กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/18057
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาเกณฑ์ปกติและอิทธิพลเชิงสาเหตุของการรู้ทางชีวภาพสำหรับนักเรียน โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยในประเทศไทย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Development of Norm and Causal Influencing Biological Literacy of Students of Princess Chulabhorn Science High Schools in Thailand
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อาฟีฟี ลาเต๊ะ
แววฤดี แววทองรักษ์
นูรีซะห์ สือรี
Faculty of Education (Measurement and Educational Research)
คณะศึกษาศาสตร์ ภาควิชาประเมินผลและวิจัยทางการศึกษา
คำสำคัญ: เกณฑ์ปกติ;การรู้ทางชีวภาพ;ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพล;นักเรียน การประเมินศักยภาพ;การวัดผลทางการศึกษา;วิทยาศาสตร์ชีวภาพ การทดสอบ
วันที่เผยแพร่: 2022
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
บทคัดย่อ: The objectives of this research was to establish the norm and to study the causal factors influence the biological literacy of Princess Chulabhorn Science High Schools in Thailand. There are 1580 students of Princess Chulabhorn Science High Schools in Mathayom 6. The sample divided into 2 phases. Phase 1 consisted of 402 students using Krejcie and Morgan, Phase 2 convenience sampling was selected by 275 students according to the ratio of parameters. The instruments used in the phase 1 research were biological literacy tests of 25 questions and Phase 2, 12 questions and 7 aspects of questionnaire include, motivation, curiosity, instructional media, edutainment, biology teacher, academic of biology and source of learning. The data was statistically analyzed by using basic statistics t-test one – way ANOVA T-score percentile and construct norms of biological literacy and analyzing the causal factors using Smart PLS 3.0 program. The results of the study showed that when classified by gender, it was found that the mean of biological cognition in attitudes and in overall has statistically significant differences at the .05 level. The overall average scores of biological literacy were classified by each region does not have statistically significant differences. The sample of biological literacy norms were ranged from T20 to T80 (P0.12 – P99.88). The results of the hypothesis testing of the structural equation model from all 14 hypotheses show that only 4 hypotheses are supported as followed: 1) academic of biology has a positive influence on curiosity, 2) biology teacher has a positive influence on edutainment, 3) instructional media has a positive influence on edutainment and 4) motivation has a positive influence on curiosity. The other 10 hypotheses showed that the influence between the two latent variables is not statistically significant, which mean that it cannot support the hypothesis set forth.
Abstract(Thai): การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างเกณฑ์ปกติและศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อการรู้ทางชีวภาพของนักเรียนโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยในประเทศไทยประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยที่กำลังศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีทั้งสิ้น 1580 คน กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 2 ระยะ ระยะที่ 1 จำนวน 402 คน โดยใช้สูตรของเครจซี่และมอร์แกน ระยะที่ 2 จำนวน 275 คน โดยใช้อัตราส่วนจำนวนพารามิเตอร์ของสถิติวิเคราะห์ สุ่มตามความสะดวก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ระยะที่ 1 คือ แบบทดสอบการรู้ทางชีวภาพ จำนวน 25 ข้อ ระยะที่ 2 แบบทดสอบการรู้ทางชีวภาพ จำนวน 12 ข้อและแบบสอบถาม 7 ด้าน ได้แก่ ด้านแรงจูงใจ ด้านความใฝ่รู้ ด้านสื่อการเรียนรู้ ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านครูผู้สอนชีววิทยา ด้านโอกาสทางวิชาการด้านชีววิทยา และด้านแหล่งการเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลโดย วิเคราะห์ด้วยสถิติพื้นฐาน ค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว คะแนนที เปอร์เซ็นไทล์ เกณฑ์ปกติการรู้ทางชีวภาพ ผลการศึกษาพบว่า ค่าเฉลี่ยการรู้ทางชีวภาพในด้านเจตคติและภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อจำแนกตามรายภาค พบว่า ค่าเฉลี่ยการรู้ทางชีวภาพในภาพรวมมีความแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ เกณฑ์ปกติของคะแนนการรู้ทางชีวภาพของกลุ่มตัวอย่างโดยรวม มีช่วงคะแนนที ตั้งแต่ T20 ถึง T80 (P0.12 – P99.88) ผลการทดสอบสมมติฐานโมเดลสมการโครงสร้างจากทั้ง 14 สมมติฐานปรากฏว่าสนับสนุนสมมติฐานที่กำหนดเพียง 4 สมมติฐาน 1) โอกาสทางวิชาการด้านชีววิทยาต่อความใฝ่รู้ 2) ครูผู้สอนชีววิทยาต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 3) สื่อการเรียนรู้ต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 4) แรงจูงใจต่อความใฝ่รู้ ส่วนอีก 10 สมมติฐานปรากฏผลการมีอิทธิพลระหว่างตัวแปรแฝงทั้ง 2 ตัวอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ กล่าวคือ ไม่สามารถสนับสนุนสมมติฐานที่กำหนดไว้
รายละเอียด: ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (การวิจัยและประเมินผลการศึกษา), 2565
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/18057
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:276 Thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
6420120251.pdf3.51 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons