กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19166
ชื่อเรื่อง: | การศึกษารูปลักษณ์ที่ดึงดูดความสนใจในการซื้อสินค้าเฟอร์นิเจอร์บนแอปพลิเคชันช้อปปี้ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | A study of the attractive presentation towards furniture purchases on the Shopee application |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | วันอามีนา บอสตัน อลี เสาวภา เกษดี Faculty of Management Sciences (Business Administration) คณะวิทยาการจัดการ ภาควิชาบริหารธุรกิจ |
คำสำคัญ: | รูปลักษณ์;การตัดสินใจ;สินค้าเฟอร์นิเจอร์;แอปพลิเคชันช้อปปี้ |
วันที่เผยแพร่: | 2023 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
บทคัดย่อ: | This research aims to study the decision-making behavior of furniture buyers through the Shopee application. Research qualitative research methods and collect data through in-depth interviews to truly engage with information providers. By focusing on the sources and meanings of information based on individual behavior, opinions , perspectives, and attitudes of each individual in order to answer Research questions. Under the Semi-structured Interview format and using a Purposive sampling method. According to the criteria that the researcher has set Non-probability sampling. from a total sample of 30 people, namely people who had experience ordering furniture products through the Shopee application within a period of 3 months. Then use the data from the sample for thematic analysis. The study found that furniture products are displayed through stimuli such as Product images, zoom function, and product videos. Encourage shopping application users to make furniture purchase decisions more easily. In addition, appropriate content presentation will benefit the internal perception process, so stores should present beautiful images. Choose high-quality, easy to understand, and comprehensive content, detailing the functionality and assembly methods. Attract buyers to be interested in the product and bring about a good internal cognitive process. Because if buyers have a good feeling and understanding of the product, they will react well, which may manifest as purchasing behavior. Furniture products can be purchased immediately on the Shopee application, but on the other hand, if the store's media display is not satisfactory to the buyer. Alternatively, having too little information about the product can lead buyers to have a negative attitude towards the store, ultimately ignoring or avoiding going to other stores. The results of this study can be applied to the interests of entrepreneurs in the Shopee application. Creating market competitive advantages and achieving success |
Abstract(Thai): | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการตัดสินใจของผู้ซื้อสินค้าเฟอร์นิเจอร์ผ่านแอปพลิเคชันช้อปปี้ ศึกษาวิธีวิจัยเชิงคุณภาพและเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) เพื่อให้สามารถเข้าถึงผู้ให้ข้อมูลได้อย่างแท้จริง โดยให้ความสำคัญกับแหล่งข้อมูลและความหมายของข้อมูล จากพฤติกรรม ความคิดเห็น มุมมอง และทัศนคติของแต่ละบุคคลเพื่อนํามาตอบข้อคําถาม ภายใต้การสัมภาษณ์ชนิดกึ่งโครงสร้าง (Semi-structured Interview) ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ตามเกณฑ์ที่ผู้วิจัยได้กำหนดไว้โดยไม่ใช้ความน่าจะเป็น (Non-probability sampling) จากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 30 คน คือ ผู้ที่มีประสบการณ์สั่งสินค้าเฟอร์นิเจอร์ผ่านแอปพลิเคชันช้อปปี้ ภายในระยะเวลา 3 เดือน แล้วนำข้อมูลที่ได้จากกลุ่มตัวอย่างมาทำการวิเคราะห์แก่นสาระ (Thematic Analysis) ผลการวิจัยพบว่า การนำเสนอสินค้าเฟอร์นิเจอร์ผ่านตัวกระตุ้น ได้แก่ รูปภาพ ฟังก์ชันการซูม และวิดีโอสินค้า ช่วยส่งเสริมให้ผู้ใช้งานแอปพลิเคชันช้อปปี้สามารถตัดสินใจซื้อสินค้าเฟอร์นิเจอร์ได้ง่ายขึ้น และยิ่งไปกว่านั้นการนำเสนอเนื้อหาที่เหมาะสมจะส่งผลดีกับกระบวนการรับรู้ภายใน ร้านค้าจึงควรนำเสนอด้วยภาพที่ดูสวยงาม คัดสรรเนื้อหาที่มีคุณภาพ เข้าใจง่ายและครอบคลุม บอกถึงรายละเอียด คุณสมบัติ รวมถึงวิธีการประกอบ เพื่อดึงดูดให้ผู้ซื้อเกิดความสนใจในตัวสินค้านั้นนำมาซึ่งกระบวนการรับรู้ภายในที่ดี ด้วยเหตุว่าหากผู้ซื้อเกิดความรู้สึกที่ดีและเข้าใจในตัวสินค้าจะมีพฤติกรรมการตอบสนองที่ดีตามไปด้วยซึ่งอาจแสดงออกด้วยพฤติกรรมตัดสินใจซื้อสินค้าเฟอร์นิเจอร์บนแอปพลิเคชันช้อปปี้ได้ทันที แต่ในทางกลับกันหากการนำเสนอสื่อของทางร้านไม่พึงพอใจผู้ซื้อ หรือมีข้อมูลเกี่ยวกับตัวสินค้าน้อยเกินไปจะทำให้ผู้ซื้อมีทัศนคติเชิงลบต่อร้านค้า ไม่สนใจหรือหลีกเลี่ยงไปหาร้านอื่นในท้ายที่สุด จากผลที่ได้ในการวิจัยนี้สามารถนำไปใช้เพื่อเป็นประโยชน์กับผู้ประกอบการในแอปพลิเคชันช้อปปี้ได้สร้างความได้เปรียบในการแข่งขันทางการตลาดและประสบความสำเร็จทางธุรกิจในอนาคต |
รายละเอียด: | บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (บริหารธุรกิจ), 2566 |
URI: | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19166 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | 460 Minor Thesis |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
6510521059.pdf | 2.49 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License