กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19167
ชื่อเรื่อง: | แนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้สินของประชาชนในจังหวัดภูเก็ต |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Guidelines for Solving Debt Problem of Phuket’s People |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | บรรพต วิรุณราช วรลักษณ์ ระวังภัย Faculty of Management Sciences (Business Administration) คณะวิทยาการจัดการ ภาควิชาบริหารธุรกิจ |
คำสำคัญ: | แนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้สิน;ประชาชนในจังหวัดภูเก็ต |
วันที่เผยแพร่: | 2023 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
บทคัดย่อ: | The guidelines for solving the debt problems of people in Phuket aims to study sustainable development goals (SDGs) and other theoretical concepts as a qualitative research approach. Data was collected through in-depth interviews with bank executives, cooperative executives, credit union executives, and borrowers from banks or financial institutions in Phuket province, totaling 6 individuals. This research also aims to identify factors related to debt issues that are correlated with the guidelines for solving the debt problems of people in Phuket as a quantitative research approach. Data was collected using questionnaires from 399 households residing in Phuket province. Statistical methods used in the research included descriptive statistics, which involved frequency, percentage, mean, and standard deviation calculations. Inferential statistics were used to analyze the data, including correlation coefficient calculations. The study revealed that the SDGs that were most frequently incorporated into the guidelines for solving the debt problems included Goal 1: No Poverty and Goal 8: Promoting sustained economic growth, inclusive and sustainable, full-time employment, productive work, and suitable job opportunities for everyone. Other strategies which are most considered by the sample group included negotiating for debt restructuring. In the analysis of factors contributing to debt issues related to the guidelines for solving the debt problems of people in Phuket, 7 dimensions were identified: income, economy, expenses, attitudes, consumption behavior, debt purposes, and lack of financial management knowledge. These dimensions were found to be associated with strategies such as financial planning in households, increasing household income, debt consolidation, debt reduction through principal and interest reduction, selling some assets to repay debt, seeking alternative lenders, participating in government assistance programs, and being personal bankruptcy. |
Abstract(Thai): | งานวิจัยเรื่อง แนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้สินของประชาชนในจังหวัดภูเก็ต ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้สินของประชาชนในจังหวัดภูเก็ตโดยใช้แนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) และแนวคิดทฤษฎีอื่นๆ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลในรูปแบบของการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ผู้บริหารธนาคารหรือสถาบันการเงิน ผู้บริหารสหกรณ์ออมทรัพย์ ผู้บริหารสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน และลูกหนี้ของธนาคารหรือสถาบันการเงิน ในจังหวัดภูเก็ต จำนวน 6 คน และเพื่อศึกษาปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะหนี้สินที่มีความสัมพันธ์กับแนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้สินของประชาชนในจังหวัดภูเก็ต เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม (Questionnaire) จากประชาชนที่อาศัยอยู่ในครัวเรือนในจังหวัดภูเก็ต จำนวน 399 ครัวเรือน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) วิเคราะห์โดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้สถิติเชิงอนุมาน (Inferential Statistics) การหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ในการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการศึกษาพบว่า แนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ที่กลุ่มตัวอย่างนำมาประกอบการพิจารณาสำหรับแนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้สินมากที่สุดคือ เป้าหมายที่ 1 ขจัดความยากจน และเป้าหมายที่ 8 ส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต่อเนื่อง ครอบคลุม และยั่งยืน การจ้างงานเต็มที่ มีผลิตภาพ และการมีงานที่เหมาะสมสำหรับทุกคน แนวทางอื่น ๆ ที่กลุ่มตัวอย่างนำมาประกอบการพิจารณาสำหรับแนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้สินมากที่สุดคือ การเจรจาขอปรับปรุงโครงสร้างหนี้ สำหรับการวิเคราะห์ปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะหนี้สินที่มีความสัมพันธ์กับแนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้สินของประชาชนในจังหวัดภูเก็ต พบว่าปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะหนี้สินทั้ง 7 ด้าน ได้แก่ ด้านรายได้ ด้านเศรษฐกิจ ด้านค่าใช้จ่าย ด้านทัศนคติ ด้านพฤติกรรมการบริโภค ด้านวัตถุประสงค์ในการก่อหนี้ และด้านการขาดความรู้เกี่ยวกับการจัดการเงิน มีความสัมพันธ์กับแนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้สินด้านการวางแผนทางการเงินในครัวเรือนด้านการเพิ่มรายได้ของครัวเรือนด้านการประนอมหนี้ด้านการได้ลดเงินต้น ลดดอกเบี้ยด้านการขายทรัพย์สินบางส่วนเพื่อใช้หนี้ด้านการหาผู้อื่นมารับหนี้แทนด้านการเข้าร่วมโครงการการช่วยเหลือจากหน่วยงานภาครัฐและด้านการเป็นบุคคลล้มละลาย |
รายละเอียด: | บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (บริหารธุรกิจ), 2023 |
URI: | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19167 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | 460 Minor Thesis |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
6410521049.pdf | 1.28 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด | |
6410521049.pdf | 347.65 kB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License