กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19035
ชื่อเรื่อง: Self-healing Process and Nurses’ Enhancement Perceived by Thai Buddhist Widows from Unrest Situations, Southernmost Region of Thailand
ชื่อเรื่องอื่นๆ: กระบวนการเยียวยาตนเองและการช่วยเหลือจากพยาบาลตามการรับรู้ขอหญิงหม้ายไทยพุทธจากเหตุการณ์ความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของไทย
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: Praneed Songwathana
Sujira Wichaidit
Faculty of Nursing (Adult and Elderly Nursing)
คณะพยาบาลศาสตร์ สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ
คำสำคัญ: Nurse and patient Thailand, Southern;Care of the sick
วันที่เผยแพร่: 2018
สำนักพิมพ์: Prince of Songkla University
บทคัดย่อ: This study aimed to describe the healing process of Thai Buddhist widows after the sudden loss of their spouse. Grounded theory method was employed for the research methodology. In-depth interview, and non-participation observations were used to collect the data. The participants comprised of 13 Buddhist widows (key informants) who had experienced the sudden loss of their spouse and gained success to heal themselves, and 2 nurses (associated informants) who were associated with widow's healing. The first two participants were selected using the snowball sampling (suggested by psychiatric nurses), and the rest were recruited by theoretical sampling. Data were analyzed using the coding procedure and constant comparison to generate the conceptual model. The results showed the core category of the healing process among Thai Buddhist widows which was named as "Reconciliations for Harmonious Life". This category comprised of three main subcategories consisting of; 1) Realizing the loss and learning to survive, 2) Cultivating to balance life, and 3) Fulfillment with the new life. The process of healing was facilitated in Thai Buddhist widows by two main factors 1) internal factors: religion belief, concerning of their parent's love and future of children, self-abilities and perceived of self-abilities, 2) external factors: support from family members and friends, caring from psychiatric nurses and health care provider teams, money compensation from government. In addition, Thai Buddhist widows reflected that their healing process was dynamic and receiving continuing support from nurses who played an important role on the healing process in each stage. Early on the first stage of the participants being exposed to the loss of their husband the nurses provided a nursing care by assessing their conditions and providing the support. In the second stage, the nurses provided several interventions through the supportive group and enhance the problem solving skills, as well as training in new skills that benefited the widows in their new careers. Lastly, the nurses took on the role as a mentor to coach the participants in gaining more self strength. The knowledge gained from this study could be used for developing the appropriate nursing interventions in facilitating and enhancing the strength and psychological growth of widows. Furthermore, the conceptual model derived from this study is required to be tested for further research.
Abstract(Thai): การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายกระบวนการเยียวยาตนเองของหญิงหม้ายไทยพุทธที่สูญเสียสามีอย่างกะทันหันจากเหตุการณ์ความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของไทย เป็นการวิจัยทฤษฎีฐานราก (Grounded theory) รวบรวมข้อมูลการวิจัยโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกและสังเกตแบบ ไม่มีส่วนร่วมผู้หญิงหม้ายไทยพุทธ จํานวน 13 คน (ผู้ให้ข้อมูลหลัก) ที่ประสบความสําเร็จในการเยียวยา ตนเอง และพยาบาลจิตเวช (ผู้ให้ข้อมูลรอง) จํานวน 2 คน ซึ่งปฏิบัติงานเกี่ยวกับการเยียวยาบุคคลที่ สูญเสียบุคคลที่รักและสมาชิกครอบครัวของกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักกล่าวถึง ใช้วิธีการคัดเลือกกลุ่ม ตัวอย่างโดยเริ่มจากการแนะนําของพยาบาลตามด้วยการเลือกตัวอย่างแบบลูกโซ่ (snowball sampling) และการเลือกตัวอย่างเชิงทฤษฎี (theoretical sampling) วิเคราะห์ข้อมูลโดยอาศัยการ ถอดรหัส (coding procedures) ร่วมกับการวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบ (Constant comparison) เพื่อสร้างโมเดลการเยียวยาตนเองของหญิงหม้ายไทยพุทธ ผลการวิเคราะห์ข้อมูลได้โมเดลกระบวนการเยียวยาตนเองของหญิงหม้ายไทยพุทธ “การฟื้นคืนสู่สมดุลชีวิต” (Reconciliation for Harmonious Life) โมเดลนี้ประกอบด้วย 3 กระบวนการย่อย ได้แก่ 1) การตระหนักรู้ในความสูญเสียและเรียนรู้เพื่อที่จะอยู่รอด (Realizing the loss and learning to survive), 2) การพัฒนาตนเองสู่ความสมดุลในชีวิต (Cultivating to balance life), 3) การเติมเต็มชีวิต ใหม่ (Fulfillment with the new life) โดยพบสองปัจจัยหลักที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการเยียวยาตนเอง ของหญิงหม้ายไทยพุทธ คือ 1) ปัจจัยภายในบุคคล ประกอบด้วยความเชื่อทางศาสนา การตระหนักถึง ความรักของพ่อแม่และอนาคตของบุตร ความสามารถของตนเองและการรับรู้ความสามารถของ ตนเอง 2) ปัจจัยภายนอก ประกอบด้วย การสนับสนุนจากครอบครัวและเพื่อน การดูแลของพยาบาล จิตเวชและทีมสุขภาพ ตลอดจนการช่วยเหลือด้านการเงินจากรัฐบาล นอกจากนี้ผู้ให้ข้อมูลหญิงหม้ายไทยพุทธยังสะท้อนกระบวนการเยียวยาว่ามีความเป็นพลวัตรและได้รับการช่วยเหลืออย่างต่อเนื่องจากพยาบาลซึ่งมีบทบาทสําคัญในแต่ละระยะ ในระยะแรก พยาบาลช่วยเหลือเยียวยาด้านจิตใจและประเมินความต้องการความช่วยเหลือ ในระยะที่สองพยาบาลได้สนับสนุนให้เข้าร่วมกิจกรรมที่หลากหลาย เช่นกลุ่มบําบัด และพัฒนาทักษะในการแก้ปัญหารวมถึงทักษะ ใหม่ๆที่ช่วยนําไปสู่การประกอบอาชีพ ส่วนระยะสุดท้าย พยาบาลให้การช่วยเหลือในลักษณะของการเป็นพี่ เลี้ยงให้คําแนะนําเพื่อเพิ่มความเข้มแข็งในตนเองมากขึ้น องค์ความรู้ที่ได้จากการวิจัยครั้งนี้ สามารถใช้ประโยชน์ในการพัฒนากิจกรรมพยาบาลเพื่อช่วยเสริมความเข้มแข็งในการเยียวยาและเกิดจิตที่ผ่องใสของหญิงหม้าย นอกจากนี้ยังเป็นประโยชน์ต่อการวิจัยในอนาคตในการทดสอบโมเดลการเยียวยา เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ต่อไป
รายละเอียด: Thesis (Ph.D., Nursing (International program))--Prince of Songkla University, 2018
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19035
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:646 Thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
433839.pdf1.44 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons