กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/18136
ชื่อเรื่อง: | การพัฒนาอนุพันธ์ Mitragynine ที่คาดว่ามีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ Acetylcholinesterase |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Development of mitragynine analogues as acetylcholinesterase inhibitors |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ลือลักษณ์ ล้อมลิ้ม วรมย์ญลิน ทิพย์มณี จุไรทิพย์ หวังสินทวีกุล Faculty of Pharmaceutical Sciences (Pharmaceutical Chemistry) คณะเภสัชศาสตร์ ภาควิชาเภสัชเคมี Faculty of Pharmaceutical Sciences (Pharmacognosy and Pharmaceutical Botany) คณะเภสัชศาสตร์ ภาควิชาเภสัชเวทและเภสัชพฤกษศาสตร์ Faculty of Medicine (Institute of Biomedical Engineering) คณะแพทยศาสตร์ สถาบันวิศวกรรมชีวการแพทย์ |
คำสำคัญ: | อะเซทิลโคลีนเอสเทอเรส;เอนไซม์;กระท่อม (พืช) การใช้รักษา;การใช้รักษา;โรคอัลไซเมอร์ |
วันที่เผยแพร่: | 2566 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
Abstract(Thai): | ภาวะสมองเสื่อม เป็นภาวะที่สมรรถภาพการทำงานของสมองบกพร่องในด้านการรู้คิด ส่งผลกระทบ ต่อความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวัน ซึ่งสาเหตุที่พบได้มากที่สุด คือ การเป็นโรคอัลไซเมอร์ โดย พยาธิวิทยาของโรคอัลไซเมอร์คือการมีปริมาณของสารสื่อประสาท Acetylcholine (ACh) ในสมอง ลดลงจากความเสียหายที่เกิดขึ้นบริเวณ Cholinergic neuron และนอกจากนี้การลดลงของ ACh ยังเกี่ยวข้องกับเอนไซม์ AcetyIcholinesterase (AChE) และ ButyryIcholinesterase (BChE) ซึ่งทำหน้าที่ย่อยสลาย ACh โดยกระบวนการ Hydrolysis โดยยากลุ่มหลักที่ใช้ในการรักษาโรคอัลไซเมอร์ใน ปัจจุบันคือยากลุ่ม AcetyIcholinesterase Inhibitors (AChEls) และสืบเนื่องจากปีพ.ศ. 2564 พืชกระท่อม ได้รับการปลดออกจากบัญชียาเสพติด ประเภทที่ 5 ทำให้สามารถปลูกไว้เพื่อครอบครอง ซื้อขาย และบริโภค ได้โดยไม่ผิดกฎหมาย รวมถึงมีการศึกษาเกี่ยวกับการสกัดและการทดสอบฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของ Mitragynine ซึ่งเป็นสารในกลุ่ม alkaloids ที่สกัดได้จากพืชกระท่อม (Mytragyna speciosa) พบว่ามีฤทธิ์ anti-AChE activity และ anti-BChE activity ผู้วิจัยจึงทำการสกัด Mitragynine และสังเคราะห์อนุพันธ์ Hydrazide และ Amide ของ Mitragynine โดยใช้ปฏิกิริยา Aminolysis เพื่อหวังพัฒนา Mitragynine ให้มี ฤทธิ์ที่ดีขึ้นและลดผลข้างเคียงให้น้อยที่สุด อย่างไรก็ตาม ระหว่างการสังเคราะห์ได้เกิดการสลายตัวของสารใน ปฏิกิริยา และเกิดผลิตภัณฑ์ขึ้นหลายตัว แต่เมื่อทำการทดสอบเอกลักษณ์แล้วพบว่าไม่ใช่สารที่คาดหวัง โดย ผู้วิจัยคาดว่าเกิดจากตำแหน่งที่ต้องการทำให้เกิดปฏิกิริยาของ Mitragynine มีหมู่แทนที่ข้างเคียงขนาดใหญ่ ซึ่งอาจบดบังการเกิดปฏิกิริยาได้ อีกทั้งสารตั้งต้น Mitragynine ที่ได้จากการสกัดยังไม่บริสุทธิ์เท่าที่ควร จึงอาจ มีสารบางตัวที่ปนเปื้อนมาสามารถแข่งขันในการเกิดปฏิกิริยาได้ดีกว่า Mitragynine อีกทั้งผู้วิจัยได้ เปลี่ยนแปลงวิถีสังเคราะห์เป็นการนำ Mitragynine มาทำปฏิกิริยา Hydrolysis ก่อนที่จะนำไปตั้งปฏิกิริยาต่อ เพื่อคาดหวังให้ได้ผลิตภัณฑ์ตามที่ต้องการ แต่พบว่าสารที่ได้ยังไม่มีความบริสุทธิ์เพียงพอที่จะนำไปพิสูจน์ เอกลักษณ์ก่อนนำไปทำการสังเคราะห์ในขั้นถัดไป |
URI: | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/18136 https://research.psu.ac.th/findproject/reDetail.php?pro_id=24712 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | 371 Research 565 Research 570 Research |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
454970-abstract.pdf | 65.7 kB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น