Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17916
Title: การจัดการความรู้เกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรการเกษตรเพื่อการเผยแพร่ : กรณีศึกษาการทำนา ตำบลควนรู อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา
Other Titles: Knowledge Management in Agricultural Resource Management for Dissemination: A Case Study of rice production in Kuan-Ru Sub-district, Rattaphum District, Songkhla Province
Authors: บัญชา สมบูรณ์สุข
เอกพล ทองแก้ว
Faculty of Natural Resources (Tropical Agricultural Resource Management)
คณะทรัพยากรธรรมชาติ สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรเกษตรเขตร้อน
Keywords: การจัดการความรู้;การจัดการทรัพยากรการเกษตร;การเผยแพร่;การทำนา;การบริหารองค์ความรู้
Issue Date: 2022
Publisher: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Abstract: The objectives of this research were to study the community development, the community’s rice farming agricultural resource management, and the state of knowledge management for rice farming within the community, and to proceed with managing the knowledge within the community regarding rice farming and to develop media for spreading knowledge about the community’s rice farming methods for the Khuan Ru Sub-district, Rattaphum District, Songkhla. The research was action research that involves both qualitative and quantitative methods. The sample for the qualitative research included agricultural leaders, community sages, and the president, committee members, and members of the Rice Mill Enterprise Group of Nong on Village, Moo. 6, totaling 10 people. The data collection was done via organizing small-group forums, in-depth interviews, using observation, and writing field notes. The sample for the quantitative research included 22 members of the Rice Mill Enterprise Group of Nong on Village, Moo. 6 in which interview forms were used for data collection, and 120 agricultural workers from the Khuan Ru community in which knowledge testing forms and assessment forms were used for data collection. The study results showed that. The Khuan Ru community was made up of migrants who moved from nearby districts to reclaim the land for agricultural purposes. The main occupation is rice farming. During the first stage of community establishment, the community lacked strength and contained segregations. Afterward, when there were strong community leaders, cooperation within the community to develop the community started. Organizations within the community with strength were established and became good sources for interested people to learn from. Regarding the community’s rice farming agricultural resource management, the community manages its rice farming agricultural resources in the following ways: 1) Land and Land Management: Farmers have their own inherited lands planned for year-round agricultural activities which are regularly nourished. 2) Water Resources for Rice Farming: The main water resource is rainwater. There are agricultural plans constructed with the guidance of agricultural data. 3) Production Factors: Most of the products yielded are consumed by the community. Chemical and biological fertilizers are used in rice farms but no chemical pesticides are used. 4) Agricultural Machinery: The agricultural machinery used includes wheel plows, lawnmowers, harvesters, threshers, and small rice mill machines. 5) Labor: The community hired more laborers for rice farming. 6) Fundings: Most fundings are personal fundings but other fundings include community enterprise groups and savings groups. 7) Product Marketing: Products are consumed by community members. What is left is sold to the community’s Rice Mill Enterprise Group to be processed into refined rice. Regarding the state of knowledge management for rice farming within the community, it has been analyzed that most of the community knowledge of rice farming is stored within personal memories only and is transferred from generation to generation. Wherein, new personal knowledge is acquired through personal learning processes, talking, exchanges of thoughts and techniques within family and agricultural friends. Traditional knowledge is built through natural acquisition while contemporary knowledge is built through interactions with organizations. Knowledge is stored only by memory, is practiced to adeptness, and passed on from generation to generation without other forms of storage. Thus, there is no knowledge management within the community. The transference of rice farming knowledge within the community is done in 2 ways: 1) intra-community exchanges such as talking and telling, and (2) exchanges with external communities such as listening to speakers, going on tours, and asking questions. Managing the knowledge within the community regarding rice farming comprises of: Step 1: Scoping the knowledge necessary for the community. Main topics include (1) soil preparation, (2) rice seeds preparation, (3) rice seedling transplantation, (4) rice plant protection and maintenance, (5) yield harvest, and (6) harvest protection and maintenance post-harvest. Step 2: Searching for knowledge, knowledge sources, and knowledge topics from people and otherwise. Step 3: Creating and acquiring the relevant knowledge to gather and record data and every topic of the content. Step 4: Storing the knowledge by categorizing and organizing the data based on knowledge topics and storing the categorized and organized data in files. Step 5: Systemizing the knowledge by categorizing, organizing into groups, analyzing, and formalizing into a system to achieve a distilled knowledge about community rice farming. Step 6: Transferring and disseminating rice farming knowledge by surveying the needs for media to transfer and spread knowledge about community rice farming found that the needs for media include videos and print media. The distilled knowledge acquired from the data gathered through interviews include: 1) Soil preparation: Plow the field 3 times including Taida plowing roughly to get the weeds out and the soil exposed and dried, Taiplae plowing across the plowing lines to make the soil loose, and Taikrad plowing to eliminate the weeds, to make the globs of soil smaller, and to flatten the land. 2) Rice seed preparation: Germinating the seeds before sowing them in the rice field. Rice seeds are collected by community members or purchased from agencies. 3) Rice cultivation: Plant 30-to-45-day-old seedlings into a rice field with a 5 cm water level and a planting distance of 30x30 cm in groups of 3-4 seedlings. 4) Rice plant care: Throughout the growing season, the water level must be maintained at approximately 5 cm and fertilizers must be added 15 days post-transplantation and 1-2 months before harvest. 5) Harvesting: Drain the water out of the rice field 7-10 days before harvest for convenience in the harvest. Today, harvesters and threshers are used but in the past, laborers used traditional tools called “Gae”. 6) Post-harvesting: Reduce grain moisture by drying them on bare lands or heating them in incubators. In drying on bare lands, find foundation materials to go underneath the rice grains. The thickness of the rice to be dried should not exceed 5-7 cm. Dry for 1-2 times then store in sealed containers and store the containers for further consumption and distribution. In the development and spread of knowledge about the community’s rice farming methods, 2 types of media will be used, namely, videos and printed media including brochures and posters. Production methods include 1) scope determination, topic determination, content determination, sequence determination, and correction together with the agricultural workers, 2) before production, analyze and plan for the content. Design, edit, arrange, and then send to experts to assess, 3) proceed to media production: design and organize the production area, materials, and equipment that will be used, and proceed to media production, and 4) after production: adjust, cut and paste, re-arrange content, and pictures. Go through media quality and efficiency assessments by (1) experts in media quality assessment wherein the assessment shows that the overall media, including videos and print media, the quality level is at a good level, and (2) the media efficiency assessment which received an 85/85 score which means the media are efficient. Once assessed by product assessment, the average score in knowledge tests before exposure to the media is 19.78 points while the average score in knowledge tests after exposure to the media is 29.23 points which means the media raised the level of knowledge in people who have studied them. The satisfaction level of media users showed a very high satisfaction for overall media satisfaction with an average of 4.23 points. Wherein, the satisfaction scores for posters have an average of 4.42, for brochures have an average of 4.33, and for videos have an average of 4.20. Media users are most satisfied with the content in its correctness, completeness, in the images used, and in the language used. Media users are most satisfied with media quality in clear presentation, directness, easy-to-understand quality, beautiful, suitable, high definition, and contrasting images to the text which make the text interesting and easy to read. Research suggestions include 1) to find ways to create awareness and understanding of the importance of knowledge storage regarding community rice farming, 2) to create learning resources or data and knowledge storing places within the community for easy access, 3) support and encourage the community to spread knowledge about community rice farming through online media, and 4) organize short-term and long-term complete courses on community rice farming.
Abstract(Thai): การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาการของชุมชน การจัดการทรัพยากรการเกษตรในการทำนาของชุมชน สภาพการจัดการความรู้ในการทำนาของชุมชน ดำเนินการจัดการความรู้ในการทำนาของชุมชน และพัฒนาสื่อที่ใช้ในการเผยแพร่ความรู้การทำนาของชุมชน ตำบลควนรู อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา โดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการ ในรูปแบบของการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเชิงคุณภาพคือ เกษตรกรผู้นำ ปราชญ์ชาวบ้าน ประธาน กรรมการ และสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจโรงสีข้าวชุมชนบ้านหนองโอนหมู่ที่ 6 รวมทั้งสิ้นจำนวน 10 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้วิธีการจัดเวทีประชุมกลุ่มย่อย การสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกตและการบันทึกภาคสนาม สำหรับกลุ่มตัวอย่างการวิจัยเชิงปริมาณ คือ สมาชิกกลุ่มวิสาหกิจโรงสีข้าวชุมชนบ้านหนองโอนหมู่ที่ 6 จำนวนทั้งหมด 22 ราย ใช้แบบสัมภาษณ์ในการเก็บข้อมูล และเกษตรกรในตำบลควนรู จำนวน 120 คน โดยใช้แบบทดสอบความรู้และแบบประเมินเป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล ผลการศึกษาพบว่า ชุมชนควนรู ตำบลควนรู อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา เป็นชุมชนที่อพยพแยกตัวมาจากตำบลอื่นในบริเวณใกล้เคียงและมาบุกเบิกพื้นที่เพื่อทำการเกษตร อาชีพสำคัญคือการทำนา ในระยะแรกของการก่อตั้งชุมชนยังขาดความเข้มแข็ง เกิดการแบ่งแยกกันในชุมชน ต่อมาเมื่อมีผู้นำชุมชนที่เข้มแข็ง จึงสามารถสร้างความสามัคคีและได้รับความร่วมมือของคนในชุมชนเพื่อทำกิจกรรมที่ทำให้เกิดการพัฒนาของชุมชน มีองค์กรในชุมชนที่เข้มแข็งกลายเป็นต้นแบบการเรียนรู้ของผู้สนใจ การจัดการทรัพยากรการเกษตรของชุมชน เกษตรกรในชุมชนมีการจัดการในด้านทรัพยากรการเกษตรในการทำนา ดังนี้ 1) ที่ดินและการจัดการดิน เกษตรกรมีที่ดินมรดกเป็นกรรมสิทธิ์ของตนเอง มีการวางแผนการใช้ที่ดินในการทำการเกษตรตลอดปี มีการบำรุงดินอย่างสม่ำเสมอ 2) แหล่งน้ำในการทำนา ใช้น้ำฝนเป็นหลัก มีการวางแผนการทำการเกษตรโดยใช้ข้อมูลทางการเกษตร 3) ปัจจัยการผลิต ส่วนใหญ่ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวไว้ใช้เอง ใช้ปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์ในการทำนา แต่ไม่ใช้สารเคมีเพื่อป้องกันจำกัดศัตรูพืช 4) เครื่องจักรกลการเกษตร ได้แก่ รถไถเดินตาม เครื่องตัดหญ้า รถเกี่ยวข้าวและนวดข้าว เครื่องสีข้าวขนาดเล็ก 5) แรงงาน จ้างแรงงานในการทำนามากขึ้น 6) เงินทุน ส่วนใหญ่ใช้เงินทุนของตัวเอง แต่แหล่งเงินทุนอื่นคือ กลุ่มออมทรัพย์และกลุ่มวิสาหกิจในชุมชน และ 7) การตลาดของผลผลิต ผลผลิตจะใช้เพื่อการบริโภคและจำหน่ายส่วนเหลือให้กับกลุ่มวิสาหกิจโรงสีข้าวชุมชน เพื่อนำไปแปรรูปเป็นสินค้าคือ ข้าวสาร สภาพการจัดการความรู้ในการทำนาของชุมชน วิเคราะห์ได้ว่า ความรู้ในการทำนาของชุมชนส่วนใหญ่เป็นความรู้ที่ฝังอยู่ในตัวคนจากการจดจำความรู้ที่ได้รับการถ่ายทอดจาก บรรพบุรุษและประสบการณ์การเรียนรู้ของตนเอง มีการค้นหาความรู้จากการพูดคุย แลกเปลี่ยนความคิด หรือสอนเทคนิค ในครอบครัวและเพื่อนเกษตรกร สร้างและแสวงหาความรู้ จากภูมิปัญญาพื้นบ้าน ด้วยการเรียนรู้แบบธรรมชาติและแสวงหาความรู้สมัยใหม่จากหน่วยงานต่าง ๆ จัดเก็บความรู้ โดยใช้การจดจำ ร่วมกับการลงมือปฏิบัติจนกระทั่งเกิดความชำนาญ และบอกต่อ ๆ กันจากรุ่นสู่รุ่น ไม่มีการจดบันทึกหรือจัดเก็บในรูปแบบอื่น ทำให้ไม่มีการจัดระบบความรู้ในการทำนาของชุมชน การถ่ายโอนและเผยแพร่ความรู้ในการทำนาของชุมชนมี 2 ลักษณะคือ 1) ภายในชุมชน ใช้วิธีการพูดคุย บอกกล่าว และ 2) ภายนอกชุมชน ใช้วิทยากรอธิบาย นำเยี่ยมชมสถานที่จริง และตอบข้อซักถาม การจัดการความรู้ในการทำนาของชุมชนตามกระบวนการจัดการความรู้ ปรากฎผลดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การกำหนดความรู้ที่ต้องการคือ การทำนาของชุมชน ประเด็นหลักคือ 1) การเตรียมดิน 2) การเตรียมเมล็ดพันธุ์ข้าว 3) การดำนา 4) การดูแลรักษาข้าวในแปลงนา 5) การเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าว และ 6) การดูแลรักษาผลผลิตข้าวหลังการเก็บเกี่ยว ขั้นตอนที่ 2 การค้นหาความรู้ แหล่งความรู้และประเด็นความรู้ได้จากบุคคลและไม่ใช่บุคคล ขั้นตอนที่ 3 การสร้างและแสวงหาความรู้ เพื่อรวบรวมและบันทึกข้อมูล เนื้อหาทุกประเด็น ขั้นตอนที่ 4 การจัดเก็บความรู้ แยกกลุ่มและจัดเรียงข้อมูลตามกลุ่มความรู้แล้วจัดเก็บข้อมูลในรูปแบบไฟล์ ขั้นตอนที่ 5 การจัดระบบความรู้ จัดหมวดหมู่ แบ่งกลุ่ม วิเคราะห์ และเรียบเรียงให้เป็นระบบ ทำให้ได้องค์ความรู้เรื่องการทำนาของชุมชน ขั้นตอนที่ 6 การถ่ายโอนและเผยแพร่ความรู้ สำรวจความต้องการสื่อในการถ่ายทอดและเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการทำนาของชุมชน พบว่า มีความต้องการสื่อวีดิทัศน์และสื่อสิ่งพิมพ์ ในการเผยแพร่ความรู้ องค์ความรู้ในการทำนาของชุมชน ที่ได้จากการสกัดข้อมูลจากการสอบถาม ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน คือ 1) การเตรียมดิน จะไถแปลงนา 3 ครั้ง คือ ไถดะ ไถแปร ไถคราด 2) การเตรียมเมล็ดพันธุ์ข้าว จะเตรียมเมล็ดพันธุ์ให้งอกก่อนจะนำไปหว่านในนา แหล่งที่มาของเมล็ดพันธุ์ ได้จากการเก็บเมล็ดพันธุ์เองและซื้อจากหน่วยงาน 3) การดำนา นำต้นกล้าอายุ 30-45 วันไปปักดำในแปลงนาที่มีระดับน้ำสูงประมาณ 5 เซนติเมตร ระยะปลูก 30x30 เซนติเมตร แต่ละกอจะมีต้นกล้าประมาณ 3-4 ต้นต่อกอ 4) การดูแลรักษาข้าวในแปลงนา ตลอดระยะการปลูก ต้องให้ระดับน้ำในแปลงนาสูงจากพื้นดินประมาณ 5 เซนติเมตร ใส่ปุ๋ย 2 ช่วงคือ หลังปักดำ 15 วันและช่วง 1-2 เดือนสุดท้ายก่อนเก็บเกี่ยว 5) การเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าว ก่อนทำการเก็บเกี่ยวประมาณ 7-10 วัน ต้องระบายน้ำออกจากแปลงนา เพื่อให้สะดวกในการเก็บเกี่ยว ในปัจจุบันนิยมใช้รถเกี่ยวและนวดข้าว ซึ่งแต่ในอดีตจะใช้แรงงานคนและเครื่องมือที่เรียก “แกะ” 6) การดูแลรักษาผลผลิตข้าวหลังการเก็บเกี่ยว ลดความชื้นของเมล็ดข้าว ด้วยการตากบนลานหรืออบด้วยตู้อบ ในการตากควรหาวัสดุรองพื้นบริเวณที่จะตาก ความหนาของข้าวที่ตากไม่ควรเกิน 5-7 เซนติเมตร ตากประมาณ 1-2 ครั้ง เมื่อเมล็ดข้าวแห้งดีแล้ว เก็บใส่ภาชนะที่ปิดมิดชิดและนำไปเก็บเพื่อใช้บริโภคหรือจำหน่ายต่อไป การพัฒนาสื่อเพื่อเผยแพร่ความรู้เรื่องการทำนาของชุมชนควนรู จากผลการสำรวจจะผลิตสื่อ 2 ประเภทคือ สื่อวีดิทัศน์และสื่อสิ่งพิมพ์ ได้แก่ แผ่นพับและโปสเตอร์ มีขั้นตอนการผลิตดังนี้ 1) กำหนดกรอบเนื้อหา จัดทำหัวข้อ กำหนดเนื้อหา หัวข้อ จัดลำดับ และตรวจสอบความถูกต้อง ร่วมกับเกษตรกร 2) ก่อนการผลิต วิเคราะห์และวางแผนการนำเสนอเนื้อหา ออกแบบ เรียบเรียง จัดวาง ก่อนส่งให้ผู้เชี่ยวชาญประเมิน 3) ดำเนินการผลิตสื่อ ออกแบบ จัดเตรียมสถานที่ วัสดุอุปกรณ์ และดำเนินการผลิตสื่อต้นแบบ 4) หลังการผลิต ปรับปรุง ตัดต่อ เรียบเรียง เนื้อหา รูปภาพ ออกแบบจัดวาง นำไปทดสอบประสิทธิภาพและตรวจประเมินคุณภาพของสื่อ โดย (1) ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบคุณภาพของสื่อ ผลการประเมิน คือ คุณภาพโดยรวมของสื่อวีดิทัศน์และสื่อสิ่งพิมพ์อยู่ในระดับดี (2) การทดสอบประสิทธิภาพสื่อต้นแบบเพื่อการเผยแพร่ความรู้ กำหนดเกณฑ์ประสิทธิภาพของสื่อคือ 85/85 ผลการทดสอบ คือ สื่อมีประสิทธิภาพ เมื่อนำสื่อไปทดลองใช้และประเมินผลด้วยวิธีการประเมินผลลัพธ์ (Product) พบว่า คะแนนเฉลี่ยจากการทำแบบทดสอบก่อนการใช้สื่อเท่ากับ 19.78 คะแนน และภายหลังการใช้สื่อมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 29.23 คะแนน แสดงว่า การเรียนรู้ด้วยสื่อทำให้ผู้เรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนที่สูงขึ้น ส่วนระดับความพึงพอใจของผู้ใช้ที่มีต่อสื่อ พบว่า ผู้ใช้สื่อมีระดับความพึงพอใจต่อสื่อในภาพรวมอยู่ระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.23) โดยมีระดับความพึงพอใจต่อสื่อแต่ละประเภทดังนี้ สื่อโปสเตอร์ (ค่าเฉลี่ย 4.42) แผ่นพับ (ค่าเฉลี่ย 4.33) และวีดิทัศน์ (ค่าเฉลี่ย 4.20) ผู้ใช้สื่อมีความพึงพอใจด้านเนื้อหามากที่สุดในเรื่อง ความถูกต้อง ครบถ้วนของเนื้อหา ภาพประกอบ และภาษาที่ใช้ มีความพึงพอใจด้านคุณภาพสื่อมากที่สุดในประเด็น การนำเสนอชัดเจน ตรงประเด็น สร้างความเข้าใจได้ดี ภาพประกอบสวยงาม เหมาะสม คมชัด มีความแตกต่างของพื้นหลังและตัวอักษรดี น่าสนใจ อ่านง่าย ข้อเสนอแนะจากการวิจัยคือ 1) หาแนวทางสร้างความตระหนักและความเข้าใจ ถึงความสำคัญของการจดบันทึกข้อมูลหรือความรู้ต่าง ๆ ในการทำนาของชุมชน 2) จัดให้มีแหล่งเรียนรู้หรือสถานที่จัดเก็บข้อมูล ความรู้ในชุมชน เพื่อให้เข้าถึงข้อมูลได้สะดวก 3) ส่งเสริมและสนับสนุนให้ชุมชนมีการเผยแพร่ความรู้ในการทำนาของชุมชนในรูปแบบของสื่อออนไลน์มากขึ้น 4) จัดโปรแกรมการเรียนรู้การทำนาของชุมชนในลักษณะของหลักสูตรสำเร็จรูปทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
Description: วิทยานิพนธ์ (ปร.ด. (การจัดการทรัพยากรเกษตรเขตร้อน))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2565
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17916
Appears in Collections:550 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6110630011.pdf6.5 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons