กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/18223
ชื่อเรื่อง: | ผลการฝึกเทคนิคจิตวิทยาการกีฬาเพื่อสร้างความเข้มแข็งทางจิตใจของนักกีฬาฟุตบอลเยาวชน |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The Effects of Sport Psychological training for increasing Mental toughness in youth soccer players |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สุใจ ส่วนไพโรจน์ ลุกมาน เฮาะมะ Faculty of Education (Psychology and Counseling) คณะศึกษาศาสตร์ ภาควิชาจิตวิทยาและการแนะแนว |
คำสำคัญ: | ความเข้มแข็งทางจิตใจ;จิตวิทยาการกีฬา |
วันที่เผยแพร่: | 2023 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
บทคัดย่อ: | The purpose of the effects of sport psychological training for increasing mental toughness research is to examine that 1) to study the mentally tough level of youth soccer players who attended Youth Soccer Thailand championship 2022.2) to compare the mentally tough level in athletes who participated in Sport Psychological Training program before and after training Sport Psychological Program. The research sample group was youth soccer player under 18 years old who attended Youth Soccer Thailand Championship 2022. They willing to participate in Sport Psychological Training program, using a simple random sampling method for the sample group of 15 people. Research tools were 1) The Mental toughness inventory with the reliability of .84 2) Sport Psychological Training program, taking 1 hour 30 minutes each session with 8 sessions. Data were analyzed by using statistically, Sum total, Mean, Standard Deviation and Paired Sample t-test. The results showed that 1) The level of mental toughness in youth soccer players were an average level (M = 130.73) and 2) The level of mental toughness in athletes who participated Sport Psychological Training program were significantly higher than before training at the .01 level. |
Abstract(Thai): | งานวิจัยเรื่องผลการฝึกเทคนิคจิตวิทยาการกีฬาเพื่อสร้างความเข้มแข็งทางจิตใจ เป็นงานที่มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความเข้มแข็งทางจิตใจของนักกีฬาฟุตบอลเยาวชนที่เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาเยาวชนแห่งชาติ ปี พ.ศ.2565 2) เปรียบเทียบระดับความเข้มแข็งทางจิตใจของนักกีฬากลุ่มตัวอย่างในระยะก่อนการทดลองกับระยะหลังการทดลอง กลุ่มประชากรในการวิจัยเป็นนักกีฬาฟุตบอลเยาวชนอายุไม่เกิน 18 ปี ที่เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาเยาวชนแห่งชาติระดับภาคใต้ มีความสมัครใจในการเข้าร่วมโปรแกรมการฝึกจิตวิทยาการกีฬาครั้งนี้ โดยการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างเป็นการสุ่มแบบง่ายโดยวิธีการจับฉลาก (Simple random sampling) จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบไปด้วย 1) แบบประเมินความเข้มแข็งทางจิตใจของนักกีฬา มีค่าความเชื่อมั่นที่ .84 2) โปรแกรมการฝึกเทคนิคจิตวิทยาการกีฬาโดยจัดให้นักกีฬาฟุตบอลเยาวชน จำนวน 8 ครั้ง ๆ ละ 1 ชั่วโมง 30 นาที วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติแบบวิเคราะห์คะแนนเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบค่าที (Paired Sample t-test) ผลการวิจัย พบว่า 1) นักกีฬาฟุตบอลเยาวชนมีระดับความเข้มแข็งทางจิตใจโดยรวมอยู่ในระดับ ปานกลาง (M = 130.73) 2) นักกีฬาฟุตบอลเยาวชนที่ฝึกโปรแกรมจิตวิทยาการกีฬาควบคู่การฝึกซ้อมกีฬาฟุตบอลมีระดับความเข้มแข็งทางจิตใจหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 |
รายละเอียด: | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต(จิตวิทยา), 2566 |
URI: | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/18223 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | 286 Thesis |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
6020121004.pdf | 9.35 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License