กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/18030
ชื่อเรื่อง: | ประสบการณ์ภาวะเศร้าโศกของสตรีมุสลิมหลังแท้งบุตร |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Grief Experiences of Muslim Women After Spontaneous Abortion |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | วรางคณา ชัชเวช ขนิดา มาสิก Faculty of Nursing (Obstetric and Gynaecologic Nursing and Midwifecy) คณะพยาบาลศาสตร์ ภาควิชาการพยาบาลสูติ-นรีเวชและผดุงครรภ์ |
คำสำคัญ: | ภาวะเศร้าโศก;สตรีมุสลิมหลังแท้งบุตร |
วันที่เผยแพร่: | 2022 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
บทคัดย่อ: | Grief experience perspective from women after spontaneous abortion may differ depending on different culture, religion, and belief. In-depth reflection of grief experience of Muslim women after spontaneous abortion can provide essential information for developing holistic and privacy care plan for them. The study aimed to describe grief experiences of Muslim women after spontaneous abortion. The qualitative descriptive research was conducted in a general hospital in lower southern Thailand. Twelve participants who experienced spontaneous abortion between two months and one year before participating in the study were recruited by purposive sampling. Data were collected through in-depth interview until data saturation. Content analysis was used to analyze the data. Peer debriefing and member checking were employed to enhance the trustworthiness of the data. Grief experiences comprised three themes: (1) responding to the loss (three subthemes: denying the loss, bereavement for losing expected child, self-blame for causing spontaneous abortion); (2) coping with grief (three subthemes: using religious doctrine to accept the loss, thinking positively about the loss, overcoming the grief by getting support); and (3) love and attachment to a miscarried child (two subthemes: unbreakable bonding, and doing good things for a miscarried child). The findings of this study can serve as basic information to develop a nursing practice guideline to promote grief coping strategy for Muslim women after spontaneous abortion suitable for cultural and religious context. |
Abstract(Thai): | วัฒนธรรม ศาสนา และความเชื่อที่แตกต่างกัน มีผลต่อมุมมองความเศร้าโศกของสตรีหลังแท้งบุตร การทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับประสบการณ์ภาวะเศร้าโศกของสตรีมุสลิมหลังแท้งบุตร เป็นข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญในการให้การพยาบาลแบบองค์รวมและเคารพในความเป็นปัจเจกของสตรีมุสลิมหลังแท้งบุตร การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์ภาวะเศร้าโศกของสตรีมุสลิมหลังแท้งบุตร การวิจัยเชิงคุณภาพแบบบรรยายนี้ดำเนินการในโรงพยาบาลทั่วไปแห่งหนึ่งในภาคใต้ตอนล่าง ผู้ให้ข้อมูลเป็นสตรีมุสลิมหลังแท้งบุตรเอง จำนวน 12 ราย ที่มีประสบการณ์หลังแท้งบุตรก่อนเข้าร่วมการวิจัย 2 เดือน – 1 ปี คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด รวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกรายบุคคล จนข้อมูลมีความอิ่มตัว วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลด้วยการตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญและผู้ให้ข้อมูล ประสบการณ์ภาวะเศร้าโศก พบประเด็นหลักเกิดขึ้น 3 ประเด็น: (1) ปฏิกิริยาต่อความสูญเสีย (สามประเด็นย่อย: ปฏิเสธต่อการสูญเสีย เสียใจเพราะสูญเสียบุตรที่คาดหวัง โทษตัวเองที่ทำให้แท้งบุตร) (2) การปรับตัวกับความเศร้าโศก (สามประเด็นย่อย: ใช้หลักศาสนาในการยอมรับความสูญเสีย คิดบวกเกี่ยวกับความสูญเสีย ก้าวผ่านความเศร้าโศกจากมีแหล่งสนับสนุน และ (3) ความรัก และความผูกพันต่อบุตรที่แท้ง (สองประเด็นย่อย: สายใยที่ตัดไม่ขาด และทำสิ่งดี ๆ เพื่อบุตรที่แท้ง) การศึกษาครั้งนี้สามารถนำมาเป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแนวทางการให้การพยาบาลแบบองค์รวม บนพื้นฐานความเข้าใจในวัฒนธรรม หลักศาสนาของสตรีมุสลิมหลังแท้งบุตร เพื่อส่งเสริมให้สตรีมุสลิมหลังแท้งบุตรสามารถปรับตัวต่อภาวะเศร้าโศกได้อย่างเหมาะสม |
รายละเอียด: | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (การผดุงครรภ์),2565 |
URI: | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/18030 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | 648 Thesis |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
5810421002.pdf | 1.79 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License