กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/18207
ชื่อเรื่อง: การจัดการเรียนรู้แบบ SAWQAR เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความสำคัญของผู้เรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Learning Management of the SAWQAR to Develop Reading Skill for Identifying Main Idea of Grade 2 Students
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุพรรษา สุวรรณชาตรี
รอปีอะ มะวี
Faculty of Education (Learning, Teaching, and Curriculum program)
คณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาการเรียนรู้ การสอน และหลักสูตร
คำสำคัญ: การจัดการเรียนรู้แบบ SAWQAR;ทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ;การอ่านขั้นประถมศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2022
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
บทคัดย่อ: The purposes of this research are as follows to: 1) Study the results of using SAWQAR learning management to improve the Reading Skill for Identifying Main Idea of 2nd graders and 2) study satisfaction with SAWQAR learning management to improve the Reading Skill for Identifying Main Idea of 2nd graders. The population is 2nd graders in the first semester of the 2022 academic year at Ban Chakae School. There are problems with reading skills. The school consists of 2 classrooms. The sample is from graders 2/2 in the first semester of the 2022 academic year at Ban Chakae School using Cluster Sampling. The one-group pretest-posttest design employs dependent t-test statistics. Phase 1 studies and synthesizes SAWQAR learning management. Phase 2 develops Reading Skill for Identifying Main Idea achievement tests and interviews with satisfaction with SAWQAR learning management. Phase 3 collects data and analyzes data. The findings show: 1. Learners who receive SAWQAR learning management achieve reading skills. SAWQAR managed learners had an average overall developmental average of 77.07 percent at the high-level developmental threshold at the.05 level and 29.78 percent development in each learning management plan, 43.50 percent, 40.30 percent, and 80.30 percent in the intermediate developmental threshold, respectively. This indicates that the average development score obtained is an increase in developmental value. Learners have improved learning. 2. Learners who receive SAWQAR learning management are satisfied with SAWQAR learning management, showing that SAWQAR learning management can develop learners to learn Reading Skill for Identifying Main Idea and have fun learning.
Abstract(Thai): การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลการใช้การจัดการเรียนรู้แบบ SAWQAR เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความสำคัญของผู้เรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 และ 2) ศึกษาความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบ SAWQAR เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความสำคัญของผู้เรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ประชากร คือ ผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนบ้านจะเฆ่ ที่มีปัญหาทางด้านทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ จำนวน 2 ห้องเรียน รวม 25 คน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้เรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนบ้านจะเฆ่ โดยใช้วิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Sampling) จำนวน 12 คนดำเนินการวิจัยโดยศึกษากลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลอง (One-group pretest-posttest design) ใช้สถิติ t-test แบบ Dependent การดำเนินการแบ่งเป็น 3 ระยะ ระยะที่ 1 ศึกษาและสังเคราะห์การจัดการเรียนรู้แบบ SAWQAR ระยะที่ 2 การพัฒนาแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ และแบบสัมภาษณ์ความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบ SAWQAR และระยะที่ 3 การเก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิจัย พบว่า 1. ผู้เรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบ SAWQAR มีผลสัมฤทธิ์ทักษะการอ่านจับใจความสำคัญหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผู้เรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบ SAWQAR มีพัฒนาการโดยรวมเฉลี่ยร้อยละ 77.07 อยู่ในเกณฑ์พัฒนาการระดับสูง และพัฒนาการในแต่ละแผนการจัดการเรียนรู้เฉลี่ยร้อยละ 29.78 43.50 40.30 อยู่ในเกณฑ์พัฒนาการระดับกลาง และ 80.30 อยู่ในเกณฑ์พัฒนาการระดับสูง ตามลำดับ แสดงว่า คะแนนพัฒนาการเฉลี่ยที่ได้ เป็นค่าพัฒนาการที่เพิ่มขึ้น ผู้เรียนมีการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น 2. ผู้เรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบ SAWQAR มีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบ SAWQAR แสดงว่า การจัดการเรียนรู้แบบ SAWQAR สามารถพัฒนาผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้ทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ และเกิดความสนุกสนานในการเรียนรู้
รายละเอียด: ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน), 2565
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/18207
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:270 Thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
6320120614.pdf2.58 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons