Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19199
Title: Statistical Modeling for Incidence Rate of Victims from Conflict Situation in Southernmost Provinces of Thailand
Other Titles: ตัวแบบทางสถิติของอุบัติการณ์ผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบจังหวัดชายแดนใต้
Authors: Mayuening Eso
Ahamapeesee Duereh
Faculty of Science and Technology (Mathematics and Computer Science)
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ภาควิชาคณิตศาสตร์และวิทยาการคอมพิวเตอร์
Keywords: Conflict Situation;Southernmost Provinces of Thailand;Incidence Rate;Statistical Modeling
Issue Date: 2023
Publisher: Prince of Songkla University
Abstract: The 19 years prolonged period of conflict situation from 2004 until the current year (2022) in the southern provinces of Thailand including Pattani Yala Narathiwat and parts of Songkhla has been affecting on the daily life of people in the area. The cumulative number of incidents, deaths, injuries, widows, and orphans is going to be large. Therefore, this study aimed to investigate the statistical modelling of the injury-date rate and to visualize the injury-date rate in the Deep South provinces of Thailand. The secondary data between 2004 and 2020 were obtained from the Deep South Coordination Center (DSCC), Prince of Songkla University, Pattani Campus. The study areas were sub-districts in Pattani, Yala, Narathiwat, and four districts of Songkhla. The total number of individual observations was 26,938. After managing the individual data into counted data, there were 8,975 observations. The outcome of this study was the injury-death rates per 100,000 population and determinants were year, sub-district, gender, and age. In descriptive analysis, frequency, percentage, minimum, maximum, mean, median and standard deviation were used. In univariate analysis, the ANOVA test was used to test the association between outcome and each determinant. A log-linear regression model was used to investigate the adjusted mean of the injury-death rate by its factors. The results found that the injury-death rate declined sharply from 2007 to 2020 by 48%. The overall mean of injury-death rate was 64.45 cases per 100,000 population. The young males were more vulnerable than the females. Pattani was a riskier area than other provinces. Half of the sub-districts (53.91%) in Pattani had an injury-death rate above the overall mean. More than 60% of the sub-districts, that showed the injury-death rate higher the overall mean, occurred in rural areas of all provinces, except Songkhla, which had no red area. The information from the current study would be useful to the government or other sections for preparing and planning the readiness of health care, compensation, and economic development in the southernmost provinces of Thailand.
Abstract(Thai): สถานการณ์ความไม่สงบที่ยืดเยื้อมายาวนานถึง 19 ปี ตั้งแต่ปี 2547 จนถึงปัจจุบัน (2565) ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ ปัตตานี ยะลา นราธิวาส และบางส่วนของจังหวัดสงขลา ส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันของประชาชนในพื้นที่ ในขณะที่ตัวเลขที่สะสมมาตั้งแต่แรกเริ่ม ไม่ว่าจำนวนเหตุการณ์ การเสียชีวิต การบาดเจ็บ หญิงหม้าย และเด็กกำพร้ามีจำนวนค่อนข้างมาก ดังนั้น การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลอัตราการบาดเจ็บเสียชีวิตด้วยแบบจำลองทางสถิติและเพื่อนำเสนอข้อมูลอัตราการบาดเจ็บเสียชีวิตในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย การศึกษานี้ใช้ข้อมูลทุติยภูมิช่วงปี พ.ศ. 2547 ถึง พ.ศ. 2563 ซึ่งได้รวบรวมข้อมูลจากศูนย์ประสานงานวิชาการให้ความช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุความไม่สงบจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศวชต. ปัตตานี) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี พื้นที่การศึกษา คือ จังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส และสี่อำเภอของจังหวัดสงขลา มีจำนวนผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตทั้งหมด คือ 26,938 คน การศึกษานี้ทำการจัดการข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบของจำนวนนับ ดังนั้นจำนวนค่าสังเกตที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ 8,975 รายการ ตัวแปรตามคือ อัตราการบาดเจ็บเสียชีวิตต่อแสนประชากร และตัวแปรอิสระคือ ปี ตำบล เพศ และอายุ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ค่ามัธยฐาน และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้เปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยระหว่างอัตราการบาดเจ็บเสียชีวิตและตัวแปรอิสระแต่ละตัวคือ การวิเคราะห์ความแปรปรวน (Analysis of variance: ANOVA) ตัวแบบทางสถิติที่ใช้คือ การถดถอยเชิงเส้นในรูปแบบล็อกการิทิม (Log-linear regression) ผลการวิจัยพบว่า อัตราการบาดเจ็บเสียชีวิตลดลงอย่างเห็นได้ชัดในช่วงปี 2550 ถึง 2563 โดยลดลงถึงร้อยละ 48 อัตราการบาดเจ็บเสียชีวิตเฉลี่ยโดยรวมอยู่ที่ 64.45 รายต่อแสนประชากร เพศชายวัยหนุ่มมีอัตราการบาดเจ็บเสียชีวิตมากกว่าผู้หญิง พื้นที่ปัตตานีเป็นพื้นที่ที่มีอัตราการบาดเจ็บเสียชีวิตมากกว่าจังหวัดอื่น ๆ โดยที่ครึ่งหนึ่งของตำบล (ร้อยละ 53.91) ในจังหวัดปัตตานีมีอัตราการบาดเจ็บเสียชีวิตสูงกว่าค่าเฉลี่ยรวม อย่างไรก็ตามมากกว่าร้อยละ 60 ของตำบลในทุกจังหวัดมีอัตราการบาดเจ็บเสียชีวิตสูงกว่าค่าเฉลี่ยรวม ส่วนใหญ่เกิดขึ้นในพื้นที่ชนบทของทุกจังหวัดยกเว้นจังหวัดสงขลา ข้อมูลจากการศึกษานี้จะเป็นประโยชน์แก่หน่วยงานรัฐหรือหน่วยงานอื่น ๆ ในการเตรียมความพร้อม วางแผน และกำหนดนโยบายในการดูแลสุขภาพ การเยียวยา และการพัฒนาเศรษฐกิจในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทยต่อไป
Description: Master of Science (Research Methodology),2023
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19199
Appears in Collections:746 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6120320011.pdf3.75 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons