กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19170
ชื่อเรื่อง: สมรรถนะพี่เลี้ยงกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The Competency of the Local Health Fund Coaching Team
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พงค์เทพ สุธีรวุฒิ
ชูศักดิ์ โมลิโต
Health System Management Institute
สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ
คำสำคัญ: พี่เลี้ยงกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น;สมรรถนะพี่เลี้ยง
วันที่เผยแพร่: 2023
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
บทคัดย่อ: This descriptive research was aimed to study the competencies of local health fund coaching staff. There are 7 provinces in the 12-Health-Region including Songkhla, Trang, Phatthalung, Satun, Yala, Pattani and Narathiwat. The data was provided by 24 coaching staff (self-assessment) and 53 funding staff (peer-assessment) using an online questionnaire with content validity (IOC = 0.89) and reliability (Cronbach's Alpha = 0.99). Random purposive sampling was conducted between June and September 2021. All data was analyzed using descriptive statistics. The results showed that the overall competencies of the coaching staff were at high level. The average total performance of self-assessment was 8.59 (minimum = 4, maximum = 10). The average total performance of peer-assessment was 8.73 (minimum = 5, maximum = 10). Average performances of male coaches and female coaches were 8.43 and 8.28. The coaching staff who were over 40 years had the highest average total performance (8.96). Coaching staff with bachelor’s degree had highest average performance (8.42). Average performances of coaching staff who were working in the public health department and those working in local government organizations were 8.46and 8.18. Coaching staff with work experience of more than 10 years had the highest average performance (8.45). Coaching staff who worked with the local health fund for 6-10 years had the highest average performance (8.69). Coaching staff with 5-6 years coaching experience had highest average performance (8.53). Coaching staff who worked with the Institute of Public Policy, Prince of Songkla University for 6-10 years had the highest average performance (8.69) Average performances of the trained coaching staff and the untrained coaching staff were 8.43 and 7.90. The competencies needed to be improved including monitoring performance, project development and personal personality. Policy suggestions: 1. To improve local health fund performance, we should focus on the coaching staff development of those who had low competency assessment scores. 2. Set up peer coaching team to enhance the operational performance of coaching staff.
Abstract(Thai): การวิจัยเชิงพรรณนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมรรถนะพี่เลี้ยงกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นพื้นที่เขตสุขภาพที่ 12 ประกอบด้วยจังหวัดสงขลา ตรัง พัทลุง สตูล ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วยพี่เลี้ยงกองทุนจำนวน 24 คน และเจ้าหน้าที่กองทุน จำนวน 53 คน ใช้เครื่องมือแบบสอบถามออนไลน์มีค่าความตรงของเนื้อหา IOC = 0.89 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.99 สุ่มตัวอย่างแบบ purposive sampling ดำเนินการศึกษาระหว่างเดือนมิถุนายน - กันยายน 2564 ทำการวิเคราะห์ข้อมูลทั้งหมดโดยใช้สถิติเชิงพรรณา ผลการศึกษาสมรรถนะพี่เลี้ยงกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นพื้นที่เขตสุขภาพที่ 12 โดยจากการให้ข้อมูลของพี่เลี้ยงกองทุนและเจ้าหน้าที่กองทุนพี่เลี้ยงกองทุนมีสมรรถนะรวมเฉลี่ยเท่ากับ 8.59 (min = 4, max = 10) และ 8.73 (min = 5, max = 10) พี่เลี้ยงที่มีอายุมากกว่า 40 ปี สมรรถนะเฉลี่ยสูงสุด (8.96) พี่เลี้ยงที่มีระดับการศึกษาปริญญาตรี สมรรถนะเฉลี่ยสูงสุด (8.42) พี่เลี้ยงที่ปฏิบัติงานในหน่วยงานสาธารณสุขมีสมรรถนะเฉลี่ย 8.46 ปฏิบัติงานในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสมรรถนะเฉลี่ย 8.18 พี่เลี้ยงที่มีประสบการณ์การทำงานด้านสุขภาพมากกว่า 10 ปี มีสมรรถนะเฉลี่ยสูงสุด (8.45) พี่เลี้ยงที่มีประสบการณ์การทำงานด้านการทำงานร่วมกับกองทุน 6-10 ปี มีสมรรถนะเฉลี่ยสูงสุด (8.69) ประสบการณ์การเป็นพี่เลี้ยงกองทุน 5-6 ปี มีสมรรถนะเฉลี่ยสูงสุด (8.53) พี่เลี้ยงที่ทำงานร่วมกับสถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส.มอ.) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 6-10 ปี มีสมรรถนะเฉลี่ยสูงสุด (8.69) พี่เลี้ยงที่ผ่านการอบรมมีสมรรถนะเฉลี่ย 8.43 พี่เลี้ยงที่ไม่ผ่านการอบรมสมรรถนะเฉลี่ย 7.90 อย่างไรก็ตามแม้สมรรถนะโดยรวมของพี่เลี้ยงอยู่ในระดับมาก แต่ยังมีพี่เลี้ยงบางส่วนที่ได้คะแนนต่ำและต้องได้รับการพัฒนาสมรรถนะเพื่อยกระดับได้แก่ สมรรถนะด้านการติดตามประเมินผล (min=4) สมรรถนะด้านการพัฒนาโครงการ (min=5) และสมรรถนะด้านบุคลิกภาพส่วนบุคคล (min=5) ข้อเสนอแนะ : 1.เน้นพัฒนากลุ่มพี่เลี้ยงที่มีสมรรถนะต่ำเนื่องจากจะมีผลต่อการปฏิบัติงานของกองทุน 2.จัดตั้งทีมพี่เลี้ยงเพื่อช่วยเหลือกันในการลงพื้นที่ปฏิบัติงาน
รายละเอียด: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการระบบสุขภาพ), 2566
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19170
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:148 Thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
5910024002.pdfสมรรถนะพี่เลี้ยงกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น The Competency of the Local Health Fund Coaching Team1.46 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons