กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/18042
ชื่อเรื่อง: | การพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบ PROSA เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The Development of PROSA Learning Management to Enhance Creative Thinking for High School Students |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สุพรรษา สุวรรณชาตรี นัจญม๊ะ ง๊ะสมัน Faculty of Education (Learning, Teaching, and Curriculum program) คณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาการเรียนรู้ การสอน และหลักสูตร |
คำสำคัญ: | การจัดการเรียนรู้แบบ PROSA, , ;PROSA learning management;ความคิดสร้างสรรค์;นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย;high school students;creative thinking;การเรียนรู้;ความคิดสร้างสรรค์ การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา) |
วันที่เผยแพร่: | 2022 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
บทคัดย่อ: | The objectives of this research were 1) to synthesize PROSA learning management process to promote creative thinking for high school students, 2) to compare the creative thinking before, during and after the experiment using PROSA learning management for high school students and 3) to study the students' satisfaction with the PROSA learning approach to promote creative thinking for high school students. The target group was 30 grade 11 (Mathayomsuksa 5) students at Kampang Wittaya School, Satun Province who were studying visual arts in the second semester of the academic year 2021. The research and development method was divided into 4 steps as follows: Step 1: Study the data and synthesize the PROSA learning management process. Step 2: Creating and checking the quality of research instruments. Step 3: PROSA Learning management trial and Step 4: Assessment and Conclusion by using the One-Group Pretest - Posttest Time Series Design. The measurements were repeated 3 times, before, during and after the 6-week total period. The tools used for data collection were 1) 2 PROSA learning management plans 2) a student work evaluation form 3) a behavioral observation form 4) Type A picture-based creative thinking quiz based on Torrance's concept, and 5) Student satisfaction assessment form with PROSA learning management. Time series Analysis, statistical analysis, One-way repeated measure ANOVA were used in data analysis.The results of the research indicated that: 1. The results of the synthesis of the PROSA learning management process to promote creative thinking for students in the upper secondary level can be synthesized in 5 steps as follows: 1) Arousing interest by defining the situation (Predicament) 2) Self-study (Researching) 3) Choose the best method (Opt-in method) 4) Stage of data synthesis for creative work (Synthesis) and 5) assess and present information (Assessment). 2. The results of the comparison of creative thinking in the periods before, during and after the experiment using the PROSA learning management model for high school students showed that the students’ creative thinking was different in 3 time periods. The measurement was repeated 3 times. The students' creative thinking scores were statistically different at the .05 level. In the period before the experiment (𝑥=50.30, S.D.=11.865), the time during the experiment (𝑥=56.87, S.D.=9.468), the students' creative thinking was at a moderate level, and after the experiment, students had a high level of creative thinking (𝑥=66.47, S.D.=9.361). The results compared the four areas of creative thinking, namely fluency, originality, elaboration, and flexibility among students in the pre-experimental, during and post-experimental periods were different. The mean scores of creative thinking among students in all 4 areas were significantly different at the .05 level. 3. The level of satisfaction of students towards the PROSA learning management to promote creative thinking for students in the high school level was found to have a high level of overall satisfaction (𝑥=4.35, S.D.=0.563). In terms of learning management activities, the PROSA model (𝑥=4.38, S.D.=0.576) was at the highest level of satisfaction, and from the results of considering the items with the highest rank (𝑥=4.47, S.D.=0.629), namely item 1.3, the content of learning management can stimulate students to have the courage to think creatively, Item 2.5: Learning activities can help foster creative thinking in students better, and item 3.4: learning media is modern and easy to understand, all items were at a high level. |
Abstract(Thai): | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสังเคราะห์ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้แบบ PROSA เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 2) เพื่อ เปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ช่วงก่อน ระหว่าง และหลังทำการทดลองโดยใช้การจัดการเรียนรู้ แบบ PROSA สำหรับนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของ นักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้แบบ PROSA เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนในระดับชั้น มัธยมศึกษาตอนปลาย กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนกำแพงวิทยา จังหวัดสตูล ที่กำลังศึกษารายวิชาทัศนศิลป์ ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 30 คน ดำเนินการวิจัยด้วยกระบวนการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) แบ่งการ ดำเนินการวิจัยออกเป็น 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาข้อมูลและสังเคราะห์ขั้นตอนการจัดการ เรียนรู้แบบ PROSA ขั้นตอนที่ 2 การสร้างและตรวจสอบหาคุณภาพเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ขั้นตอน ที่ 3 การทดลองใช้การจัดการเรียนรู้แบบ PROSA และขั้นตอนที่ 4 ประเมินผลและสรุปผล ใช้แบบ แผนการทดลองกลุ่มเดียววัดหลายครั้งแบบอนุกรมเวลา (The One-Group Pretest-Posttest Time Series Design) โดยวัดซ้ำ 3 ครั้ง คือ ก่อน ระหว่าง และหลังการทดลอง ระยะทั้งหมด 6 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบ PROSA จำนวน 2 แผน 2) แบบประเมินชิ้นงานของนักเรียน 3) แบบสังเกตพฤติกรรม 4) แบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์โดย อาศัยรูปภาพ แบบ ก โดยยึดตามแนวคิดของ Torrance และ 5) แบบประเมินความพึงพอใจของ นักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้แบบ PROSA ใช้การวิเคราะห์อนุกรมเวลา (Time series Analysis) สถิติวิเคราะห์ One-way repeated measure ANOVA ผลการวิจัย พบว่า 1. ผลการสังเคราะห์ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้แบบ PROSA เพื่อส่งเสริมความคิด สร้างสรรค์สำหรับนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย สามารถสังเคราะห์ได้ 5 ขั้น ดังนี้ 1) ขั้น กระตุ้นความสนใจโดยกำหนดสถานการณ์ (Predicament) 2) ขั้นการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง(Researching) 3) ขั้นเลือกวิธีการที่ดีที่สุด (Opt-in method) 4) ขั้นสังเคราะห์ข้อมูลสร้างสรรค์ ชิ้นงาน (Synthesis) และ 5) ขั้นประเมินและนำเสนอข้อมูล (Assessment) 2. ผลการเปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ช่วงก่อน ระหว่าง และหลังทำการทดลอง โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ PROSA สำหรับนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย นักเรียนมี ความคิดสร้างสรรค์ใน 3 ช่วงเวลาแตกต่างกัน แบบวัดซ้ำ 3 ครั้ง ค่าเฉลี่ยคะแนนความคิดสร้างสรรค์ ของนักเรียนมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งในช่วงก่อนทำการทดลอง (𝑥=50.30, S.D.=11.865) ช่วงเวลาระหว่างทำการทดลอง (𝑥=56.87, S.D.=9.468) นักเรียนมี คะแนนความคิดสร้างสรรค์อยู่ในระดับปานกลาง และช่วงหลังทำการทดลอง นักเรียนมีความคิด สร้างสรรค์อยู่ในระดับสูง (𝑥=66.47, S.D.=9.361) ซึ่งผลการเปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ทั้ง 4 ด้าน ประกอบด้วย ด้านความคิดคล่องแคล่ว ด้านความคิดริเริ่ม ด้านความคิดละเอียดลออ และด้าน ความคิดยืดหยุ่นของนักเรียนในช่วงก่อนการทดลอง ระหว่างการทดลอง และหลังการทดลองใน 3 ช่วงเวลาแตกต่างกัน ค่าเฉลี่ยคะแนนความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนทั้ง 4 ด้าน มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ผลระดับความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้แบบ PROSA เพื่อ ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย พบว่า มีระดับความพึง พอใจ โดยภาพรวมอยู่ระดับที่มาก (𝑥=4.35, S.D.=0.563) ซึ่งด้านกิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบ PROSA (𝑥=4.38, S.D.=0.576) อยู่ในระดับความพึงพอใจมาก และจากผลการพิจารณารายข้อที่ อันดับค่าสูงที่สุด (𝑥=4.47, S.D.=0.629) ได้แก่ ข้อ 1.3 เนื้อหาในการจัดการเรียนรู้สามารถกระตุ้น นักเรียนให้กล้าคิดสร้างสรรค์ได้เป็นอย่างดี ข้อ 2.5 กิจกรรมการเรียนรู้สามารถช่วยส่งเสริมความคิด สร้างสรรค์ให้กับนักเรียนได้ดียิ่งขึ้น และข้อ 3.4 สื่อการเรียนรู้มีความทันสมัยและเข้าใจง่าย ทุกข้ออยู่ ในระดับมาก |
รายละเอียด: | ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรและการสอน), 2565 |
URI: | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/18042 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | 270 Thesis |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
6320120605.pdf | 2.47 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License