Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19195
Title: การผลิตและสมบัติของเม็ดเชื้อเพลิงชีวมวลที่ผลิตจากการผสมขี้เลื่อยไม้ยางพาราและขยะฝังกลบ (RDF3) เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมโรงไฟฟ้าในประเทศไทย
Other Titles: Manufacture and properties of mixed pellets from rubberwood sawdustand refuse-derived fuel (RDF3) for using in industrial of Thailand the power plant
Authors: อัจฉริยะ โชติขันธ์
รัตติกาล เหล่าเสนา
คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาเทคโนโลยีพลังงาน
Faculty of Engineering (Energy Technology)
Keywords: เม็ดเชื้อเพลิงชีวมวล;ขี้เลื่อยไม้ยางพารา;ขยะฝังกลบ (RDF3);อุตสาหกรรมโรงไฟฟ้า
Issue Date: 2022
Publisher: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Abstract: The study of manufacture and properties of mixed pellets from rubberwood (Hevea brasiliensis) sawdust and refuse-derived fuel (RDF3) for using in the power plant industrial of Thailand was objected 1) to produce mixed pellets from a mixture of rubberwood sawdust and RDF3 at ratios of 100/0,70/30,60/40 and 50/50, 2) to study some properties of mixed pellets, and 3) to study the efficiency and economics of mixed pellets. This research was focused to produce fuel pellets from rubberwood sawdust and refuse-derived fuel (RDF) which is a by-product of municipal solid waste (MSW) using non adhesive. There are four conditions of ratio by weight of sawdust and RDF3 at 100/0 ,70/30, 60/40, and 50/50 respectively. The samples were analyzed for quantitative composition, proportion, and properties of biomass pellets, such as density, diameter, length, moisture content, ash content, fixed carbon, volatile matter, heating value, thermal efficiency, and chemical analysis. The results demonstrated the samples had 1,175 - 1,286 kg/m3 of density, ≥98% of mechanical durability, 36 - 42 mm of length, 6.122 - 6.188 mm of diameter, 5.38 - 11.27 % of moisture content, 12.484 – 15.78 % of fixed carbon, 65.17 - 72.11 % of ash content, and 19.40-22.09 MJ/kg of heating value. The value of heating value and ash content were diverse in the ratio of increasing RDF3. Thermal efficiency test using water boiling test (WBT) resulted that 50/50 mixed pellet of samples had highest value in 31.57%. Chemical analysis showed mixed pellets having RDF3 raised the content of Sulfur, Lead, Hydrogen, Sodium, Nitrogen, Chromium, Chlorine, Zinc, Copper, Cadmium, and Arsenic. On the other hand, Mercury had slightly same content. Finally, the economic analysis of mixed pellet production cost from rubberwood sawdust and RDF3 was 1.402 baht/kg.
Abstract(Thai): การศึกษาการผลิตและสมบัติของเม็ดเชื้อเพลิงชีวมวลที่ผลิตจากการผสมขี้เลื่อยไม้ยางพาราและขยะฝังกลบ (RDF3) เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมโรงไฟฟ้าในประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อผลิตเม็ดเชื้อเพลิงผสมชีวภาพจากส่วนผสมขี้เลื่อยไม้ยางพารากับ RDF3 ที่อัตราส่วน 100/0,70/30, 60/40 และ 50/50 2) เพื่อศึกษาคุณสมบัติบางประการของเม็ดเชื้อเพลิงผสมชีวภาพที่ผลิตได้ (ขยะฝังกลบ) และ 3) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพและเศรษฐศาสตร์ของเม็ดเชื้อเพลิงผสมชีวภาพ (ขยะฝังกลบ) สำหรับอุตสาหกรรมการวิจัยครั้งนี้เป็นการผลิตเม็ดเชื้อเพลิงผสมจากขี้เลื่อยไม้ยางพารา (Hevea brasiliensis) กับขยะจากหลุมฝังกลบขยะที่ผ่านการย่อยสลายผ่านการคัดแยก (RDF3) โดยไม่เติมตัวประสาน ในอัตราส่วนที่ต่างกัน โดยน้ำหนักของขี้เลื่อยไม้ยางพาราต่อ RDF3 เท่ากับ 100/0, 70/30, 60/40 และ 50/50 จากนั้นนำเม็ดเชื้อเพลิงชีวมวลอัตราส่วนต่างๆ ที่ได้ไปการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงปริมาณ สัดส่วน และสมบัติบางประการของเม็ดเชื้อเพลิงชีวมวล ได้แก่ ค่าความหนาแน่น ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางและความยาวเม็ดเชื้อเพลิงชีวมวล ความชื้น ปริมาณเถ้า คาร์บอนเสถียร ไอระเหย ประสิทธิภาพการใช้งานเชิงความร้อน และวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมี พบว่าทั้ง 4 อัตราส่วนผสมมีความหนาแน่น 1,175 - 1,286 kg/m3 ค่าความทนทานอยู่ตามเกณฑ์มาตรฐานเม็ดพลังงานมากกว่า 98% ค่าความยาวมีค่า 36 - 42 mm ค่าเส้นผ่านศูนย์กลางมีค่า 6.122 - 6.188 mm ความชื้นมีค่า 5.38 - 11.27 % ค่าคาร์บอนเสถียร และค่าไอระเหย มีค่า 12.484 – 15.78 % และ 65.17 - 72.11 % ตามลำดับ ค่าความร้อนมีค่า 19.40-22.09 MJ/kg ค่าความร้อน และปริมาณเถ้า จะแปรผันไปทางเดียวกันคือ อัตราส่วนผสมที่มี RDF3 เพิ่มมากขึ้นจะมีความร้อนเพิ่มขึ้นและปริมาณเถ้าก็มากขึ้นด้วย ประสิทธิภาพเชิงความร้อนของเตา ปริมาณความร้อนที่ได้จากเชื้อเพลิง และปริมาณความร้อนที่ใช้ประโยชน์ ด้วยวิธีการต้มน้ำ (water boiling test, WBT) พบว่าเม็ดเชื้อเพลิงชีวมวลอัตราส่วนผสม 50/50 มีประสิทธิภาพเชิงความร้อนเท่ากับ 31.57% การวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมี พบว่าเม็ดเชื้อเพลิงที่มีส่วนผสมของ RDF3 จะทำให้ค่ากำมะถัน สารตะกั่ว ค่าไฮโดรเจน ค่าโพเทสเซียม ค่าโซเดียม ค่าไนโตรเจน โครเมียม คลอรีน สังกะสี ทองแดง แคสเมียม สารหนู จะมีค่าสูงขึ้น โดยเพิ่มตามปริมาณส่วนผสม RDF3 โดยที่สารปรอท(Hg) มีค่าเท่ากันทุกอัตราส่วนผสม และการวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ในการผลิตเม็ดเชื้อเพลิงชีวมวลจากขี้เลื่อยไม้ยางพาราผสมกับ RDF3 พบว่ามีต้นทุนการผลิตต่อหน่วยอยู่ที่ 1.40 บาท/กิโลกรัม
Description: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (เทคโนโลยีพลังงาน), 2565
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19195
Appears in Collections:219 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6210120015.pdf5.05 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons