กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17909
ชื่อเรื่อง: | การส่งเสริมความตระหนักรู้ถึงความหลากหลายของภาษาอังกฤษในฐานะภาษาโลก : การรับรู้และกลยุทธ์การนำไปใช้ในการสอนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศในประเทศไทย |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Developing Global Englishes Awareness in Thai EFL Teachers: Perceptions and Implementation Strategies in Thai Context / Yusop Boonsuk and Eric A. Ambele รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์เรื่อง การส่งเสริมความตระหนักรู้ถึงความหลากหลายของภาษาอังกฤษในฐานะภาษาโลก : การรับรู้และกลยุทธ์การนำไปใช้ในการสอนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศในประเทศไทย การส่งเสริมความตระหนักรู้ถึงความหลากหลายของภาษาอังกฤษในฐานะภาษาโลก : การรับรู้และกลยุทธ์การนำไปใช้ในการสอนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศในประเทศไทย |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | Yusop Boonsuk Eric A. Ambele Faculty of Humanities and Social Sciences (Western Languages) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ภาควิชาภาษาตะวันตก |
คำสำคัญ: | English language Study and teaching |
วันที่เผยแพร่: | 2563 |
สำนักพิมพ์: | Prince of Songkla University |
บทคัดย่อ: | English has become more diverse with varied non-native Englishes in the world today. Therefore, the use of English nowadays as a global language with global ownership remains undisputed. This has prompted a number of scholars to focus on the associated implications for ELT, especially in ESL and EFL contexts. Thus, it becomes important to raise the awareness of teachers within such contexts about this sociolinguistic transformation in response to the new ways of English interactions and linguistic landscapes. This study therefore seeks to investigate the perceptions of Thai university lecturers towards Global Englishes (GE) and the strategies that they used in their teaching to develop the GE-awareness of their students. These goals were examined by employing a mixed approach of combining quantitative and qualitative methods for data collection. The number of participants who took part in this study were 96 Thai EFL teachers across ten different universities in Thailand. The participants were sampled through purposive sampling, and in total, 96 participants answered the questionnaire (for the quantitative data) while 25 teachers took part in the interview (for the qualitative data). Quantitatively, descriptive statistics including frequencies, percentages, means and standard deviations was utilized to analyze the data collected from the questionnaire, while qualitative content analysis was employed to analyzy the qualitative interview data. From the quantitative data analysis, the results reveal an overwhelming positive perception of the participants from the ten universities selected for this study towards GE. The overall mean perception score was positively high (X = 3.47). Dimensionally, the participants illustrated that they felt most positively about the ownership of English and different varieties of English (4.11), followed by Target Cultures (4.04), Performance Assessment (x=3.97). English Teaching and Learning Materials (x=3:78), English Accents (x=3.18), ELI Goals (83.16), Target Norms (8-2.85), and Linguistics Position (x=2.64). From the qualitative analysis, first, the results illustrate three main significant themes concerning the participants' perception towards GEs in ELT in Thai universityclassrooms: (1) EFL pedagogies; (2) EFL materials; and (3) EFL curriculums. Second, in order to prepare learners to catch up with the GE trend, or better still be aware of such changes in ELT and learning, the teachers reported using different teaching activities in their classrooms to foster the GE awareness of their learners. From the analysis of the teachers' interview data, five GE-awareness classroom-based activities were outstanding in their narratives. These activities include: student-foreigner classroom interaction, GE video-based Englishes exposure, on campus meet and greet, GE discourse topics presentation, and English movies. This results therefore implicate that the deeply rooted 'standard' native English language ideology that many teachers, students, and other educational stakeholders have in Thailand needs to be reconceptualised as the English language has evolved based on its global use and users, producing different widely acceptable varieties of Englishes. |
Abstract(Thai): | ในปัจจุบันภาษาอังกฤษกลายเป็นภาษาที่มีความหลากหลายและมีรูปแบบการใช้งาน(วิธภาษา) ที่สลับซับซ้อนยิ่งขึ้นโดยเฉพาะจาการมีผู้ใช้ภาษาร่วมที่ไม่ใช่เจ้าของภาษาเดิม ดังนั้นภาษาอังกฤษจึงถูกใช้เป็นภาษาโลกและประชากรทั้งโลกเป็นเจ้าของภาษาอังกฤษไปโดยปริยาย จากปรากฎการณ์ดังกล่าว นักวิชาการจำนวนหนึ่งจึงเริ่มศึกษาว่าการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมีนัยต่อการสอนภาษาอังกฤษ(ELT)หรือไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริบทของการสอนที่ใช้ภาษาที่สอง(ESL) แลภาษาต่างประเทศ (EFL) ดังนั้น เพื่อตอบรับกับภาษาอังกฤษวิถีใหม่และภูมิทัศน์ทางภาษาที่เปลี่ยนไป จำเป็นจะต้องส่งเสริมให้ผู้สอนรู้เท่าทันต่อปรากฎการณ์ความเปลี่ยนแปลงทางภาษาศาสตร์สังคมนี้ด้วย งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนคติของอาจารย์มหาวิทยาลัยในประเทศไทยที่มีต่อภาษาอังกฤษโลก(GE) และกลยุทธ์การสอนที่อาจารย์ใช้เพื่อสร้างความตระหนักรู้ให้กับนักศึกษาได้รู้จักกับภาอังกฤษโลก งานวิจัยนี้เก็บข้อมูลแบบผสมผสานระหว่างข้อมูลเชิงคุณภาพและข้อมูลเชิงปริมาณจากผู้ให้ข้อมูลที่เป็นอาจารย์ชาวไทยจำนวน 96 ราย ที่ปฎิบัติหน้าที่สอนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศในมหาวิทยาลัย 10 แห่งที่ประเทศไทย ผ่านการคัดลือกแบบเจาะจง ในการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณด้วยแบบสอบถาม มีผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 96 ราย และวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิเคราะห์เชิงปริมาณพบว่า ผู้ให้ข้อมูลจากมหาวิทยาลัย 10 แห่งมีทัศนคติเป็นบวกในระดับสูงมากต่อภาษาอังกฤษโลก โดยมีคะแนนทัศนคติในภาพรวมเฉลี่ยสูง (x ̅ = 3.47) เมื่อจำแนกราย ด้านพบว่า ผู้ให้ข้อมูลมีทัศนคติเป็นบวกต่อ “ความเป็นเจ้าของภาษาอังกฤษและการที่ภาษาอังกฤษมีวิธภาษาที่หลากหลาย” ด้วยคะแนนสูงที่สุด (x ̅ = 4.11) ตามด้วย “วัฒนธรรมเป้าหมาย” (x ̅ = 4.04) “การ ประเมินประสิทธิภาพ” (x ̅ = 3.97) “สื่อการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ” (x ̅ = 3.78) “สำเนียงในาษาอังกฤษ” (x ̅ = 3.18) “เป้าหมายในการสอนภาษาอังกฤษ” (x ̅ = 3,16) "บรรทัดฐานเป้าหมาย” (x ̅ = 2.85) และ “ตำแหน่งงานด้านภาษาศาสตร์” (x ̅ = 2.64) ผลการวิเคราะห์เชิงคุณภาพพบว่า ประการแรก ทัศนคติของผู้ให้ข้อมูลต่อการใช้ภาษาอังกฤษ โลกเพื่อสอนภาษาอังกฤษในห้องเรียนระดับอุดมศึกษาของประเทศไทยสามารถแบ่งเป็นกลุ่มหลักได้ 3 กลุ่ม ได้แก่ (1) การสอนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศ (2) สื่อการสอนภาษาอังกฤษใน ฐานะภาษาต่างประเทศ และ (3) หลักสูตรภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศ ประการที่สอง ผู้ให้ ข้อมูลรายงานว่าได้พยายามใช้กิจกรรมที่หลากหลายในการสร้างความตระหนักรู้ของผู้เรียนที่มีต่อ ภาษาอังกฤษโลกตลอดจนการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ นอกจากนี้จาก การวิเคราะห์ข้อมูลจากการสัมภาษณ์พบว่า ผู้ให้ข้อมูลได้ประยุกต์ใช้กิจกรรมหลัก 5 ประการใน ห้องเรียนเพื่อสร้างความคุ้นเคยต่อภาษาอังกฤษโลก ได้แก่ กิจกรรมปฏิสัมพันธ์ระหว่างนักศึกษาชาวไทยและชาวต่างชาติในห้องเรียน กิจกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษโลกผ่านคลิปวิดีโอ กิจกรรมการพบปะและทักทายในรั้วมหาวิทยาลัย กิจกรรมการนำเสนอหัวข้อวาทกรรมที่เป็นภาษาอังกฤษ และ กิจกรรมรับชมภาพยนตร์ภาษาอังกฤษ ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าผู้สอน ผู้เรียน และผู้ที่เกี่ยวข้องกับระบบการศึกษาในประเทศไทย จำนวนมากยังคงเชื่อว่าภาษาอังกฤษที่เจ้าของภาษาใช้คือ "ภาษามาตรฐาน” และมีความจำเป็นยิ่งที่จะ รณรงค์ให้กลุ่มคนดังกล่าวได้ปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์เนื่องจากภาษาอังกฤษมีวิวัฒนาการตาม ลักษณะการใช้งานและประเภทของผู้ใช้งานทั่วโลก จนก่อกำเนิดเป็นวิธภาษาอังกฤษในรูปแบบต่างๆ จำนวนมากที่ผู้ใช้ต่างให้การยอมรับ |
URI: | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17909 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | 417 Research |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
452900 abstract.pdf | 428.43 kB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น