กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/18104
ชื่อเรื่อง: ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะคณะกรรมการด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมและการเปิดเผยข้อมูลด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมในรายงานแบบบูรณาการของบริษัทจดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกลุ่ม SET100
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The Relationship between CSR Committee Characteristics and Social and Environment Disclosure in Integrated Reporting of Listed Companies on the Stock Exchange of Thailand in SET100 Group
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: มัทนชัย สุทธิพันธุ์
ปณิชา เดชธนบดินท์
คณะวิทยาการจัดการ ภาควิชาการบัญชี
Faculty of Management Sciences (Accountancy)
คำสำคัญ: คณะกรรมการด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม;การเปิดเผยข้อมูลด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม;SET100;ประเทศไทย
วันที่เผยแพร่: 2023
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
บทคัดย่อ: This study aims to investigate the extent and pattern of integrated disclosure of Top100 listed companies from the Stock Exchange of Thailand (SET), to test the different level of integrated disclosure between the groups of interest, and to examine the relationship between environmental and social committee and integrated disclosure in annual reports of Top100 listed companies. The samples used in this study are Top100 listed companies of the SET from seven industries during 2018 to 2021. Integrated disclosure is qualify and quantify by scoring within 42 scores, while environmental and social committee is measured by size of committee, female committee, meeting frequency, dual position, and independent committee. Descriptive analysis, independent sample t-test, correlation matrix, and multiple regression are used to analyze the data in this study. As the results, the average scores of integrated disclosure are 29.52 scores in year 2018, 29.07 scores in year 2019, 30.93 scores in year 2020, and 32.44 scores in year 2021. Moreover, there is a positively significant relationship between independent committee and integrated disclosure, while dual position has negative influenced on integrated disclosure. However, there is no relationship between size of committee, female committee, meeting frequency, and integrated disclosure. The results of this study provide some contributions and implications. For example, legitimacy theory can be used to demonstrate that environmental and social committee can influence and affect corporate integrated disclosure of Top100 listed companies in Thailand as well as the other countries. This is because the integrated disclosure can reduce conflict of interest between corporations and their stakeholders by committee’ consideration, and can close information asymmetry problem. However, some limitations need to be mentioned. This study uses only the SET, while there is another capital market in Thailand namely the Market for Alternative Investment (mai). The proxies of environmental and social committee are stated as limitation because there are only five proxies of committee’s variable, while there are several proxied that can be measured as corporate board committee.
Abstract(Thai): การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะและแนวโน้มการเปิดเผยข้อมูลในรายงาน แบบบูรณาการของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกลุ่ม SET100 และเพื่อทดสอบ ความแตกต่างการเปิดเผยข้อมูลในรายงานแบบบูรณาการของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทยกลุ่ม SET100 1) ระหว่างก่อนปี พ.ศ.2563 และหลังปี พ.ศ.2563 2) ระหว่างบริษัท ที่การดำเนินงานส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมสูง และบริษัทที่การดำเนินงานส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ต่ำ 3) ระหว่างประธานกรรมการด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมและผู้จัดการใหญ่ไม่ใช่คนเดียวกัน และ ประธานกรรมการด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมและผู้จัดการใหญ่คือคนเดียวกัน และ 4) ระหว่างบริษัท ตรวจสอบบัญชีที่เป็น Big 4 และ Non-Big 4 และประการสุดท้ายเพื่อทดสอบความสัมพันธ์ระหว่าง ลักษณะคณะกรรมการด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมและการเปิดเผยข้อมูลด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมใน รายงานแบบบูรณาการของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกลุ่ม SET100 กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ คือ บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่ม SET100 ทั้ง 7 อุตสาหกรรม รวมทั้งสิ้น 90 บริษัท ระหว่างปี 2561 ถึง 2564 โดยการให้คะแนน เชิงคุณภาพและเชิงปริมาณตามตัวชี้วัดการเปิดเผยข้อมูลด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมในรายงานแบบ บูรณาการโดยมีคะแนนรวมทั้งสิ้น 42 คะแนน การศึกษาครั้งนี้ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา (Descriptive analysis) ด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เพื่อศึกษาลักษณะ และแนวโน้มการเปิดเผยข้อมูลในรายงานแบบบูรณาการของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่ง ประเทศไทย และใช้การวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ (Multiple regression) เพื่อทดสอบความสัมพันธ์ ระหว่างลักษณะคณะกรรมการด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมและการเปิดเผยข้อมูลในรายงานแบบบูรณาการ และนอกจากนี้ การศึกษาครั้งนี้ได้มีการทดสอบความแตกต่างของการเปิดเผยข้อมูลด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม ในรายงานแบบบูรณาการระหว่างอุตสาหกรรมที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมต่ำและอุตสาหกรรมที่ส่ง ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมสูง อีกทั้งยังทดสอบความแตกต่างของการเปิดเผยข้อมูลด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม ในรายงานแบบบูรณาการระหว่างปีที่บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 100 อันดับแรก ยังมิได้มีการนำรายงานแบบบูรณาการมาใช้ (พ.ศ.2561 - พ.ศ.2562) และปีที่บริษัทจดทะเบียนในตลาด หลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 100 อันดับแรกได้มีการนำรายงานแบบบูรณาการมาใช้แล้ว (พ.ศ.2563 - พ.ศ.2564) โดยใช้ Independent Sample t-test เป็นเครื่องมือในการทดสอบความแตกต่าง ผลการศึกษา พบว่าผลการปฏิบัติงานด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมโดยบริษัทจดทะเบียน ในประเทศไทย 100 อันดับแรก เท่ากับ 29.52 แสดงให้เห็นถึงการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน ด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมมากขึ้น จากเดิม 28.56 ในปี 2561 เป็น 29.07 ในปี 2562, 30.93 ครั้งใน ปี 2563 และ 32.44 ครั้งในปี 2564 นอกจากนี้ ยังพบความสัมพันธ์เชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญระหว่าง คณะกรรมการอิสระด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมกับผลการดำเนินงานด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม ในขณะที่ การควบตำแหน่งของประธานกรรมการด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมและผู้จัดการใหญ่ มีความสัมพันธ์เชิงลบ กับผลการดำเนินงานด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ตาม ขนาดของคณะกรรมการด้านสังคมและ สิ่งแวดล้อม สัดส่วนคณะกรรมการด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมเพศหญิง ความถี่การเข้าประชุมของ คณะกรรมการด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม และการเปิดเผยข้อมูลด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม ไม่มีความสัมพันธ์กัน ประโยชน์จากการศึกษาในครั้งนี้ได้ให้ผลลัพธ์ที่สามารถชักจูงบริษัทต่างๆ ให้ให้ความสนใจ กับการเปิดเผยข้อมูลด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เนื่องจากผลการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ สามารถลดความไม่สมดุลของข้อมูลและความขัดแย้งทางผลประโยชน์ระหว่างผู้ถือหุ้นและผู้บริหารระดับ สูงได้ ประการที่สอง ผลการศึกษานี้สามารถอธิบายได้ว่าทำไมจึงสามารถใช้ทฤษฎีความชอบธรรมเพื่อ อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างคณะกรรมการด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมกับการเปิดเผข้อมูลด้านสังคม และสิ่งแวดล้อม หรือคณะกรรมการด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมสามารถมีบทบาทสำคัญในการปรับปรุง คุณภาพและปริมาณของกระบวนการ เปิดเผยข้อมูลด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมได้หรือไม่ และเพื่อลด ค่าใช้จ่ายของหน่วยงาน สุดท้ายนี้ ผลการศึกษายังได้แสดงให้เห็นถึงแนวปฏิบัติด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ที่ให้ประโยชน์เพื่อลดความไม่สมดุลของข้อมูลระหว่างองค์กรและ ผู้มีส่วนได้เสียขององค์กร แต่อย่างไรก็ตามการศึกษาในครั้งนี้ไม่ได้รวบรวมผลการปฏิบัติงานด้านการเปิดเผย ข้อมูลสังคมและสิ่งแวดล้อมของทุกบริษัทที่จดทะเบียนในประเทศไทย ที่ซึ่งอาจทำให้ได้ผลลัพธ์ที่แตกต่าง กันของความสัมพันธ์ระหว่างคณะกรรมการด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมกับผลการเปิดเผยข้อมูลด้านสังคม และสิ่งแวดล้อม และการศึกษานี้มุ่งเน้นเฉพาะตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย แต่ไม่ใช่สำหรับตลาด ทุนทางเลือกรองในประเทศไทย คือ ตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ (mai) ที่ซึ่งก็ยังมีบริษัทจดทะเบียนอื่นๆ อีกจำนวนมาก อีกทั้งตัวแปรชี้วัดคณะกรรมการด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้มีเพียง 5 ตัวแปรเท่านั้น ที่ซึ่งตัวแปรที่ใช้ในการศึกษาก่อนหน้านี้อาจมีจำนวนมากกว่านี้ ดังนั้นเพื่อปิดข้อจำกัด ของการศึกษานี้ ข้อเสนอแนะสำหรับการศึกษาในอนาคตคือการรวบรวมข้อมูลทั้งตลาดทุนหลักและ ตลาดทุนรองของประเทศไทย และอาจมีการเพิ่มตัวแปรชี้วัดคณะกรรมการด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม ให้มากขึ้นด้วย
รายละเอียด: บัญชีมหาบัณฑิต (การบัญชี), 2566
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/18104
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:464 Thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
6410521706.pdf689.5 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons