กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19046
ชื่อเรื่อง: Establishment of hatchery-reared broodstock of spotted scat (scatophagus argus linnaeus, 1766) and its reproductive performance
ชื่อเรื่องอื่นๆ: การเตรียมพ่อแม่พันธุ์ปลาตะกรับ (scatophagus argus linnaeus, 1766) จากการเลี้ยงและศักยภาพในการเพาะขยายพันธุ์
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: Sommai Chiayvareesajja
Jirayuth Ruensirikul
Faculty of Natural Resources (Aquatic Science)
คณะทรัพยากรธรรมชาติ ภาควิชาวาริชศาสตร์
คำสำคัญ: Fish Culture Thailand;Fishes Reproduction
วันที่เผยแพร่: 2018
สำนักพิมพ์: Prince of Songkla University
บทคัดย่อ: Establishment of cultured spotted scat (Scatophagus argus Linnaeus, 1766) in hatchery and its reproductive performance for mass seed production in the future were determined. Four studies were investigated: 1) effects of water salinity on the artificial insemination of spotted scat and the survival rate of the larvae, 2) effects of water salinity on reproductive performance of female spotted scat, 3) timing for oocyte recruitment and reproductive performance of female hatchery-reared spotted scat after artificial insemination and 4) the maturation and possible protandrous sex change of hatchery-reared spotted scat. The first study, effects of eight water salinity levels (0, 5, 10, 15, 20, 25, 30 and 35 ppt) on five artificial insemination of spotted scat caught in Songkhla Lake and larval rearing were investigated. The results showed that female broodfish held at 0 ppt produced the lowest ovulation rate (20%) while significantly (p<0.05) greater ovulation rates (80 - 100%) were observed at other water salinity levels. The fertilization and hatching rates were also significantly higher (p<0.05) at 25-35 ppt than at other water salinity levels (62.8 - 66.9% and 53.6 - 54.9 % respectively). A high survival rate of 15-day-old larvae was observed at 10 and 15 ppt (40.50-41.00%). The second study, effect of water salinity on the reproductive performance, serum 17ẞ- estradiol (E2) levels and osmolality of female hatchery-reared spotted scat were investigated. Female broodfish in resting stage and mature male were selected and maintained in 1-m3 tanks with holding water salinities of 5, 15, 25 and 33 ppt at density of 10 fish/tank (4 males and 6 females) for 4 months. The results showed that none of the reproductive parameters including the E2 profile and blood osmolality differed significantly between treatments except that the ovulation rate of the fish held in water salinities of 15 and 25 ppt were significantly higher than those of other salinities (p<0.05). The third study, timing for oocyte recruitment and reproductive performance of spotted scat from 5 consecutive inseminations were determined. The results showed that the timing for oocyte recruitment was 41.6 ± 6.8 days. Most reproductive performance parameters of the first and the second artificial insemination were not significantly different (p>0.05), except for oocyte diameter before hormone injection, ovulation rate and viable egg of recruited females (381.3 ± 16.0 μm, 37.5 ± 26.2 % and 54.8 ± 21.2%, respectively) that were smaller/lower than those of the former matured female broodfish (422.8 ± 12.1 μm, 72.9 ± 17.0 % and 81.3±7.2%, respectively). Histological investigation of the ovarian found hydrated oocytes, pre-vitellogenic oocytes, vitellogenic oocytes and post-vitellogenic oocytes were predominantly located in the mature ovaries of 1, 15, 30 and 45 days after stripping, respectively. The final study, maturation and the possible protandrous sex change (male in early age, and female when elder) of hatchery-reared spotted scat was undertaken. Mature male fish were selected for 2 rearing regimes in different 28 m3 tanks: in tank 1, only 50 males were reared for 18 months, and in tank 2, both males and females were reared together at a ratio of 1:2.5 (70 fish in total) for 12 months. Maturation and sex change were investigated every 3 months. The reproductive performance of two rearing regimes was not significantly different (p>0.05) except milt volume of the male fish in tank 1 seemed to have decreased gradually. There was no finding of protandrous sex change in both culture regimes. These studies indicate that spotted scat is an excellent euryhaline species. However, artificial insemination of spotted scat should be conducted at high salinities while lower water salinity levels should be applied for larval rearing following development of the larvae. Broodstock rearing can be applied wide range of water salinity which was unaffected oocyte development and egg quality. Mature female scat recruited new oocyte clutch after stripping which was indifference in most of reproductive performance compare with the former clutch. The evidence of sex change was not found in this study. Obtained data are useful for spotted scat broodstock establishment in hatchery for mass seed production planning which support commercial aquaculture in the future.
Abstract(Thai): ศึกษาการเตรียมพ่อแม่พันธุ์ปลาตะกรับ (Scatophagus argus Linnaeus, 1766) จากการเลี้ยงในโรงเพาะฟักและศักยภาพการเพาะขยายพันธุ์เพื่อรองรับการผลิตลูกปลาเชิงปริมาณในอนาคต โดยมีการศึกษา 4 เรื่อง ได้แก่ ผลของความเค็มของน้ําต่อการผสมเทียมปลาตะกรับและ อัตรารอดของลูกปลาวัยอ่อน ผลของความเค็มของน้ําต่อประสิทธิภาพการสืบพันธุ์ของแม่ปลา ตะกรับในโรงเพาะฟัก ระยะเวลาการสร้างไข่ชุดใหม่และประสิทธิภาพการสืบพันธุ์ของแม่ปลา ตะกรับหลังการผสมเทียม และความสมบูรณ์เพศและความเป็นไปได้ในการเปลี่ยนเพศของปลาตะกรับ การศึกษาที่ 1 ศึกษาผลของความเค็มของน้ํา 8 ระดับ (0, 5, 10, 15, 20, 25, 30 และ 35 พีพีที) ต่อการผสมเทียมปลาตะกรับที่จับจากทะเลสาบสงขลาและผลการอนุบาลลูกปลาวัยอ่อน โดยใช้แม่พันธุ์ผสมเทียมกับพ่อพันธุ์จํานวน 5 ครั้ง ผลการผสมเทียมพบว่า เปอร์เซ็นต์การตกไข่ของ แม่ปลาที่ความเค็ม 0 พีพีที (20 เปอร์เซ็นต์) มีค่าต่ํากว่าความเค็มอื่นๆ (80 - 100 เปอร์เซ็นต์) อัตรา การปฏิสนธิและอัตราการฟักมีค่าสูงที่ความเค็ม 25-35 พีพีที (62.8 - 66.9 เปอร์เซ็นต์ และ 53.6 - 54.9 เปอร์เซ็นต์ ตามลําดับ) อัตรารอดของลูกปลาอายุ 15 วัน มีค่าสูงที่ระดับความเค็มของน้ํา 10 และ 15 พีพีที (40.5 - 41.0 เปอร์เซ็นต์) การศึกษาที่ 2 ศึกษาผลของความเค็มของน้ําต่อประสิทธิภาพ การสืบพันธุ์ของแม่ปลาตะกรับที่ได้จากการเพาะพันธุ์และเลี้ยงในโรงเพาะฟักจนถึงวัยเจริญพันธุ์ โดยคัดเลือกแม่ปลาที่มีรังไข่ระยะพักและพ่อปลาสมบูรณ์เพศเลี้ยงในถังพลาสติกความจุ 1 ลูกบาศก์ เมตรที่ระดับความเค็มของน้ํา 5, 15, 25 และ 33 พีพีที ถังละ 10 ตัว (เพศผู้ 4 ตัวและเพศเมีย 6 ตัว) เป็นระยะเวลา 4 เดือน พบว่าศักยภาพการเพาะขยายพันธุ์ ฮอร์โมนเพศ (เอส-ตราไดออล) และค่า ออสโมลาลิตี้ของซีรัมของปลาที่เลี้ยงแต่ละความเค็มไม่มีความแตกต่างกัน (p>0.05) ยกเว้นอัตรา การตกไข่ของแม่ปลาที่เลี้ยงที่ระดับความเค็มน้ํา 15 และ 25 พีพีที มีค่าสูงกว่าระดับความเค็มอื่นๆ (p<0.05) การศึกษาที่ 3 ศึกษาระยะเวลาการสร้างไข่ชุดใหม่และประสิทธิภาพการสืบพันธุ์ของแม่ ปลาตะกรับที่เลี้ยงในโรงเพาะฟักหลังการผสมเทียม โดยผสมเทียมปลา 5 ครั้งและศึกษาการ พัฒนาการของเซลล์สืบพันธุ์ทางเนื้อเยื่อวิทยา พบว่าแม่ปลาใช้ระยะเวลาพัฒนาไข่ชุดใหม่หลังการ รีดไข่เฉลี่ย 41.6 ± 6.8 วัน ศักยภาพการเพาะพันธุ์ของการผสมเทียมครั้งแรกและครั้งที่สองภายหลัง การพัฒนาไข่ชุดใหม่ส่วนใหญ่ไม่แตกต่างกันยกเว้นขนาดไข่ก่อนฉีดฮอร์โมน เปอร์เซ็นต์การตกไข่ และเปอร์เซ็นต์ไข่ดีของแม่ปลาที่สร้างไข่ชุดใหม่ (381.3 + 16.0 ไมครอน, 37.5 ± 26.2เปอร์เซ็นต์ และ 54.8 ± 21.2 เปอร์เซ็นต์ ตามลําดับ) ที่เล็กกว่า/น้อยกว่าแม่ปลาที่มีไข่ในครั้งแรก (422.8 + 12.1 ไมครอน, 72.9 ± 17.0 เปอร์เซ็นต์ และ 81.3 + 7.2 เปอร์เซ็นต์ ตามลําดับ) (p<0.05) ผลทางเนื้อเยื่อ วิทยาพบเซลล์ไข่ระยะ hydrated oocytes, pre-vitellogenic oocytes, vitellogenic oocytes และ post- vitellogenic oocytes ซึ่งพบเป็นส่วนใหญ่ภายในรังไข่ของปลาอายุ 1 15 30 และ 45 วัน หลังรีดไข่ ตามลําดับ การศึกษาที่ 4 ศึกษาความสมบูรณ์เพศและความเป็นไปได้ของการเปลี่ยนเพศของปลา ตะกรับเพศผู้ที่เลี้ยงในโรงเพาะฟักแบบ protandrous คือเป็นเพศผู้ก่อนแล้วจึงเปลี่ยนเป็นเพศเมียใน ภายหลัง โดยการเลี้ยงสองแบบคือเลี้ยงพ่อปลาเพียงเพศเดียว 50 ตัว เป็นระยะเวลา 18 เดือน และ เลี้ยงพ่อปลาร่วมกับแม่ปลารวม 70 ตัว (สัดส่วน 1 : 2.5) เป็นเวลา 12 เดือน ในบ่อซีเมนต์ความจุ 28 ลูกบาศก์เมตร ตรวจสอบความสมบูรณ์เพศและการเปลี่ยนเพศทุก 3 เดือน พบว่าความสมบูรณ์เพศ ของพ่อปลาที่เลี้ยงทั้งสองแบบไม่แตกต่างกันยกเว้นปริมาณน้ําเชื้อของปลาที่เลี้ยงเพศเดี่ยวมี แนวโน้มลดลง และไม่พบการเปลี่ยนเพศของปลาเพศผู้ในการเลี้ยงทั้งสองแบบ การศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าปลาตะกรับเป็นปลาชนิดที่ทนความเค็มน้ําในช่วงกว้างอย่างดีเยี่ยม อย่างไรก็ตามการผสมเทียมปลาตะกรับต้องการความเค็มสูงแต่การอนุบาลลูกปลาควรใช้ความเค็มลดลงตามพัฒนาการของลูกปลา การเลี้ยงแม่พันธุ์สามารถใช้ระดับความเค็มของน้ําได้ ในช่วงกว้างโดยไม่ส่งผลลบต่อการสร้างไข่และคุณภาพไข่ แม่ปลาตะกรับสร้างไข่ชุดใหม่หลังจาก การรีดผสมเทียมโดยที่ศักยภาพการเพาะพันธุ์เมื่อเปรียบเทียบกับไข่ชุดแรกส่วนใหญ่ไม่แตกต่างกัน รวมทั้งไม่พบการเปลี่ยนเพศของพ่อปลาในการศึกษาครั้งนี้ ข้อมูลที่ได้เป็นประโยชน์ต่อการเตรียมพ่อแม่พันธุ์ปลาตะกรับจากการเลี้ยงในโรงเพาะฟักเพื่อการวางแผนการผลิตลูกปลาเชิงปริมาณเพื่อการเพาะเลี้ยงเชิงพาณิชย์ในอนาคต
รายละเอียด: Thesis (Ph.D., Aquatic Science)--Prince of Songkla University, 2018
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19046
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:530 Thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
435087.pdf1.93 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons