กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/18050
ชื่อเรื่อง: Exploration of the hidden financial hardship of chronic kidney disease under universal coverage in Thailand
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: Pasuree Sangsupawanich
Pornpen Sangthawan
Faculty of Medicine (Health Sciences)
คณะแพทยศาสตร์ (วิทยาศาสตร์สุขภาพ)
คำสำคัญ: chronic kidney
วันที่เผยแพร่: 2023
สำนักพิมพ์: Prince of Songkhla University
บทคัดย่อ: Introduction Chronic kidney disease (CKD) is prevalent in Thailand and has a significant economic burden to both patients and country level. The Universal Health Coverage policy in Thailand has expanded to include dialysis cost for all CKD patients since 2008 through ‘PD First’ policy. The ‘PD First’ program has often been cited as a successful model of kidney failure care for low and middle-income countries. However, Thai CKD patients still need to constantly pay out-of-pocket for health care service which may exhaust patients and family resources and result in catastrophe and poverty. The financial hardship from the patients’ perspective remains unknown. This study aimed to estimate the residual financial burden of chronic kidney disease (CKD) patients under Universal Health Coverage. Materials and Methods This multicenter nationwide cross-sectional study was conducted in Thailand between June 2019 and January 2021. This study enrolled 1,224 CKD patients from 11 regional and university hospitals. These patients were covered by three health schemes; Universal Coverage Scheme (UCS), Social Security System (SSS), Civil Servant Monetary Benefit Scheme (CSMBS). The study population consisted of four groups of CKD patients as the followings; CKD with eGFR 15-60 ml/min/1.73m2 (CKD15-60), CKD with eGFR <15 ml/min/1.73m2 (CKD<15), peritoneal dialysis (PD) and hemodialysis (HD). We collected medical and non-medical out-of-pocket expenditure for healthcare service by direct patient interview. The financial burden was estimated by calculation the proportion of patients with catastrophic health expenditure (CHE) and medical impoverishment. The financial burden was compared among CKD groups, health schemes and quintiles of socioeconomic status. The multivariable logistic regression model was used to assess the factors associated with catastrophic health expenditure. Result The study participants included 435 (35.5%) CKD15-60, 213 (17.5%) CKD<15, 257 (21%) PD and 319 (26%) HD, with mean (SD) age was 63.8 (14.3) years and 44% female. The percentage of patients under UCS, SSS and CSMBS were 44.1, 8.9 and 47%, respectively. Hypertension was the most common comorbidity, followed by dyslipidemia, diabetes and cardiovascular disease. Under UCS and CSMBS, HD patients suffered from CHE and medical impoverishment the most, especially among the poorest. Travel cost was the main driver of CHE in HD in all health care schemes. The adjusted probability of CHE under UCS was higher in HD than PD (53% vs. 22%, p < 0.05). The other associated factors with CHE were age (adjusted OR = 1.027, 95%CI: 1.013-1.019), cardiovascular disease (adjusted OR = 1.767, 95% CI:1.147-1.829) and household size (adjusted OR =0.806, 95 %CI: 0.718-0.863). CKD patients from the Central region suffered from CHE the most. Conclusion Despite universal health coverage, there was substantial financial hardship in CKD patients, increasing from pre-dialysis to dialysis. HD patients under UCS suffer CHE and medical impoverishment the most, despite the fact that they need to use it. This is the area that policy makers should consider strategies to minimize any CHE and potentially inequitable effect of this on their financial status.
Abstract(Thai): บทนำ: โรคไตเรื้อรังเป็นโรคที่มีความชุกสูงในประเทศไทย และมีผลกระทบสำคัญต่อภาวะเศรษฐกิจทั้งในระดับผู้ป่วยและระดับประเทศ ประเทศไทยได้เริ่มนโยบายสิทธิประโยชน์ Universal Health ที่ครอบคลุมค่าใช้จ่ายในการบำบัดทดแทนไต ตั้งแต่ปี 2008 โดยผ่านทางนโยบาย PD First ซึ่งนโยบายนี้ได้รับการอ้างอิงว่าเป็นต้นแบบที่ประสบความสำเร็จในการดูแลผู้ป่วยที่เป็นโรคไตวายในประเทศที่มีรายได้ต่ำถึงปานกลาง แต่พบว่า ผู้ป่วยไทยที่เป็นโรคไตเรื้อรังยังจำเป็นต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลเองซึ่งอาจนำไปสู่ความล้มละลายจากค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพและความยากจนที่เป็นผลจากการใช้จ่ายเพื่อสุขภาพได้ แต่อย่างไรก็ตามยังไม่มีข้อมูลการศึกษาถึงผลกระทบนี้ ดังนั้นการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบทางเศรษฐศาสตร์ที่มีในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่ได้รับการรักษาภายใต้สิทธิประโยชน์ Universal Health นี้ วิธีการศึกษา: การศึกษานี้เป็นการศึกษาพหุสถาบันแบบภาคตัดขวางในประเทศไทย ตั้งแต่ มิถุนายน 2562 ถึง มกราคม 2564 โดยมีผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง 1,224 ราย จาก รพ.ศูนย์และรพ.มหาวิทยาลัย ทั้งหมด 11 รพ. ผู้ป่วยที่เข้าร่วมในการวิจัย เป็นผู้ป่วยที่อยู่ภายใต้สิทธิ์การรักษา 3 สิทธิ์ ได้แก่ สิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้า สิทธิประกันสังคม และสิทธิกรมบัญชีกลาง ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่เข้าร่วมการวิจัย ประกอบด้วย ผู้ป่วยที่มีค่าการทำงานของไต (eGFR) 15-60 มล.ต่อนาทีต่อ 1.73 ม.2 (CKD15-60), ผู้ป่วยที่มีค่าการทำงานของไต (eGFR) น้อยกว่า 15 มล.ต่อนาทีต่อ 1.73 ม.2 (CKD<15) , ผู้ป่วยที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้อง (PD) และผู้ป่วยที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม (HD) ในการศึกษานี้ได้รวบรวมข้อมูลค่าใช้จ่ายที่ผู้ป่วยต้องจ่ายเอง ทั้งค่าใช้จ่ายตรงทางการแพทย์ และค่าใช้จ่ายตรงที่ไม่ใช่ทางการแพทย์โดยการสัมภาษณ์ผู้ป่วย มีการประเมินผลกระทบทางเศรษฐศาสตร์โดยการคำนวณสัดส่วนของผู้ป่วยที่เกิดการล้มละลายจากค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ (Catastrophic Health Expenditure (CHE)) และความยากจนที่เป็นผลจากการใช้จ่ายเพื่อสุขภาพ (Medical impoverishment) และมีการเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มของโรคไตเรื้อรัง สิทธิ์การรักษา และเศรษฐฐานะ และมีการประเมินปัจจัยที่มีผลต่อการล้มละลายจากค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ (CHE) โดยใช้สถิติ multivariable logistic regression model ผลการศึกษา: ประชากรในการศึกษานี้ ประกอบด้วย ผู้ป่วยกลุ่ม CKD15-60 435 คน (35.5%), กลุ่ม CKD<15 213 คน (17.5%), ผู้ป่วย PD 257 คน (21%) และ ผู้ป่วย HD 319 คน (26%) โดยมีอายุเฉลี่ย 63.8 ปี และ เป็นผู้หญิง 44 % ผู้ป่วยที่อยู่ในสิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้า สิทธิประกันสังคม และสิทธิกรมบัญชีกลาง จำนวน 44.1, 8.9 and 47% ตามลำดับ โรคร่วมที่พบบ่อยที่สุด คือความดันเลือดสูง รองลงมาเป็นไขมันในเลือดผิดปกติ เบาหวาน และโรคหัวใจและหลอดเลือด ในกลุ่มผู้ป่วยสิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้าและสิทธิกรมบัญชีกลาง พบว่า ผู้ป่วยที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมเป็นผู้ป่วยที่เกิดการล้มละลายจากค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพและความยากจนมากที่สุดโดยเฉพาะผู้ป่วยกลุ่มที่มีเศรษฐานะยากจนที่สุด ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการล้มละลายจากค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ ในผู้ป่วยที่รักษาด้วยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมในทุกสิทธิการรักษา คือ ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปรับการรักษาพยาบาล โอกาสที่เกิดการล้มละลายจากค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพในผู้ป่วยภายใต้สิทธิ์ประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมสูงถึง 53% ซึ่งสูงกว่า 22% ในกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้องอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ปัจจัยอื่นที่เพิ่มโอกาสเกิดการล้มละลายจากค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ อายุ (adjusted OR = 1.027, 95%CI: 1.013-1.019), โรคหัวใจและหลอดเลือด (adjusted OR = 1.767, 95% CI:1.147-1.829) และขนาดของครอบครัวเป็นปัจจัยที่ลดการล้มละลายจากค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ (adjusted OR =0.806, 95 %CI: 0.718-0.863). ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังจากภาคกลางของประเทศไทย เป็นกลุ่มที่เกิดการล้มละลายจากค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพสูงกว่าผู้ป่วยที่มาจากภาคอื่น สรุปผลการศึกษา: แม้ว่าผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง จะมีสิทธิการรักษาพยาบาลที่เป็น Universal Health แล้วก็ตาม แต่ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังยังมีผลกระทบทางด้านเศรษฐศาสตร์ โดยพบในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่ได้รับการบำบัดทดแทนไตสูงกว่าผู้ป่วยระยะก่อนรับการบำบัดทดแทนไต ผู้ป่วยโรคไตที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมที่อยู่ภายใต้สิทธิ์ประกันสุขภาพถ้วนหน้าเป็นกลุ่มที่เกิดการล้มละลายจากค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพและความยากจนมากที่สุด ทั้งที่มีความจำเป็นที่ต้องได้รับการรักษาด้วยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ซึ่งเป็นจุดที่ผู้วางนโยบายสิทธิ์การรักษาควรพิจารณากลยุทธ์ที่จะสามารถลดผลกระทบดังกล่าวและความเหลื่อมล้ำในค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล
รายละเอียด: Doctor of Philosophy (Health Sciences), 2023
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/18050
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:351 Thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
5910330028.pdf3.86 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons