กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19163
ชื่อเรื่อง: | ผลของโปรแกรมส่งเสริมสมรรถนะการบีบกระตุ้นน้ำนมต่อการไหลของน้ำนมและระยะเวลาน้ำนมเต็มเต้าในมารดาหลังผ่าตัดคลอดที่มีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The Effects of a Self-efficacy Promoting with Breast Milk Expression Program on Milk Ejection and Onset of Lactation in Cesarean Mothers with Gestational Diabetes Mellitus |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ศศิกานต์ กาละ อัญชลี อินทสร Faculty of Nursing (Obstetric and Gynaecologic Nursing and Midwifecy) คณะพยาบาลศาสตร์ ภาควิชาการพยาบาลสูติ-นรีเวชและผดุงครรภ์ |
คำสำคัญ: | Self-efficacy promoting program;Breast milk expression;Milk ejection;Onset of lactation;Cesarean mother;Gestational diabetes mellitus;การดูแลหลังคลอด;การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ |
วันที่เผยแพร่: | 2023 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
บทคัดย่อ: | This study was the quasi-experimental aimed to examine the effects of a self-efficacy promoting with breast milk expression program on milk ejection and onset of lactation in cesarean mothers with gestational diabetes mellitus (GDM). The sample consisted of 70 cesarean mothers with gestational diabetes mellitus who were admitted in the postpartum ward during January to December, 2022 at Songklanagarind Hospital. They were selected according to inclusion criteria, equally randomly assigned as matched pairs based on type of GDM and parity into an experimental group and a control group, 35 subjects in each group. The experimental group received the self-efficacy promoting with breast milk expression program, while the control group received standard care service. The research instrument consisted of 3 parts: (1) the self-efficacy promoting with breast milk expression program; (2) the experimental-control instruments consisting of (2.1) the Breastfeeding Self-Efficacy Scale-Short Form (BSES-SF), (2.2) the assessment tool for hand breast milk expression skill, and (2.3) the hand breast milk expression recording form; and (3) the data collecting instruments comprising of (3.1) a personal data, (3.2) the milk ejection assessment, and (3.3) the onset of lactation questionnaire. Content validity indices of the instruments were approved by three experts. The content validity indices of the self-efficacy promoting with breast milk expression program, the hand breast milk expression skill assessment, the hand breast milk expression recording, the milk ejection assessment and the onset of lactation assessment form yielded values of .78, 1, 1, 1 and .83, respectively. The reliability of BSES-SF was tested and yielded a Cronbach’s alpha coefficient value of .88. The milk ejection assessment form was examined using interrater reliability and yielded a value of .86. The data were analyzed using frequency, percent, mean and standard deviation. The hypotheses were tested using independent t-test. The results revealed that: 1. Cesarean mothers with gestational diabetes mellitus who received the self-efficacy promoting with breast milk expression program had mean score of milk ejection after receiving intervention at 72 hours (M = 3.17, SD = 0.75) significantly higher than the control group (M = 2.83, SD = 0.66) (t = 2.03, p < .05) 2. Cesarean mothers with gestational diabetes mellitus who received the self-efficacy promoting with breast milk expression program had mean hour of the onset of lactation (M = 59.11, SD = 12.61) significantly faster than the control group (M = 70.29, SD = 18.67) (t = -2.94, p < .05) The result showed that the self-efficacy promoting with breast milk expression program could effectively encourage milk ejection and the onset of lactation. Therefore, it is recommended that nurse midwives should apply this program into their services to promote breastfeeding of cesarean mothers with gestational diabetes mellitus. |
Abstract(Thai): | การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมสมรรถนะการบีบกระตุ้นน้ำนมต่อการไหลของน้ำนมและระยะเวลาน้ำนมเต็มเต้าในมารดาหลังผ่าตัดคลอดที่มีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ กลุ่มตัวอย่างเป็นมารดาหลังผ่าตัดคลอดที่มีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ซึ่งเข้ารับบริการในหอผู้ป่วยหลังคลอด โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ ระหว่างเดือนมกราคม ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ.2565 จำนวน 70 ราย ทำการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามคุณสมบัติที่กำหนด ดำเนินการสุ่มเข้ากลุ่มแแบบง่ายและจับคู่ชนิดของภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ และจำนวนครั้งที่ผ่านการคลอดบุตร จำนวนกลุ่มละ 35 ราย กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมส่งเสริมสมรรถนะการบีบกระตุ้นน้ำนม กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 3 ส่วน คือ (1) เครื่องมือที่ใช้ดำเนินการทดลอง ได้แก่ โปรแกรมส่งเสริมสมรรถนะการบีบกระตุ้นน้ำนม (2) เครื่องมือกำกับการทดลอง ได้แก่ (2.1) แบบสอบถามสมรรถนะแห่งตนในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ (2.2) แบบประเมินทักษะการบีบกระตุ้นน้ำนมด้วยมือ และ (2.3) แบบบันทึกการบีบกระตุ้นน้ำนมด้วยมือ และ (3) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ (3.1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล (3.2) แบบประเมินการไหลของน้ำนม และ (3.3) แบบสอบถามระยะเวลาน้ำนมเต็มเต้า เครื่องมือดังกล่าวผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่าน ได้ค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาของโปรแกรมส่งเสริมสมรรถนะการบีบกระตุ้นน้ำนม แบบประเมินทักษะการบีบกระตุ้นน้ำนมด้วยมือ แบบบันทึกการบีบกระตุ้นน้ำนมด้วยมือ แบบประเมินการไหลของน้ำนม และแบบประเมินระยะเวลาน้ำนมเต็มเต้าเท่ากับ .78, 1, 1, 1 และ .83 ตามลำดับ ทดสอบความเที่ยงของแบบสอบถามสมรรถนะแห่งตนในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โดยการคำนวณหาสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาคได้ .88 แบบประเมินการไหลของน้ำนม ใช้วิธีหาค่าความเท่าเทียมของการสังเกต ได้ค่าความเที่ยง .86 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติทีอิสระ ผลการศึกษาพบว่า 1. มารดาหลังผ่าตัดคลอดที่มีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ในกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมส่งเสริมสมรรถนะการบีบกระตุ้นน้ำนมมีค่าเฉลี่ยการไหลของน้ำนมเมื่อเวลา 72 ชั่วโมงหลังคลอด (M = 3.17, SD = 0.75) มากกว่ากลุ่มควบคุมที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ (M = 2.83, SD = 0.66) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 2.03, p < .05) 2. มารดาหลังผ่าตัดคลอดที่มีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์กลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมส่งเสริมสมรรถนะการบีบกระตุ้นน้ำนมมีค่าเฉลี่ยระยะเวลาน้ำนมเต็มเต้านับเป็นชั่วโมง (M = 59.11, SD = 12.61) เร็วกว่ากลุ่มควบคุมที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ (M = 70.29, SD = 18.67) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = -2.94, p < .05) การศึกษาแสดงให้เห็นว่า โปรแกรมส่งเสริมสมรรถนะการบีบกระตุ้นน้ำนมมีประสิทธิผลในการช่วยกระตุ้นการไหลของน้ำนมและระยะเวลาน้ำนมเต็มเต้า ดังนั้นพยาบาล ผดุงครรภ์ควรนำไปประยุกต์ใช้เป็นแนวทางในการให้บริการเพื่อส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในมารดาหลังผ่าตัดคลอดที่มีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ |
รายละเอียด: | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (การผดุงครรภ์), 2566 |
URI: | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19163 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | 648 Thesis |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
6210420050.pdf | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (การผดุงครรภ์), 2566 | 5.41 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License