กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19038
ชื่อเรื่อง: | Fabrication and Characterization of a Resorbable Barrier Membrane Using Silk Fibroin-Fish Collagen Materials |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | การสังเคราะห์และศึกษาคุณลักษณะของแผ่นเยื่้อกั้นชนิดสลายตัวได้ที่ผลิตจากซิลค์ไฟโบรอินและคอลลาเจน |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | Prisana Pripatnanont Chanokpim Chankum Faculty of Dentistry (Surgery) คณะทันตแพทยศาสตร์ ภาควิชาศัลยศาสตร์ |
คำสำคัญ: | Mouth Surgery |
วันที่เผยแพร่: | 2018 |
สำนักพิมพ์: | Prince of Songkla University |
บทคัดย่อ: | Background: A collagen membrane had been the most widely used resorbable barrier membrane in guided bone regeneration, however, a membrane was collapsible and had fast degradation. Silk fibroin had been introduced for improving the properties of a membrane due to its high mechanical strength, low immunogenic responses, and economical advantage. This study aimed to fabricate a resorbable barrier membrane using the composite of silk fibroin and fish collagen materials. Physical and mechanical properties, and in vitro biocompatibilities were evaluated. Materials and Methods: A silk fibroin film was made of Bombyx Mori. silkworm and immobilized with collagen from brown-banded bamboo shark skin by chemical cross-linked. The various ratio of the silk fibroin film was hydrated prior tensile test to select suitable formula before immobilization with collagen. Then, physical and mechanical properties were evaluated to verify the characteristics of a barrier membrane compared with a commercial collagen membrane by using Scanning Electron Microscopy (SEM), Fourier Transform Infrared Spectroscopy (FTIR) and Atomic Force Microscopy (AFM), water contact angles, percentage of elongation, stiffness, swelling degree and degradation degree. In vitro biocompatibility was evaluated in terms of cell attachment and morphology on the membrane, cell viability, cell proliferation and differentiation using MC3T3-E1 cells. The statistical analysis was performed using SPSS software (Version 16.0, SPSS Inc., Chicago, IL, USA). An analysis of variance (ANOVA) was used to compare among experimental groups. The statistical significance was defined as a p-value less than 0.05. Results: The SEM examination demonstrated collagen fibril structure covering silk fibroin-collagen film on the front side and differed from silk fibroin film that showed a non- homogeneous smooth surface on both sides. The AFM demonstrated that silk fibroin-collagen film showed rougher surface and had a higher surface roughness (0.2155 μm) than silk fibroin film (0.1424 um). The FTIR of both silk fibroin film and silk fibroin-collagen film showed the spectrum of peptide bonds of Amide I, II, III and A. The silk fibroin film demonstrated fewer contact angles (76.75° ± 3.07) than silk fibroin-collagen film (112.67° ± 1.94), referred to the more hydrophilic surface. The average percentage of elongation of the silk fibroin film (28.93 ± 15.56) was less than the silk fibroin-collagen film (42.10 ± 11.46) and Bio-GideR collagen membrane (54.79 ± 13.44) but showed no statistical significance among groups (p-value> 0.05). The commercial collagen membrane exhibited significantly higher swelling degree and had slower degradation than other groups (p-value < 0.05). All study groups showed a similar pattern of cell proliferation that continuously increased with time in all groups. The silk fibroin film had significantly highest cell numbers (36,784.17 ± 2,681.73), which was higher than silk fibroin-collagen film (15,905.00 + 2,148.88) and Bio-Gide collagen membrane (12,317.50 ± 1,267.68) and showed statistical significance (p-value < 0.05) on culture Day 7. The result of mineralization on culture Day 21, collagen membrane was higher than other groups. On culture Day 28, collagen membrane (0.78 + 0.19) were in the same level as silk fibroin film (0.77 ± 0.13) and higher than silk fibroin-collagen film (0.56 +0.04) but showed no statistical significance (p-value> 0.05). Conclusion: The in-house silk fibroin film and silk fibroin-collagen film had been developed at an economic cost and possessed physical, mechanical and in vitro biocompatibility properties of a barrier membrane used for GBR. Further study on biocompatibility and the barrier efficacy in vivo should be performed. |
Abstract(Thai): | วัตถุประสงค์: แผ่นเยื่อกั้นคอลลาเจนเป็นแผ่นเยื่อกั้นชนิดสลายตัวที่นิยมใช้ในการชักนําให้กระดูกคืนสภาพ อย่างไรก็ตาม แผ่นเยื่อกั้นคอลลาเจนมีการยุบตัว คงรูปร่างไม่ได้ สลายตัวเร็ว ซิลค์ไฟโบรอินจึงถูกนํามาใช้เนื่องจากมีคุณสมบัติเชิงกลที่ดี ก่อให้เกิดการต้านต่อภูมิคุ้มกันน้อย ราคาไม่แพง การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์แผ่นเยื่อกั้นชนิดสลายตัวจากซิลค์ไฟโบรอินและ คอลลาเจนจากปลา ซึ่งมีคุณสมบัติเชิงกายภาพ คุณสมบัติเชิงกลเหมาะสม และเข้ากันได้กับเนื้อเยื่อใน ห้องปฏิบัติการ วัสดุและวิธีการ: แผ่นเยื่อกั้นซิลค์ไฟโบรอินขึ้นรูปจากไหมไทย นํามาเชื่อมกับพอลิ เมอร์คอลลาเจน โดยพันธะเคมีข้ามโซ่ นําแผ่นเยื่อกั้นซิลค์ไฟโบรอินไปแช่น้ําก่อนทดสอบคุณสมบัติ เชิงกล เพื่อเลือกสูตรในการขึ้นรูป จากนั้นนําไปเชื่อมพอลิเมอร์กับคอลลาเจน แล้วนําแผ่นเยื่อกั้นที่ผลิต ขึ้นมาใหม่ไปทดสอบคุณสมบัติเชิงกายภาพและเชิงกล เปรียบเทียบกับแผ่นเยื่อกั้นคอลลาเจนที่มีขายในท้องตลาด โดยดูลักษณะทางกายภาพของพื้นผิวด้วยด้วยกล้องอิเล็กตรอนแบบส่องกราด (SEM) กล้อง จุลทรรศน์แรงอะตอม (AFM) การศึกษาหมู่ฟังก์ชันของโมเลกุล (FTIR) การวัดมุมสัมผัสที่ภาวการณ์ เปียก ค่าเฉลี่ยร้อยละการยืดตัว อัตราการบวมน้ํา และอัตราการสลายตัว ทดสอบความเข้ากันได้ของ เนื้อเยื่อโดยใช้เซลล์สร้างกระดูกของหนู (MC3T3-E1) เพื่อศึกษาการยึดเกาะของเซลล์บนแผ่นเยื่อกั้น ความมีชีวิตของเซลล์ การเพิ่มจํานวนเซลล์ ค่าการดูดกลืนแสงจากการสร้างและสะสมแร่ธาตุ การ ทดสอบทางสถิติโดยโปรแกรม SPSS (Version 16.0, SPSS Inc., Chicago, IL, USA) และทดสอบ สมมติฐานทางสถิติแบบ analysis of variance (ANOVA) เปรียบเทียบระหว่างกลุ่มทดสอบ กําหนด ให้ผลการศึกษามีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับต่ํากว่า 0.05 ผลการศึกษา: การศึกษาลักษณะพื้นผิวของแผ่นเยื่อกั้นด้วยกล้องอิเล็กตรอนแบบส่อง กราด (SEM) พบเส้นใยคอลลาเจนบนพื้นผิวของแผ่นเยื่อกั้นซิลค์ไฟโบรอิน-คอลลาเจนเพียงหนึ่งด้านต่างจากแผ่นเยื่อกั้นซิลค์ไฟโบรอินซึ่งพบลักษณะพื้นผิวเรียบทั้งสองด้าน การศึกษาด้วยกล้องจุลทรรศน์แรงอะตอม (AFM) พบว่าแผ่นเยื่อกั้นซิลค์ไฟโบรอิน-คอลลาเจนมีลักษณะพื้นผิวที่หยาบกว่าและมีค่า ความหยาบของพื้นผิวเท่ากับ 0.2155 ไมโครเมตร ซึ่งมากกว่าแผ่นเยื่อกั้นซิลค์ไฟโบรอินที่มีค่าความ หยาบผิวเท่ากับ 0.1424 ไมโครเมตร การศึกษาหมู่ฟังก์ชันของโมเลกุล (FTIR) พบว่าทั้งแผ่นเยื่อกั้นซิลค์ไฟโบรอินและแผ่นเยื่อกั้นซิลค์ไฟโบรอิน-คอลลาเจนพบแถบหมู่พันธะเอไมด์ I, II, III และ A การวัด มุมสัมผัสที่ภาวการณ์เปียกของแผ่นเยื่อกั้นซิลค์ไฟโบรอิน (76.75 + 3.07 องศา) พบว่ามีค่าน้อยกว่าแผ่น เยื่อกั้นซิลค์ไฟโบรอิน-คอลลาเจน (112.67 + 1.94 องศา) ซึ่งแสดงถึงพื้นผิวที่ชอบน้ํา ค่าเฉลี่ยร้อยละ การยืดตัวของแผ่นเยื่อกั้นซิลค์ไฟโบรอิน (28.93 + 15.56 %) มีค่าน้อยกว่าแผ่นเยื่อกั้นซิลค์ไฟโบรอิน- คอลลาเจน (42,10 ± 11.46 %) และแผ่นเยื่อกั้นคอลลาเจน (54.79 + 13.44 %) แต่ไม่มีความแตกต่าง อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติระหว่างกลุ่มทดสอบ (ค่าพีมากกว่า 0.05) แผ่นเยื่อกั้นคอลลาเจนมีการบวมน้ํา สูงกว่า และสลายตัวต่ํากว่ากลุ่มทดสอบอื่นอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (ค่าพี่น้อยกว่า 0.05) ทุกกลุ่ม ทดสอบพบจํานวนของเซลล์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องคล้ายกันเมื่อเวลามากขึ้น วันที่ 7 ของการศึกษา แผ่น เยื่อกั้นซิลค์ไฟโบรอินพบจํานวนของเซลล์สูงที่สุดระหว่างกลุ่มทดสอบ (36,784.17 ± 2,681.73 ตัว) ซึ่ง สูงกว่ากลุ่มแผ่นเยื่อกั้นซิลค์ไฟโบรอิน-คอลลาเจน (15,905.00 + 2,148.88 ตัว) และแผ่นเยื่อกั้นคอลลา เจน (12,317.50 ± 1,267.68 ตัว) อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (ค่าพี่น้อยกว่า 0.05) วันที่ 21 ของการศึกษา การสร้างและสะสมแร่ธาตุ แผ่นเยื่อกั้นคอลลาเจนพบค่าการดูดกลืนแสงสูงที่สุด แต่ที่วันที่ 28 การศึกษาพบว่าแผ่นเยื่อกั้นคอลลาเจน (0.78 ± 0.19) มีค่าการดูดกลืนแสงใกล้เคียงกับแผ่นเยื่อกั้นซิลค์ ไฟโบรอิน(0.77 ± 0.13) และมากกว่าแผ่นเยื่อกั้นซิลค์ไฟโบรอิน-คอลลาเจน (0.56 ± 0.04) แต่ไม่พบ ความแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (ค่าพี่มากกว่า 0.05) สรุป: แผ่นเยื่อกั้นซิลค์ไฟโบรอินและแผ่นเยื่อกั้นซิลค์ไฟโบรอิน-คอลลาเจนที่ พัฒนาขึ้นมา มีคุณสมบัติเชิงกายภาพ คุณสมบัติเชิงกล และมีความเข้ากันได้กับเนื้อเยื่อใน ห้องปฏิบัติการ เหมาะสมกับการทําหน้าที่เป็นแผ่นเยื่อกั้น เพื่อใช้ในการชักนําให้กระดูกคืนสภาพ ควรมีการศึกษาเพิ่มเติมในสัตว์ทดลองเพื่อดูความเข้ากันได้กับเนื้อเยื่อและการทําหน้าที่เป็นแผ่นเยื่อกั้นใน ร่างกายของสิ่งมีชีวิต |
รายละเอียด: | Thesis (M.Sc., Oral and Maxillofacial Surgery)--Prince of Songkla University, 2018 |
URI: | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19038 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | 680 Thesis |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
434749.pdf | 3.25 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License