กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19032
ชื่อเรื่อง: Physicochemical properties and biological activities of Thai originated honeys
ชื่อเรื่องอื่นๆ: คุณสมบัติทางเคมีกายภาพและฤทธิ์ทางชีวภาพของน้ำผึ้งไทย
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: Nualpun Sirinupong
Orawee Foomaneechot
Faculty of Agro-Industry (Food Technology)
คณะอุตสาหกรรมเกษตร ภาควิชาเทคโนโลยีอาหาร
คำสำคัญ: Honey Thailand
วันที่เผยแพร่: 2018
สำนักพิมพ์: Prince of Songkla University
บทคัดย่อ: Honey harvested from different sources has different physicochemical and biological characteristics, biologically active compounds present in honeys, especially the group of antioxidants. This research studied on honeys produced from three different sources including para rubber, rambutan and longan. The results of physical and chemical analysis including moisture content, color, electrical conductivity, pH, viscosity, proline content and sugar content were found that they are in ranged of 14.84-17.80, 22-44 Pfundscale, 0.325-0.518 mS/cm, 4.04- 4.27, 2,755.67-3,220.33, 116.25-785.75 and 71.38-73.21%, respectively. The obtained values from experiment were in the standard range of natural honey. Rambutan honey has the highest sugar content of 73.21% and longan honey has the highest content of oligosaccharides of 2.78% as well as highest proline content of 787.75 mg/kg. Analysis of phenolic and flavonoid compounds were found that longan honey contained more phenolic and flavonoid compound than others two honeys. Analysis of enzyme activities in honey including diastase and invertase the results showed that both enzymes are in the ranged of 6-12 Gothe Scale and 36.87-147.02 Unit/Kg honey, respectively. Analysis of antioxidant activities, the 2,2-diphenyl-1-picrylhydrazyl (DPPH), 2,2'-azino-bis(3-ethylbenzothiazoline-6-sulphonic acid) (ABTS) scavenging activity, ferric reducing antioxidant power (FRAP), and ferrous chelating showed that longan honey showed better antioxidant capacity than rubber and rambutan honeys. Longan honey had highest antidiabetic activity. Prebiotic property of oligosaccharide in honey was studied by in vitro batch fermentation. The oligosaccharides was separated by activated charcoal filtration. The result showed that oligosaccharides presented in longan honey able to significantly stimulated microorganisms growth which were Bifidobacteria spp. and Lactobacillus spp. similar to that result of fructooligosaccharides fermentation oligosaccharide in longan honey also able to increase SCFA such as butyric acid, acetic acid and propionic acid
Abstract(Thai): น้ําผึ้งจากดอกไม้แต่ละชนิด จะมีลักษณะทางเคมีกายภาพและฤทธิ์ทางชีวภาพที่แตกต่างกันโดยเฉพาะกลุ่มของสารต้านอนุมูลอิสระ งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบทางเคมีกายภาพและฤทธิ์ทางชีวภาพของน้ําผึ้งที่ผลิตจากแหล่งดอกไม้ที่แตกต่างกัน คือ น้ําผึ้งลําไย น้ําผึ้งเงาะและน้ําผึ้งยางพารา ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีกายภาพของน้ําผึ้งทั้ง 3 ชนิด ได้แก่ ความชื้น สี ค่าการนําไฟฟ้า พีเอช ความหนืด ปริมาณน้ําตาลและปริมาณโพรลีน พบว่า น้ําผึ้งทั้งสามชนิดมีพีเอชอยู่ในช่วง 4.04 - 4.44 ค่าสีอยู่ในช่วง 22 - 44 พี่ฟันด์สเกล ความชื้นอยู่ ในช่วงร้อยละ 14.84 – 17.80 ความหนืดอยู่ในช่วง 2,755.67 - 3,220.23 เซนติพอยและค่าการนํา ไฟฟ้าอยู่ในช่วง 0.352 - 0.518 มิลลิซีเมนต์ต่อเซนติเมตรซึ่งค่าที่วัดได้จากผลการทดลองอยู่ในช่วง เกณฑ์มาตรฐานของน้ําผึ้งจากธรรมชาติ น้ําผึ้งลําไยมีพีเอชมากที่สุดคือ 4.44, มีค่าสีมากที่สุดคือ 44 พี ฟันด์สเกล, ความชื้นร้อยละ 17.80 และคามหนืด 3220.33 เซนติพอย น้ําผึ้งยางพารามีค่าการนํา ไฟฟ้ามากที่สุดคือ 0.518 มิลลิซีเมนต์ต่อเซนติเมตร การวิเคราะห์ปริมาณน้ําตาลพบว่า น้ําผึ้งเงาะมี ปริมาณน้ําตาลรีดิวซิ่งมากที่สุดคือ ร้อยละ 73.21 น้ําผึ้งลําไยมีปริมาณโอลิโกแซคคาไรด์ (ชนิดราฟฟิ โนส) มากที่สุดคือ ร้อยละ 2.78 และมีปริมาณโพรลีนมากที่สุด คือ 785.75 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมน้ําผึ้ง การวิเคราะห์เอนไซม์ในน้ําผึ้งประกอบด้วยไดแอสเทสและอินเวอร์เทสพบว่าน้ําผึ้งมีค่าของเอนไซม์ทั้ง สองชนิดอยู่ในช่วง 6-12 โกรสเกลและ 36.87 - 147.02 หน่วยต่อกิโลกรัมน้ําผึ้ง ปริมาณ สารประกอบฟีนอลิกและฟลาโวนอยด์ในน้ําผึ้งพบว่าน้ําผึ้งลําไยมีปริมาณมากกว่าน้ําผึ้งอีกสองชนิด โดยน้ําผึ้งยางพารามีสารประกอบฟีนอกลึกและฟลาโวนอยด์ต่ําที่สุด การวิเคราะห์สมบัติการต้าน อนุมูลอิสระ โดยวิธี DPPH, ABTS, FRAP และ Ferrous reducing พบว่า น้ําผึ้งลําไยมีคุณสมบัติใน การต้านอนุมูลอิสระสูงสุด และน้ําผึ้งลําไยยังมีฤทธิ์ในการต้านเบาหวานดีที่สุดอีกด้วย การศึกษา คุณสมบัติความเป็นพรีไบโอติกของโอลิโกแซคคาไรด์ในน้ําผึ้งลําไยโดยการหมักในระบบจําลองในลําไส้ ใหญ่มนุษย์ พบว่าโอลิโกแซคคาไรด์ในน้ําผึ้งสามารถกระตุ้นการเจริญเติบโตของ Bifidobacteria spp. และ Lactobacillus spp. ได้อย่างมีนัยสําคัญใกล้เคียงกับฟรุคโตโอลิโกแซคคาไรด์พรีไบโอติ กทางการค้า และพบว่าโอลิโกแซคคาไรด์ในน้ําผึ้งยังสามารถเพิ่มปริมาณกรดไขมันสายสั้น เช่น อะซิ ติก โพรพิโอนิก บิวทาริก และแลกติกได้เช่นกัน
รายละเอียด: Thesis (M.Sc., Functional Food and Nutrition)--Prince of Songkla University, 2018
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19032
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:850 Thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
434889.pdf1.64 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons