กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/18088
ชื่อเรื่อง: รูปแบบการจัดการปัญหาการเข้าถึงบริการสุขภาพช่องปากในพื้นที่ห่างไกลโดยการมีส่วนร่วมของท้องถิ่นและชุมชน กรณีศึกษาบ้านเกาะโคบ ตำบลเกาะหมาก อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: A Problem Solving Model of Oral Health Services Accessing in Remote Areas by Local Administration and Community Participation : A Case Study of Ban Ko Kob, Ko Mak Sub-district, Pak Phayun District, Phatthalung
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พงค์เทพ สุธีรวุฒิ
ธนัชพร แดงแก้ว
Health System Management Institute
สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ
คำสำคัญ: การเข้าถึงบริการสุขภาพช่องปาก;พื้นที่ห่างไกล;การมีส่วนร่วมของท้องถิ่นและชุมชน
วันที่เผยแพร่: 2022
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
บทคัดย่อ: The purpose of this descriptive study was to study the model for managing problems of access to oral health services in remote areas through local and community participation. This study was conducted in Ban Ko Kob, Ko Mak subdistrict, Pak Phayun district, Phatthalung. The data was collected quantitatively from the 255 local people by checking their oral health and answering the questionnaire on factors of access to oral health services in remote areas. The qualitative data were collected by 3 subgroup discussions; 12 officials from the community group, 6 officers from the local government organization group, 7 authorities from the public health unit, and 12 personnels from the organized workshop. The results showed that the management model should start from raising awareness among communities and localities by surveying the situation, size, severity of the problems and causes and factors affecting access to oral health services. The surveyed information should be brought into three small group discussions and workshop in order for community, local, and public health agencies to share the goals and methods for reducing the size of the problem with an emphasis on the local community to increase promotion on the behavior of oral health protection of the locals in the community and to make the service more proactive. Plans and projects can be classified according to health determinants namely: individuals should develop the capacity of health officials, village health volunteers and people in the community to have knowledge on oral health care, oral diseases, awareness of oral health and beliefs in receiving oral health services. In terms of the environment, there should have an increase of access to oral health information, information on the right to treat dentistry and shuttle buses to access the dental care units with support from the local government organization. There should have community measures in the grocery stores and sweet shops. The local administrative organization mechanism should support scholarships for students in the area to study dental public health and return to work in the health promoting hospitals in the area and reinforce dental equipments and materials. Public health agencies should increase the issuance of mobile oral health services. The hospital should open a special appointment channel for patients in remote areas and an online appointment system to receive services at the community hospital by making appointments through the subdistrict health promoting hospital. Dental personnels should visit homes with a multidisciplinary team. There should have an integrated budget from the public health network and health insurance fund budget at the local or area level (NHSO), dental fund and the budget from the allocation within the school. In addition, there should be a joint monitoring and evaluation mechanism of communities, localities, and public health agencies. To implement the management model of access to oral health services in remote areas into practice, the executives of each concerned department should have a clear policy and working plan of each agency should be included as a routine.
Abstract(Thai): การศึกษาเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการจัดการปัญหาการเข้าถึง บริการสุขภาพช่องปากในพื้นที่ห่างไกลโดยการมีส่วนร่วมของท้องถิ่นและชุมชน กรณีศึกษาบ้านเกาะโคบ ต าบลเกาะหมาก อ าเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง เก็บข้อมูลโดยใช้ข้อมูลการตรวจสุขภาพช่องปาก ประชาชนจากหน่วยงานที่รับผิดชอบ ใช้แบบสอบถามปัจจัยการเข้าถึงบริการสุขภาพช่องปากในพื้นที่ ห่างไกล จ านวน 255 คน การสนทนากลุ่มผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มชุมชน จ านวน 12 คน กลุ่มองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จ านวน 6 คน กลุ่มหน่วยงานสาธารณสุข จ านวน 7 คน และจัด ประชุมเชิงปฏิบัติการผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง จ านวน 12 คน ผลการศึกษา พบว่ารูปแบบการจัดการปัญหาการเข้าถึงบริการสุขภาพช่องปากในพื้นที่ ห่างไกลควรเริ่มจากการสร้างความตระหนักให้กับชุมชนและท้องถิ่นโดยการส ารวจข้อมูลสถานการณ์ ขนาด ความรุนแรงของปัญหา รวมถึงปัจจัยที่มีผลต่อการเข้าถึงบริการสุขภาพช่องปาก น าข้อมูลเข้าสู่ การสนทนากลุ่มย่อยและเวทีประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อให้กลุ่มชุมชน กลุ่มองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และกลุ่มหน่วยงานสาธารณสุขร่วมกันก าหนดเปูาหมายและวิธีการส าคัญในการลดขนาดของปัญหา โดยเน้นให้ชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด าเนินการเพิ่มพฤติกรรมการส่งเสริมปูองกันสุขภาพ ช่องปากของประชาชน หน่วยบริการสาธารณสุขเพิ่มการท างานเชิงรุกในชุมชน ซึ่งสามารถจ าแนกแผนงาน โครงการตามปัจจัยก าหนดสุขภาพ ดังนี้ 1) ด้านปัจเจกบุคคลควรมีการพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่สาธารณสุข และอาสาสมัครสาธารณสุขประจ าหมู่บ้านให้สามารถด าเนินงานสุขภาพช่องปากในชุมชน พัฒนา ศักยภาพประชาชนให้มีความรู้ ความตระหนักในการดูแลสุขภาพช่องปากตนเองและผู้ที่อยู่ในความดูแล 2) ด้านสภาพแวดล้อมควรเพิ่มการเข้าถึงข้อมูลด้านสุขภาพช่องปาก ข้อมูลสิทธิการรักษาสุขภาพช่องปาก เพิ่มความสะดวกในการเดินทางโดยจัดให้มีรถรับส่งประชาชนเพื่อไปรับบริการสุขภาพช่องปากที่สถาน บริการซึ่งเป็นการสนับสนุนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีมาตรการชุมชนในร้านขายของช า ร้านน้ าหวาน ในชุมชน และ 3) ด้านระบบกลไกควรมีการสนับสนุนทุนการศึกษาจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้ นักเรียนในพื้นที่เข้าเรียนทันตสาธารณสุขและกลับมาท างานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพต าบลในพื้นที่ และสนับสนุนครุภัณฑ์ วัสดุทันตกรรมในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพต าบล หน่วยงานสาธารณสุขควร เพิ่มการท างานเชิงรุกโดยการออกหน่วยเคลื่อนที่ให้บริการสุขภาพช่องปากในพื้นที่ห่างไกล โรงพยาบาล ชุมชนควรเปิดช่องทางนัดพิเศษให้ประชาชนและมีระบบนัดคิวออนไลน์ เพื่อเข้ารับบริการทันตบุคลากร ควรออกเยี่ยมบ้านร่วมกับทีมสหวิชาชีพ นอกจากนี้ควรมีการบูรณาการงบประมาณจากหลายแหล่ง ได้แก่ งบประมาณเครือข่ายสาธารณสุข งบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ (สปสช.) งบประมาณจากองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น สหกรณ์โรงเรียน และงบประมาณที่เกิด จากการระดมทุนในชุมชน ซึ่งการขอใช้งบประมาณจะพิจารณาตามความเหมาะสมของโครงการ นอกจากนี้ ควรมีกลไกการติดตามประเมินผลร่วมกันของชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานสาธารณสุข เพื่อให้เกิดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และน าไปสู่การทบทวน ปรับแนวทางด าเนินงานต่อไป การน ารูปแบบการจัดการปัญหาการเข้าถึงบริการสุขภาพช่องปากในพื้นที่ห่างไกล ไปสู่การปฏิบัติผู้บริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานสาธารณสุขควรมีนโยบายที่ ชัดเจนและควรบรรจุเป็นแผนงานประจ าของแต่ละหน่วยงาน รวมถึงชุมชนควรมีแผนงานด้านสุขภาพ ช่องปากเพื่อพัฒนาให้ประชาชนมีการเข้าถึงบริการสุขภาพช่องปากและมีสุขภาพช่องปากที่ดี
รายละเอียด: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการระบบสุขภาพ), 2565
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/18088
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:148 Thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
6210024006.pdf2.04 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons