Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/18061
Title: การพัฒนาโปรแกรมการฝึกออกกำลังกายโดยใช้น้ำหนักตัวเพื่อสร้างเสริมสุขสมรรถนะสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลายในจังหวัดปัตตานี
Other Titles: Development of Body Weight Exercise Program for Health Related Physical Fitness for Upper Elementary Students in Pattani Province
Authors: ถาวรินทร รักษ์บำรุง
นิสมาน มะสีละ
Faculty of Education (Learning, Teaching, and Curriculum program)
คณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาการเรียนรู้ การสอน และหลักสูตร
Keywords: การฝึกออกกำลังกายโดยใช้น้ำหนักตัว;สุขสมรรถนะ;นักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย;การพัฒนาโปรแกรมการฝึก;การฝึกด้วยน้ำหนักสำหรับเด็ก;การทดสอบด้วยการออกกำลังกาย
Issue Date: 2022
Publisher: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Abstract: The purpose of this research was to 1) To development the body weight exercise programs for Health Related physical fitness in Pattani Province upper elementary students. 2) To compare Health Related physical fitness between before and after training program in experimental and control groups. 3) To compare Health Related physical fitness between experimental and control groups after training program. 46 upper elementary students’ boy and girl aged 10-12 years and randomly assigned into two groups. Group I: 23 upper elementary students are Control Group (CG) mean (age 11 years, height 144.39 cm, Weight 39.23 kg). Group II: 23 upper elementary students are Experimental Group (EG) (Body weight training programs workout 8 weeks, 2 days/ week) mean (age 11.13 years, height 144.87 cm, Weight 38.35 kg). The data for the studies was found that 1. The results of the development of a bodyweight exercise program to enhance well-being for students in upper primary school in Pattani Province The consistency index (IOC) was 0.80 consisting of 1) Resistance training exercises using body weight exercises. 2) The principle of exercise (Principle of Exercise) of the American College of Medicine (ACSM, 2018) 3) The principle of training using progressive training by increasing the number of sets of training from 2 sets at weeks 1-4 to 3 sets, at weeks 5-8 and use variations of training to define a set of different postures for pediatric training; and 4) The training program is a full body workout by developing different parts, consisting of pectoral muscle group, leg muscle group, abdominal muscle group, back muscle group, muscle group. forearm, hip muscle group by each muscle group 2. There was a statistically significant increase in muscle mass, strength and endurance in and statistically significant decrease in body fat percentage at the .01 level in male students’ experimental group, while there was no difference in female students’ experimental group. 3. After training there was found that, the male students’ experimental group had the muscle mass, flexibility, muscle strength and muscle endurance significantly higher than the control group at the .05 level and the female student experiment group, and the female students’ experiment group had the muscle mass, flexibility, strength, and endurance significantly higher than the control group at the .05 level. It was concluded that the body weight exercise programs can improved students’ Health Related physical fitness. Therefore, it should be used the exercise program for promoted student’s health their fitness. In addition, the exercise program can also be used in physical education teaching and learning for students to have good physical health. Keywords : body weight training, physical fitness test, upper elementary students
Abstract(Thai): การศึกษาวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาโปรแกรมการฝึกออกกำลังกายโดยใช้น้ำหนักตัวสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลายในจังหวัดภาคใต้ชายแดน 2) เปรียบเทียบสุขสมรรถนะก่อนและหลังการใช้โปรแกรมการฝึกออกกำลังกายโดยใช้น้ำหนักตัวภายในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม 3) เปรียบเทียบสุขสมรรถนะสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลายระหว่างนักเรียนที่ใช้โปรแกรมการฝึกออกกำลังกายโดยใช้น้ำหนักตัวกับกลุ่มควบคุม กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเมืองปัตตานี ปีการศึกษา 2564 มีอายุ 10-12 ปี ซึ่งการเลือกกลุ่มตัวอย่างในครั้งนี้ได้มาโดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Random Sampling) จำนวน 46 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ควบคุมจำนวน 23 คน มีอายุเฉลี่ย 11.0 ปี ส่วนสูงเฉลี่ย 144.39 ซม. และมีน้ำหนักตัวเฉลี่ย 38.23 กก. กลุ่มที่ 2 กลุ่มทดลองจำนวน 23 คน มีอายุเฉลี่ย 11.13 ปี ส่วนสูงเฉลี่ย 144.87 ซม. และมีน้ำหนักตัวเฉลี่ย 38.35 กก. ทำการฝึกออกกำลังกายโดยใช้น้ำหนักตัว เป็นเวลา 8 สัปดาห์ ๆ ละ 2 วัน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองได้แก่ 1) โปรแกรม การฝึกออกกำลังกายโดยใช้น้ำหนักตัว จำนวน 24 ท่า โดยแบ่งตามกลุ่มของกล้ามเนื้อจำนวน 6 กลุ่ม ในแต่ละกลุ่มของกล้ามเนื้อจะมีท่าในการออกกำลังกายจำนวน 4 ท่า ยกตัวอย่าง เช่น กลุ่มกล้ามเนื้อหน้าอก : มัดกล้ามเนื้อหน้าอก (Pectoralis) ประกอบด้วยท่าการฝึกออกกำลังกายโดยใช้น้ำหนักตัว ได้แก่ 1) Push-Ups 2) Plank Rotations 3) Chest Squeezes 4) Shoulder Taps 2) แบบทดสอบสุขสมรรถนะมาตรฐานนานาชาติ (International Committee for the Standardization of Physical Fitness Test หรือ ICSPFT) และ 3) แบบทดสอบและเกณฑ์มาตรฐานสุขสมรรถนะของนักเรียน ระดับประถมศึกษา (อายุ 7 - 12 ปี) ของสำนักวิทยาศาสตร์การกีฬา กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการพัฒนาโปรแกรมการฝึกออกกำลังกายโดยใช้น้ำหนักตัว เพื่อสร้างเสริมสุขสมรรถนะ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลายในจังหวัดปัตตานี โดยมีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) เท่ากับ 0.80 ประกอบด้วย 1) รูปแบบการฝึกวิธีการฝึกแบบแรงต้าน (Resistance training) โดยใช้น้ำหนักตัว (Body weight exercise) 2) หลักการออกกำลังกาย (Principle of Exercise) ของ American College of Medicine (ACSM, 2018) 3) หลักการฝึก (Principle of Training) โดยใช้ หลักการฝึกแบบก้าวหน้า (Progressive of Training) โดยการเพิ่มจำนวน set ของการฝึกจาก 2 set ในสัปดาห์ที่ 1-4 เป็น 3 set ในสัปดาห์ที่ 5- 8 และใช้การฝึกแบบหลากหลาย (Verities of Training) ในการกำหนดชุดการฝึกให้มีท่าทางที่หลากหลายสำหรับการฝึกในเด็ก และ 4) โปรแกรมการฝึกเป็นรูปแบบการฝึกทั้งตัว (Full body workout) โดยพัฒนาส่วนต่าง ๆ ประกอบด้วย กลุ่มของกล้ามเนื้ออก, กลุ่มของกล้ามเนื้อขา, กลุ่มของกล้ามเนื้อท้อง, กลุ่มของกล้ามเนื้อหลัง, กลุ่มของกล้ามเนื้อแขน, กลุ่มของกล้ามเนื้อสะโพก โดยแต่ละกลุ่มของกล้ามเนื้อ 2. ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยสุขสมรรถนะก่อนและหลังการใช้โปรแกรมการฝึกออกกำลังกายโดยใช้น้ำหนักตัวสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลายในจังหวัดปัตตานี พบว่าภายหลังการฝึกนักเรียนชายและนักเรียนหญิงที่ใช้โปรแกรมการฝึกออกกำลังกายโดยใช้น้ำหนักตัว มีมวลของกล้ามเนื้อ, ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ, ความอดทนของกล้ามเนื้อ และความอดทนของระบบไหลเวียนและหายใจ เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 ส่วนเปอร์เซ็นต์ไขมันร่างกาย ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 สำหรับดัชนีมวลกาย และอัตราเส้นรอบเอวต่อรอบไม่พบความแตกต่างทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ .01 ทั้งนักเรียนหญิงและนักเรียนชาย ส่วนความอ่อนตัวของนักเรียนหญิง ภายหลังการใช้โปรแกรมการฝึกออกกำลังกายโดยใช้น้ำหนักตัวไม่พบความแตกต่างกัน 3. ผลการเปรียบเทียบสุขสมรรถนะสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลายระหว่างนักเรียนที่ใช้โปรแกรมการฝึกออกกำลังกายโดยใช้น้ำหนักตัวกับนักเรียนที่ออกกำลังกายปกติ พบว่า ค่าเฉลี่ยของสุขสมรรถนะระหว่างนักเรียนชายที่ออกกำลังกายตามปกติ และนักเรียนชายที่ใช้โปรแกรมการฝึกออกกำลังกายโดยใช้น้ำหนักตัว มีความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและความอดทนของกล้ามเนื้อ ในรายการลุก-นั่ง 30 วินาที และวิ่งเร็ว 50 เมตร แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนองค์ประกอบของร่างกาย, ความอ่อนตัว และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ในรายการแรงบีบมือ ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สำหรับนักเรียนหญิงที่ใช้โปรแกรมการฝึกออกกำลังกายโดยใช้น้ำหนักตัว (กลุ่มทดลอง) ภายหลังการฝึกไม่พบความแตกต่างกันในทุกรายการ คำสำคัญ : การฝึกด้วยน้ำหนักโดยใช้น้ำหนักตัว, สุขสมรรถนะ, นักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย
Description: ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรและการสอน), 2565
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/18061
Appears in Collections:270 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6220120603.pdf7.98 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons