Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/18060
Title: การจัดการภาวะสับสนเฉียบพลันของผู้ป่วยบาดเจ็บสมองโดยพยาบาลห้องฉุกเฉิน
Other Titles: Emergency Nurses’ Acute Agitation Management in Patients with Traumatic Brain Injury
Authors: จินตนา ดำเกลี้ยง
จิราภรณ์ ชูอ่อน
Faculty of Nursing (Adult and Elderly Nursing)
คณะพยาบาลศาสตร์ สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ
Keywords: บาดเจ็บสมอง;สับสนเฉียบพลัน;ห้องฉุกเฉิน;สมอง บาดแผลและบาดเจ็บ ผู้ป่วย
Issue Date: 2022
Publisher: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Abstract: This study aimed to examine emergency nurses’ management of acute agitation in patients with traumatic brain injury. Participants were 65 patients with acute agitation after a traumatic brain injury (TBI) who were admitted in the emergency room. Data were collected by using 3 sets of tools: (1) Patients’ information including a. demographic data, b. information related to injury and treatment, (2) Agitated Behavior Assessment Scale (ABS) used to examine level of agiataion before and after nurses’ management, and (3) Observation checklist related to emergency nurses’ management of agitation in patients with TBI. The tools were tested for content validity by 3 experts and yielded content validity index of 1.00. The ABS yielded equivalence reliability of .89. Data were analyzed using frequency, percentage, mean, and standard deviation. Results: 1. All patients with TBI (100%) with any level of agitation were managed in these activities (1) assessement of agitation before nurses’ management, (2) physical restraint, (3) environment control, (4) short, concise, and clear speech, and informed the patient before the procedure, and (5) re-assessment after nurses’ management. 2. Emergency nurses’ management differed in patients with different levels of agitation, including (1) all patients (100%) with severe or moderate levels were notified to the physician, while 91.7% of patients with mild level were notified, (2) most of the patients (64.3%) with severe level of agitation were administered drugs followed by 32.0% of patients with moderate level and 16.7% with mild level of agitation, and (3) 17.9% of the patients with severe level were asked/reminded on perceptions about person and place. 3. The level of agitation of patients after TBI before and after nurses’ management revealed that before nurses’ management, 43.1% of patients were in a severe level, followed by moderate level (38.4%), and mild level (18.5%). After nurses’ management, 32.3% of patients were in a moderate level, followed by 33.8% in a mild level, and 18.5% with no agitation. The results could be used as basic information to develop a guideline to manage acute agitation in patients after TBI in order to improve the quality of emergency nurses’ management of agitation in patients with TBI.
Abstract(Thai): การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการจัดการภาวะสับสนเฉียบพลันของผู้ป่วย บาดเจ็บสมองโดยพยาบาลห้องฉุกเฉิน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยที่มีภาวะสับสนเฉียบพลันภายหลังการบาดเจ็บสมองที่เข้ารับการรักษาในห้องฉุกเฉิน จำนวน 65 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล แบ่งออก เป็น 3 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 ข้อมูลของผู้ป่วย ประกอบด้วย 2 ตอน ได้แก่ ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วยบาดเจ็บสมอง และตอนที่ 2 ข้อมูลการบาดเจ็บและประวัติการรักษา ส่วนที่ 2 คือ แบบประเมินภาวะสับสนเฉียบพลันภายหลังการบาดเจ็บสมอง (Agitated Behavior Scale: ABS) ใช้ในการประเมินภาวะสับสนก่อนและหลังการจัดการ ส่วนที่ 3 คือ แบบสังเกตการจัดการภาวะสับสนเฉียบพลันของผู้ป่วยภายหลังการบาดเจ็บสมองโดยพยาบาลห้องฉุกเฉิน ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน ได้ค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหา เท่ากับ 1.00 และนำเครื่องมือแบบประเมินภาวะสับสนเฉียบพลันภายหลังการบาดเจ็บสมอง (Agitated Behavior Scale: ABS) หาความเที่ยงแบบประเมินโดยวิธีการหาค่าความเท่าเทียมของการสังเกต ได้ค่าความเท่าเทียมกันจากการสังเกต เท่ากับ .89 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1. ผู้ป่วยภายหลังบาดเจ็บสมอง ร้อยละ 100 ได้รับการจัดการภาวะสับสนเฉียบพลันโดยพยาบาลในทุกระดับความรุนแรงของภาวะสับสน ในเรื่อง (1) การประเมินภาวะสับสนเฉียบพลันก่อนการจัดการ (2) การผูกยึดร่างกาย (3) การจัดการด้านสิ่งแวดล้อม (4) การพูดสั้น ๆ กระชับ ชัดเจน และแจ้งผู้ป่วยให้ทราบก่อนทำหัตถการ และ 5) การประเมินผู้ป่วยภายหลังการจัดการ 2. การจัดการภาวะสับสนเฉียบพลันของผู้ป่วยภายหลังการบาดเจ็บสมองโดยพยาบาลห้องฉุกเฉินที่แตกต่างกันในแต่ละระดับความรุนแรงของภาวะสับสน ได้แก่ 1) การรายงานแพทย์ พบมีการรายงานในผู้ป่วยสับสนระดับรุนแรงมากและปานกลาง ร้อยละ 100 ในขณะที่ระดับเล็กน้อย ได้รับการรายงาน ร้อยละ 91.7 (2) การบริหารยา พบว่า ผู้ป่วยสับสนระดับรุนแรงมาก ได้รับการบริหารยา ร้อยละ 64.3 รองลงมาคือ ระดับปานกลาง ได้รับร้อยละ 32.0 และระดับเล็กน้อย ได้รับร้อยละ 16.7 ตามลำดับ และ (3) มีการถาม/ย้ำเตือนการรับรู้ความเป็นปัจจุบันเกี่ยวกับบุคคล สถานที่ พบว่า ผู้ป่วยระดับรุนแรง ร้อยละ 17.9 ได้รับการจัดการด้วยวิธีดังกล่าว ซึ่งไม่พบในผู้ป่วยระดับปานกลางและเล็กน้อย 3. ระดับภาวะสับสนเฉียบพลันของผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บสมองก่อนและหลังการจัดการ พบว่า ก่อนการจัดการผู้ป่วยส่วนใหญ่มีภาวะสับสนอยู่ในระดับรุนแรง ร้อยละ 43.1 รองลงมาอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 38.4 และระดับเล็กน้อย ร้อยละ 18.5 ภายหลังการจัดการ พบว่า ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีภาวะสับสนอยู่ในระดับเล็กน้อย ร้อยละ 33.8 รองลงมาอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 32.3 และไม่มีภาวะสับสนร้อยละ 18.5 ผลการศึกษาครั้งนี้สามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลในการพัฒนาแนวทางการจัดการผู้ป่วยที่มีภาวะสับสนเฉียบพลันภายหลังการบาดเจ็บสมอง เพื่อเพิ่มคุณภาพในการจัดการภาวะสับสนเฉียบพลันของผู้ป่วยภายหลังการบาดเจ็บสมองของพยาบาลห้องฉุกเฉิน
Description: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ), 2565
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/18060
Appears in Collections:646 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6110420008.pdf1.61 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons