กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/18055
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยทำนายคุณภาพชีวิตผู้ป่วยวัยผู้ใหญ่ตอนต้นที่มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors Predicting Quality of Life Among Young Adult Patients With Myocardial Infarction
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จินตนา ดำเกลี้ยง
ทิพย์สุดา พรหมดนตรี
Faculty of Nursing (Adult and Elderly Nursing)
คณะพยาบาลศาสตร์ สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ
คำสำคัญ: คุณภาพชีวิต;ปัจจัยทำนาย;ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด;วัยผู้ใหญ่ตอนต้น;กล้ามเนื้อหัวใจตาย ผู้ป่วย;การเกิดเนื้อตายเหตุขาดเลือด
วันที่เผยแพร่: 2022
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
บทคัดย่อ: This predictive research design, aimed to examine 1) level of quality of life (QoL), and 2) factors (heart functional capacity, smoking, alcohol consumption, physical activity, and social support) predicting QoL among young adult patients with myocardial infarction (MI). The sample consisted of 90 young adult patients aged 18-45 years diagnosed with MI. Data were collected at out-patient departments including medical department, cardio-medical department, surgical department, and rehabilitation department of a tertiary hospital located in southern Thailand. Four instruments were used for data collection: 1) demographic data, health conditions, and data related to myocardial infarction, 2) physical activity questionnaire, 3) Multidimensional Scale of Perceived Social Support (MSPSS), and 4) quality of life questionnaire (QoL), scored on a scale of 1) mild (0-10), 2) moderate (11.01-20), and 3) high (21.01-30). The content validity of questionnaires was examined by three experts. The Cronbach’s alpha coefficients for physical activity questionnaire, MSPSS, and QoL were .88, .94, and .96, respectively. The data were analyzed using descriptive statistics and multiple linear regression. The results revealed that 1) level of QoL among young adult patients with MI was at a high level (M = 20.45, SD = 4.10), 2) heart function capacity, physical activity, and social support could significantly predict quality of life among young adult patients with MI with a coefficient of determination of 26.3% (Adjusted R 2 = .263, F = 11.62, p = .029). The results also showed that social support could significantly predict QoL (β = .414, p = .000), followed by physical activity (β = .264, p = .001), and heart function capacity class II (β = -.160, p = .037). The results provide basic information for developing a program to promote QoL among young adult patients with myocardial infarction. In addition, further study is needed to examine QoL in different contexts or to compare QoL among patients with MI who received different treatments.
Abstract(Thai): การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทำนาย มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับของคุณภาพชีวิต และ 2) ศึกษาปัจจัยทำนาย (สมรรถนะของหัวใจ การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ กิจกรรมทางกาย และการสนับสนุนทางสังคม) ต่อคุณภาพชีวิต กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยวัยผู้ใหญ่ตอนต้นที่มีอายุ 18-45 ปี ที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด จำนวน 90 ราย เก็บข้อมูล ณ แผนกอายุรกรรมทั่วไป แผนกอายุรกรรมเฉพาะทางโรคหัวใจ แผนกศัลยกรรม และแผนกเวชศาสตร์ฟื้นฟู ของโรงพยาบาลศูนย์แห่งหนึ่งในภาคใต้ตอนล่าง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลเกี่ยวกับภาวะสุขภาพ และข้อมูลเกี่ยวกับภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด 2) แบบสอบถามกิจกรรมทางกาย 3) แบบประเมินการสนับสนุนทางสังคมแบบพหุมิติ และ 4) แบบสอบถามคุณภาพชีวิต ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา จากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน และวิเคราะห์ความเที่ยงโดยคำนวณหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค (Cronbach’s alpha coefficient) ของแบบสอบถามกิจกรรมทางกาย แบบประเมินการสนับสนุนทางสังคมแบบพหุมิติ และแบบสอบถามคุณภาพชีวิต เท่ากับ .88, .94, และ .96 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยาย และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยวัยผู้ใหญ่ตอนต้นที่มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดอยู่ในระดับสูง (M = 20.45, SD = 4.10) สมรรถนะของหัวใจ กิจกรรมทางกาย และการสนับสนุนทางสังคม สามารถร่วมกันทำนายคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยวัยผู้ใหญ่ตอนต้นที่มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดได้ร้อยละ 26.3 (Adjusted R 2 = .263, F = 11.62, p = .029) และพบว่าการสนับสนุนทางสังคมสามารถทำนายคุณภาพชีวิตได้สูงสุด (β = .414, p = .000) รองลงมา กิจกรรมทางกาย (β = .264, p = .001) และสมรรถนะของหัวใจระดับที่ 2 (Class II) (β = -.160, p = .037) ตามลำดับ ผลการศึกษาที่ได้จะเป็นข้อมูลพื้นฐานในการจัดทำโปรแกรมเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตให้แก่ผู้ป่วยวัยผู้ใหญ่ตอนต้นที่มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด และควรทำการศึกษาคุณภาพชีวิตในบริบทที่แตกต่างหรือศึกษาเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยที่มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดหลังได้รับการรักษาที่แตกต่างกัน
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2565
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/18055
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:646 Thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
6310420012.pdf2.58 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons