กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17913
ชื่อเรื่อง: ตัวแบบเชิงลึกเพื่อตรวจจับข่าวปลอมภาษาไทยบนสื่อสังคมออนไลน์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Deep Model for Fake Thai News Detection on Social Network
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อนันท์ ชกสุริวงค์
ชวัล วัฒนากิจจากุล
Faculty of Engineering Management of Information Technology
คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ
คำสำคัญ: Machine Learning;Fake news;การเรียนรู้ของเครื่อง;ข่าวปลอม
วันที่เผยแพร่: 2021
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
บทคัดย่อ: Nowadays, fake news on social media has caused many problems because they spread easier and faster than the real ones, while fake news detection or examination consumes high resources (human power, time, etc.). Thus, there is a need for an automatic method to examine or verify, so this research aims to find significant features of fake Thai news and an appropriate machine learning model between Decision tree, Support Vector Machine and Neural Network model to examine the fake Thai news on Twitter. The evaluation results show that the significant features of fake Thai news are the amount of follower, the sentiment score of news content, the length of content’s character, the amount of retweet, the ratio of friend and follower, the amount of news favorited, the amount of post since signing up. The machine learning model that suits to examine the fake Thai news is a Neural Network model which performs 97 percent of accuracy.
Abstract(Thai): ปัจจุบันข่าวปลอมบนสื่อสังคมออนไลน์ส่งผลกระทบอย่างมหาศาล เนื่องจากแพร่กระจายได้ง่ายและรวดเร็วกว่าข่าวจริง ซึ่งหากทำการตรวจสอบข่าวจำเป็นต้องใช้เวลา และใช้ทรัพยากรมนุษย์จำนวนมาก ผู้วิจัยจึงมีแนวคิดที่จะค้นหาคุณลักษณะที่สำคัญของข่าวปลอม และเปรียบเทียบตัวแบบการเรียนรู้ของเครื่องระหว่างตัวแบบที่ใช้เทคนิคต้นไม้ตัดสินใจ ซัพพอร์ทเวกเตอร์แมชชีน และโครงข่ายประสาทเทียม เพื่อค้นหาตัวแบบที่เหมาะสมกับการตรวจสอบข่าวปลอมภาษาไทยบนสื่อสังคมออนไลน์ทวิตเตอร์ เพื่อช่วยลดการใช้ทรัพยากรในการตรวจสอบข่าวว่าเป็นข่าวปลอมหรือไม่ โดยผลลัพธ์ของคุณลักษณะที่สำคัญต่อการตรวจสอบข่าวปลอมบนสื่อสังคมออนไลน์ทวิตเตอร์ได้แก่ จำนวนผู้ติดตาม คะแนนความรู้สึก ความยาวอักษรของเนื้อหา จำนวนการแบ่งปัน อัตราส่วนของเพื่อนและผู้ติดตาม จำนวนการกดชื่นชอบ จำนวนการเผยแพร่ตั้งแต่สร้างบัญชี โดยตัวแบบที่เหมาะสมกับการตรวจสอบข่าวปลอมภาษาไทยบนสื่อสังคมออนไลน์ทวิตเตอร์ คือ ตัวแบบเทคนิคโครงข่ายประสาทเทียมซึ่งได้ความถูกต้องสูงถึง 97%
รายละเอียด: วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต (การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ), 2564
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17913
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:229 Thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
6110121001.pdf10.72 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons