กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17928
ชื่อเรื่อง: การใช้ไส้เดือนฝอยก่อโรคแก่แมลงร่วมกับชีวภัณฑ์อื่นในการควบคุมแมลงวันแตง (Zeugodacus cucurbitae) (Coquillett)
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The Combined Use of Entomopathogenic Nematodes and Bio-Pesticides to Control Melon Fruit Fly (Zeugodacus cucurbitae) (Coquillett)
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: นริศ ท้าวจันทร์
จุรีพร สุคติภูมิ
Faculty of Natural Resources (Pest Management)
คณะทรัพยากรธรรมชาติ ภาควิชาการจัดการศัตรูพืช
คำสำคัญ: Entomopathogenic Nematodes;ไส้เดือนฝอยก่อโรคแก่แมลง;Melon Fruit Fly;แมลงวันแตง;พยาธิกำจัดศัตรูพืช;แมลงศัตรูพืช
วันที่เผยแพร่: 2021
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
บทคัดย่อ: The melon fruit fly (Zeugodacus cucurbitae) (Coquillett) is a major economic insect pest of Cucurbitaceae crops that can cause immense damage to the quality and quantity of agricultural products. Practical insecticides have proven only slightly effective and also leave toxic residues in the environment. The use of natural enemies presents a suitable alternative method to their control; however, the determination of a species-specific to the host or prey and the rate of application must be investigated. The objective of this study, therefore, is to integrate the use of entomopathogenic nematodes (EPNs) and other bio-pesticides to control the developmental stages of the melon fruit fly under laboratory, net house, and field conditions. Results from the field survey revealed that the fruit fly population and fruit damage from the insecticide-based plots were higher than those of the non-insecticide-based plots. The results on the effects of different EPNs species on both last instar larvae and pupae indicated that S carpocapsae at 25,000 IJs/host presented the highest mortality rate among all species; last instar larvae (97.50%) and pupae (95%). In comparison, S. siamkayai, H. indica, and H. bacteriophora produced lower mortality rates in the last instar larvae at 90%, 67.50%, and 75% and in pupae at 90 %, 75%, and 42.50%, respectively. Metarhizium anisopliae PSUM02 at 1×108 spores/ml was able to kill the last instar larvae and pupae with mortality rates of 61.25% and 59.38%, respectively. After the application of 1×107, 1×106, 1×105 spores/ml., the last instar larvae and pupae mortality rates reduced to 45.63% and 23.75%, 8.13%, and 50%, and 37.50% and 18.75%, respectively. The combination of the EPNs and M. anisopliae PSUM02, as well as the EPNs alone, proved to be superior control methods against last instar larvae and pupae compared to that of the M. anisopliae PSUM02 alone. The mortality rates of last instar larvae and pupae reached up to 100% and 85%, respectively. Results on the efficacy of bio-pesticides on fruit fly oviposition under net house conditions showed that neem extract inhibits fruit fly oviposition and decreases the number of fruit scars compared to other treatments. The number of pupa per fruit post-spraying with neem extract at zero (immediate), three, and five days after spraying was 5.15, 3.50, and 2.70 pupae per fruit, versus the control treatment at 15.95, 14.05, and 9.60 pupae per fruit, and 14.55, 13.25, and 7.70 pupae per fruit via the M. anisopliae PSUM02, respectively. The field experiment produced results similar to those of the net house experiment. Notably, the integration of neem extract and EPNs produced the highest control rate. The number of fruit scars and number of adult fruit flies were 0.96 scars per fruit and 10.95 adults per 6 cm2, respectively, whereas the insecticide (1.46 scars per fruit and 18.53 adults per 6 cm2) and the control (1.6 scars per fruit and 28.73 adults per 6 cm2) showed the lowest control efficiency. The cost of pest management incorporating the integration of natural enemies was slightly high at 515 baht per 6 cm2 compared to the insecticide at 315 baht per 6 cm2; however, the rate of control and product safety, as well as farmer and consumer satisfaction are much higher.
Abstract(Thai): แมลงวันแตง Zeugodacus cucurbitae (Coquillett) เป็นแมลงศัตรูสำคัญทางเศรษฐกิจของพืชตระกูลแตง สร้างความเสียหายอย่างสูงต่อผลผลิตในเชิงคุณภาพและปริมาณ สารเคมีป้องกันกำจัดแมลงที่เกษตรกรนิยมใช้นั้นไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอและก่อให้เกิดสารตกค้างในผลผลิตและสิ่งแวดล้อม การใช้ศัตรูธรรมชาติจึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่เหมาะสมแต่ศัตรูธรรมชาตินั้นมีความเฉพาะเจาะจง และมีอัตราการใช้เพื่อควบคุมศัตรูพืชที่แตกต่างกัน ดังนั้นการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการบูรณาการการใช้ไส้เดือนฝอยก่อโรคแก่แมลงร่วมกับชีวภัณฑ์อื่นเพื่อควบคุมแมลงวันแตงในทุกระยะการเจริญเติบโตทั้งในสภาพห้องปฏิบัติการ โรงเรือน และสภาพไร่ ผลการศึกษาพบว่าประชากรของแมลงวันแตง และประเมินความเสียหายของแปลงเกษตรกรที่ใช้สารเคมีมากกว่าแปลงที่ไม่ใช้สารเคมีในการจัดการศัตรูพืช การศึกษาประสิทธิภาพของไส้เดือนฝอยก่อโรคแก่แมลงต่างชนิดต่อหนอนวัยสุดท้ายและดักแด้แมลงวันแตง พบว่า ไส้เดือนฝอย S. carpocapsae อัตราพ่นที่ 25,000 ตัวต่อแมลงอาศัย สามารถเข้าทำลายหนอนวัยสุดท้ายและดักแด้ของแมลงวันแตงได้ดีที่สุด ซึ่งหนอนวัยสุดท้ายมีความอ่อนแอต่อการเข้าทำลายของไส้เดือนฝอยมากกว่าดักแด้ โดยมีการตาย เท่ากับ 97.50 และ 95% ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับไส้เดือนฝอย S. siamkayai, H. indica และ H. bacteriophora ที่มีการตายในระยะหนอน เท่ากับ 90 67.50 และ 75% และในระยะดักแด้เท่ากับ 90 75 และ 42.50% ตามลำดับ ขณะที่เชื้อราเขียว Metarhizium anisopliae PSUM02 สามารถเข้าทำลายหนอนวัยสุดท้ายและดักแด้ของแมลงวันแตง ที่ระดับความเข้มข้นของสปอร์แขวนลอยที่ 1×108 สปอร์/มิลลิลิตร ส่งผลให้มีเปอร์เซ็นต์การตายเท่ากับ 61.25 และ 59.38% ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับความเข้มข้นของสปอร์แขวนลอยที่ 1×107 1×106 และ 1×105 สปอร์/มิลลิลิตร ในระยะหนอนเท่ากับ 45.63 23.75 และ 8.13% ตามลำดับ ในระยะดักแด้เท่ากับ 50 37.50 และ 18.75% ตามลำดับ การทดสอบการผสมร่วมกันของไส้เดือนฝอยกับเชื้อราเขียว พบว่าให้ผลเทียบเท่ากับการใช้ไส้เดือนฝอยเพียงอย่างเดียว ในการเข้าทำลายหนอนวัยสุดท้ายและดักแด้แมลงวันแตง เมื่อเทียบกับการพ่นเชื้อราเพียงอย่างเดียว ซึ่งไส้เดือนฝอยชนิด S. carpocapsae หลังผสมร่วมกับเชื้อรา และหลังจากแช่เชื้อรานาน 24 ชั่วโมง พบว่า มีเปอร์เซ็นต์การตายในหนอนวัยสุดท้าย 100% และในดักแด้ 85% ซึ่งไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติกับการใช้ไส้เดือนฝอยเพียงอย่างเดียว การศึกษาประสิทธิภาพสารชีวภัณฑ์ต่อการวางไข่ของแมลงวันแตงในสภาพโรงเรือน พบว่า กรรมวิธีที่พ่นสารสกัดสะเดา มีผลต่อการวางไข่และรอยทำลายต่ำกว่าเมื่อเทียบกับกรรมวิธีอื่น ที่ระยะเวลาหลังพ่นทันที 3 และ 5 วัน จำนวนดักแด้เฉลี่ยต่อผลเพียง 5.15 3.50 และ 2.70 ตัว/ผล ขณะที่กรรมวิธีพ่นน้ำกลั่นเท่ากับ 15.95 14.05 และ 9.60 ตัว/ผล และเชื้อราเท่ากับ 14.55 13.25 และ 7.70 ตัว/ผล ตามลำดับ การทดสอบในสภาพไร่ให้ผลในทิศทางเดียวกันกับสภาพโรงเรือน พบว่าเมื่อมีการบูรณาการการใช้สารสกัดสะเดาร่วมกับไส้เดือนฝอยให้ประสิทธิภาพในการควบคุมแมลงวันแตงสูงที่สุด โดยพบจำนวนรอยทำลายเฉลี่ยต่ำที่สุดเพียง 0.96 รอย/ผล และจำนวนตัวเต็มวัยในกับดักที่สำรวจเพียง 10.95 ตัว/6 ตร.ม. ขณะที่กรรมวิธีใช้สารเคมี (1.46 รอย/ผล และ 18.53 ตัว/6 ตร.ม.) และกรรมวิธีควบคุม (1.6 รอย/ผล และ 28.73 ตัว/6 ตร.ม.) มีประสิทธิภาพในการควบคุมต่ำสุด เมื่อเปรียบเทียบต้นทุนวิธีการผสมผสานสารสกัดสะเดาร่วมกับไส้เดือนฝอยพบว่ามีต้นทุนที่สูงกว่า โดยมีค่าเท่ากับ 515 บาท/6 ตร.ม. กับการใช้สารเคมีที่เกษตรกรนิยมใช้เท่ากับ 315 บาท/6 ตร.ม. แต่ประสิทธิภาพการใช้ของวิธีผสมผสานนั้นมีประสิทธิภาพและปลอดภัยต่อผลผลิต เกษตรกร และผู้บริโภคมากกว่า
รายละเอียด: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (กีฏวิทยา), 2564
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17928
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:535 Thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
6210620006.pdfเล่มวิทยานิพนธ์3.7 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons