Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/18026
Title: การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการคลังสินค้าด้วยวิธีการจัดเก็บสินค้าและวิธีการเดินหยิบสินค้าในคลังสินค้ารูปก้างปลา
Other Titles: Increasing Efficiency of Warehouse Operation by Integrating Storage Assignment and Picker Routing Policies in the Fishbone Warehouse
Authors: ใกล้รุ่ง สามารถ
วิชชุดา บุญเรือง
Faculty of Science (Mathemetics and Statistics)
คณะวิทยาศาสตร์ ภาควิชาคณิตศาสตร์และสถิติ
Keywords: วิธีการเดินหยิบสินค้า;วิธีการจัดเก็บสินค้า;คลังสินค้ารูปก้างปลา
Issue Date: 2022
Publisher: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Abstract: Order picking is one of the most critical processes in warehouse management. It is the process of retrieving a set of requested items from specified storage locations in a warehouse to prepare orders that are then shipped to the customers. In manual order picking systems, the picking travel distance required by the order pickers has profound effects on the warehouse throughput. This research aims to evaluate the effects of four main factors, including pick-list sizes, warehouse sizes, order picker routing policies, and storage assignment policies on the picking travel distance in a fishbone warehouse. To estimate the picking travel distance, the simulations of all possible combinations of several levels were created. The outputs were then used as the inputs for a statistical study assessing the main and interaction effects from different factors. The analysis of variance (ANOVA) results indicate that the main effects and two-way interactions have a statistically significant effect on the picking travel distance at a level of significance α of 0.05. Most of the three-way interactions are significant. The only thing that is not significant in three-way is the interaction between warehouse sizes, pick-list sizes, and order picker routing policies. In terms of four-way interactions, they are not significant at a level of significance α of 0.05.
Abstract(Thai): ขั้นตอนสำคัญขั้นตอนหนึ่งของการจัดการคลังสินค้าคือการหยิบสินค้าซึ่งเป็นกระบวนการที่ผู้หยิบสินค้าเดินหรือขับรถไปตามคลังสินค้าเพื่อหยิบสินค้าจากตำแหน่งต่าง ๆ ในคลังสินค้าก่อนส่งไปยังลูกค้า ในคลังสินค้าที่ดำเนินการด้วยมนุษย์ พบว่าระยะทางที่ผู้หยิบสินค้าเดินหยิบสินค้ามีผลต่อปริมาณงานที่ทำได้ในช่วงเวลาหนึ่งในคลังสินค้า งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลกระทบของสี่ปัจจัยต่อระยะทางรวมที่ใช้ในการเดินหยิบสินค้าในคลังสินค้ารูปก้างปลา ได้แก่ ขนาดของใบสั่งซื้อ ขนาดของคลังสินค้า วิธีการเดินหยิบสินค้า และวิธีการเก็บสินค้า โดยผู้วิจัยได้จำลองสถานการณ์และใช้ผลลัพธ์จากการจำลองไปศึกษาอิทธิพลหลักและอิทธิพลร่วมของปัจจัยต่าง ๆ ผลการวิเคราะห์ความแปรปรวนข้อมูลที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 พบว่าปัจจัยหลักทุก ๆ ปัจจัยและผลกระทบร่วมระหว่าง 2 ปัจจัยมีอิทธิพลต่อระยะทางการเดินหยิบสินค้าในคลังสินค้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการทดสอบผลกระทบร่วมของ 3 ปัจจัยพบว่ามีอิทธิพลร่วมต่อระยะทางการเดินหยิบสินค้าในคลังสินค้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ยกเว้นผลกระทบร่วมของขนาดของคลังสินค้า ขนาดของใบสั่งซื้อ และวิธีการเดินหยิบสินค้า ที่ไม่มีอิทธิพลร่วมต่อระยะทางการเดินหยิบสินค้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในขณะที่ผลกระทบร่วมของทั้ง 4 ปัจจัย พบว่าไม่มีอิทธิพลร่วมต่อระยะทางการเดินหยิบสินค้าในคลังสินค้าที่ระดับนัยสำคัญ 0.05
Description: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สถิติ),2565
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/18026
Appears in Collections:322 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6310220076.pdf3.92 MBAdobe PDFView/Open


Items in PSU Knowledge Bank are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.