กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/18033
ชื่อเรื่อง: ผลของโปรแกรมการเรียนรู้อย่างมีปฏิสัมพันธ์ผ่านสื่อเทคโนโลยีร่วมกับการสนับสนุนจากครอบครัวต่อพฤติกรรมการดูแลตนเอง และค่าฮีมาโตคริตในหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจาง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The Effects of Interactive Learning via Multimedia Technology with Family Supports Program on Self-care Behaviors and Hematocrit Among Pregnant Women with Anemia
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วรางคณา ชัชเวช
โสเพ็ญ ชูนวล
สร้อยฟ้า ปิ่นสุวรรณ
Faculty of Nursing (Obstetric and Gynaecologic Nursing and Midwifecy)
คณะพยาบาลศาสตร์ ภาควิชาการพยาบาลสูติ-นรีเวชและผดุงครรภ์
คำสำคัญ: หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจาง;การเรียนรู้อย่างมีปฏิสัมพันธ์;การสนับสนุนจากครอบครัว
วันที่เผยแพร่: 2022
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
บทคัดย่อ: Anemia is a common health problem during pregnancy and has a major impact on pregnant women, their babies, and the economy. Thus, interventions to alleviate anemia are necessary. This quasi-experimental study aimed to determine the effects of interactive learning via multimedia technology with a family support program involving self-care behaviors and hematocrit values among pregnant women with anemia. Participants were 50 pregnant women who attended the antenatal unit at a regional hospital in Southern Thailand and met inclusion criteria. The experimental group (n = 25) received an interactive learning via multimedia technology with a family support program for 4 weeks in addition to routine care, while the control group (n = 25) received only routine care. The research instruments to collect the data were the Demographic Characteristics and Obstetrical Questionnaire and the Self-care Behavior Questionnaire. Data were analyzed using descriptive statistics, Chi-square test, independent t-test, paired t-test, Wilcoxon signed ranks test, and Mann-Whitney U test. The results showed that after completion of the intervention program, the participants in the experimental group had a significantly higher mean score on self-care behaviors and hematocrit values than before the intervention. When comparing the two groups after completion of the program, only the mean score on self-care behaviors in the experimental group was significantly higher than those of the control group, whereas the hematocrit values were not significantly different between the two groups. The results of this study suggest that interactive learning via multimedia technology with a family support program can help pregnant women with anemia improve their self-care behaviors. However, the program should be tested with different groups of pregnant women with anemia before it is widely used in practice.
Abstract(Thai): ภาวะโลหิตจางเป็นปัญหาสุขภาพในระยะตั้งครรภ์ที่พบได้บ่อย และส่งผลกระทบต่อหญิงตั้งครรภ์ ทารก และระบบเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก ดังนั้นภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์จึงมีความจำเป็นที่ต้องได้รับการแก้ไข การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการให้ความรู้อย่างมีปฏิสัมพันธ์ผ่านสื่อเทคโนโลยีร่วมกับการสนับสนุนจากครอบครัว ต่อพฤติกรรมการดูแลตนเอง และค่าฮีมาโตคริตในหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจาง กลุ่มตัวอย่างคือ หญิงตั้งครรภ์จำนวน 50 รายที่มาฝากครรภ์ ณ หน่วยฝากครรภ์โรงพยาบาลศูนย์แห่งหนึ่งในภาคใต้ ประเทศไทย และมีคุณสมบัติตามเกณฑ์การคัดเข้า กลุ่มทดลอง (n = 25) ได้รับโปรแกรมการให้ความรู้อย่างมีปฏิสัมพันธ์ผ่านสื่อเทคโนโลยีร่วมกับการสนับสนุนจากครอบครัว ร่วมกับการพยาบาลตามปกติ เป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ ส่วนกลุ่มควบคุม (n = 25) ได้รับการพยาบาลตามปกติเพียงอย่างเดียว เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปและข้อมูลการตั้งครรภ์และการคลอด และ แบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อลดภาวะโลหิตจาง ค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหา (CVI) ของแบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลตนเองเท่ากับ 1.00 ค่าความเที่ยงเท่ากับ .73 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติไคสแควร์ สถิติทีคู่ สถิติวิลคอกสัน ไซน์ แรงค์ เทส และสถิติแมนวิทนีย์ ยูเทส ผลการวิจัยพบว่าหญิงตั้งครรภ์ในกลุ่มทดลองมีคะแนนพฤติกรรมการดูแลตนเอง และค่าฮีมาโตคริตเพิ่มสูงขึ้นกว่าก่อนได้รับโปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อเปรียบเทียบระหว่างสองกลุ่มพบว่า หลังได้รับโปรแกรมฯ มีเพียงคะแนนพฤติกรรมการดูแลตนเองของกลุ่มทดลองที่สูงกว่ากลุ่มควบคุม ขณะที่ค่าฮีมาโตคริตมีความแตกต่างอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมการเรียนรู้ผ่านสื่อเทคโนโลยีร่วมกับการสนับสนุนจากครอบครัว สามารถช่วยให้หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางมีพฤติกรรมการดูแลตนเองที่เหมาะสมได้ อย่างไรก็ตามควรมีการทดสอบโปรแกรมฯ กับหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางในกลุ่มอื่น ๆ ก่อนที่จะนำไปประยุกต์ใช้ในการดูแลหญิงตั้งครรภ์ต่อไป
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ ((พย.ม. (การผดุงครรภ์))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2565
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/18033
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:648 Thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
6210420043.pdf2.16 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons