durian to various regions of Thailand under a competitive cost. Analyze data by using cost model analysis together with the weighted goal programming model to determine the most suitable distribution pattern of ready-to-eat fresh-cut durian when focusing on the lowest cost of transportation, thelowest time of transportation, and the lowest total distance used for transportation. The research results for 4 markets references in Thailand showed that for the market 1 distribution center in the central region (Bangkok Province), the market 2 northern region (Chiang Mai Province), and the market 3 northeast region (Khon Kaen Province) should use multimodal transportation because this distribution pattern for these markets has the minimum cost, transit time, and transit distance. While the market 4 southern region (Surat Thani Province) should use a transport vehicle that applies the ice-slurry because this distribution pattern has the lowest transportation cost and distance. Although the transportation time is not the lowest, it does not significantly affect the quality of the ready-to-eat fresh-cut durian. And the research results for 2 markets references outside Thailand showed that both of the market 1 the destination is Jiangnan Fruit Market, Guangzhou, China, and the market 2 the destination is the Jiaxing Fruit Market, Shanghai, China, should choose the mode of transportation by multimodal transport via air transport because this pattern has the minimum cost, transit time, and transit distance
Abstract(Thai): งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อออกแบบการกระจายสินค้าภายใต้ระบบโซ่อุปทานความเย็น (Cold Chain) ที่เหมาะสมกับทุเรียนสดตัดแต่งพร้อมบริโภคจาก 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดย การเพิ่มความสามารถในการขนส่งทุเรียนสดตัดแต่งพร้อมบริโภคไปยังจุดกระจายสินค้าในภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศไทยรวมไปถึงการส่งออกทุเรียนสดตัดแต่งพร้อมบริโภคไปยังเมืองกว่างโจวและเมืองเซี่ยงไฮ้ของประเทศจีน โดยมีการนําทฤษฎีการวิเคราะห์ตัวแบบต้นทุนมาใช้ร่วมกับตัวแบบโปรแกรม เชิงเป้าหมายแบบถ่วงน้ําหนัก (Weighted goal programming) เพื่อหารูปแบบการกระจายทุเรียน สดตัดแต่งพร้อมบริโภคที่เหมาะสมกับการขนส่งไปยังแหล่งตลาดเป้าหมาย ผ่านการให้ความสําคัญกับ ปัจจัยด้านต้นทุนที่ใช้ในการขนส่ง เวลาที่ใช้ในการขนส่ง และระยะทางที่ใช้ในการขนส่ง ผลการวิจัยสําหรับแหล่งตลาดภายในประเทศไทยพบว่าแหล่งตลาดที่ 1 ปลายทาง คือศูนย์กระจายสินค้าภาคกลาง (จังหวัดกรุงเทพมหานคร) แหล่งตลาดที่ 2 ปลายทางคือศูนย์กระจาย สินค้าภาคเหนือ (จังหวัดเชียงใหม่) และแหล่งตลาดที่ 3 ปลายทางคือศูนย์กระจายสินค้าภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดขอนแก่น) ควรเลือกรูปแบบการขนส่งโดยใช้การขนส่งต่อเนื่องหลาย รูปแบบ เนื่องจากมีต้นทุนในการขนส่ง เวลาที่ใช้ในการขนส่ง และระยะทางในการขนส่งน้อยที่สุด และในขณะเดียวกันแหล่งตลาดที่ 4 ปลายทางคือศูนย์กระจายสินค้าภาคใต้ (จังหวัดสุราษฎร์ธานี) ควรเลือกรูปแบบการขนส่งโดยใช้รถขนส่งที่นําเทคโนโลยีน้ําผสมเกล็ดน้ําแข็งมาประยุกต์ใช้ เนื่องจาก มีต้นทุนการขนส่งและระยะทางที่น้อยที่สุดแม้ว่าระยะเวลาในการขนส่งจะไม่น้อยที่สุดก็ตาม แต่ ระยะเวลาที่ต่างนั้นไม่ได้มีผลกับคุณภาพของทุเรียนตัดแต่งพร้อมบริโภคอย่างมีนัยสําคัญ และสําหรับแหล่งตลาดภายนอกประเทศไทยพบว่าทั้งแหล่งตลาดที่ 1 ปลายทางคือ ตลาดผลไม้เจียงหนาน นครกว่างโจว ประเทศจีน และแหล่งตลาดที่ 2 ปลายทางคือตลาดผลไม้เจียซิง นครเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน ควรเลือกรูปแบบการขนส่งโดยการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบผ่านการขนส่ง ทางอากาศ เนื่องจากมีต้นทุนในการขนส่ง เวลาที่ใช้ในการขนส่ง และระยะทางในการขนส่งน้อยที่สุด
Description: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (วิศวกรรมโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน), 2566
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19221
Appears in Collections:228 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6310120012.pdf2.98 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons